เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์ (อังกฤษ: His Royal Highness Prince Edward, Duke of Kent) (เอ็ดเวิร์ด จอร์จ นิโคลัส พอล แพทริก; ประสูติ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1935) เป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งในพระราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระองค์ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น ดยุกแห่งเคนต์ มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1942[1] เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงปฏิบัติพระกรณียกิจแทนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระญาติชั้นที่หนึ่ง บางครั้งทรงเป็นที่รู้จักอย่างดีที่สุดในฐานะประธานสโมสรคร็อกเก็ตและเทนนิสแห่งอังกฤษ (All England Lawn Tennis and Croquet Club) โดยทรงมอบรางวัลเป็นโล่เกียรติยศแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดันชาย อีกทั้งยังทรงเป็นผู้แทนพิเศษด้านการค้าและการลงทุนแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทรงเกษียณในปีค.ศ. 2001
ขณะทรงพระเยาว์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ.1935 ที่เลขที่ 3 จัตุรัสเบลเกรฟ ลอนดอน เป็นพระโอรสพระองค์โตในเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเคนต์ กับเจ้าหญิงมารีนา ดัชเชสแห่งเคนต์[2] พระบิดาของพระองค์ทรงเป็นพระราชโอสรพระองค์ที่ 4 ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระมารดาเป็นบุตรของเจ้าชายนิโคลัสแห่งกรัซและเดนมาร์กกับแกรนด์ดัชเชสเยเลนา วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย พระองค์ได้เข้าพิธีศีลล้างบาป ณ โบสถ์น้อยในพระราชวังบักกิงแฮม เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1935 โดยทรงมีพ่อและแม่ทูนหัวดังต่อไปนี้คือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเคาน์เตสแห่งฮาร์วุด เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น และเจ้าหญิงลูอิส ดัชเชสแห่งอาร์กายล์[3] เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนลุดโกรฟในบาร์กเชอร์ ก่อนจะทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยอีตัน และที่สถาบันเลอ รอเซย์ในสกอตแลนด์ [4] หลังจากนั้นพระองค์ทรงได้เข้าศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ซึ่งพระองค์ได้ชนะรางวัลเซอร์ เจมส์ มอนคริฟฟ์ เกียร์สัน ในด้านภาษาต่างประเทศ พระองค์สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว ตามคำกล่าวของเจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์ว่า พระมารดาและพระปิตุจฉาของพระองค์จะพูดกันเป็นภาษาฝรั่งเศส[5] ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1942 พระบิดาของพระองค์ทรงประสบอุบติเหตุเครื่องบินตกในเคธเนส เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดขณะทรงมีพระชนมายุ 6 พรรษา[1]ทรงสืบทอดตำแหน่งดยุกแห่งเคนต์,เอิร์ลแห่งเซนต์แอนดรูว์และบารอนแห่งดาวน์แพทริค ในฐานะสมาชิกของราชวงศ์ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดเริ่มปฏิบัติพระกรณียกิจตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย ในปีค.ศ.1952 ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงเดินอยู่เบื้องหลังพระโกศของพระปิตุลาของพระองค์หรือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6[6] และในค.ศ.1953 ทรงเข้าร่วมพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 โดยพระองค์ได้ถวายความเคารพ เป็นลำดับที่ 3 หลังจากดยุคแห่งเอดินบะระ และดยุคแห่งกลอสเตอร์[7] การรับราชการทหารในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1955 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ และได้รับราชการทหารจนได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอกเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ.1961[8] จากนั้นในช่วงค.ศ.1962 - ค.ศ.1963 พระองค์ได้ไปปฏิบัติราชการที่ฮ่องกง หลังจากปฏิบัติราชการอยู่ในกองบัญชาการทางตะวันออก และได้รับเลื่อนยศเป็นพันตรีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1967[9] ในค.ศ.1970 พระองค์ทรงบัญชากองทหารกองทหารของเขาที่ประจำการในพื้นที่ฐานอธิปไตยของอังกฤษในไซปรัส ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และยังทรงทำหน้าที่ในไอร์แลนด์เหนือกับกองทหารของพระองค์ และได้รับการเลื่อนยศเป็นพันโทเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1973[10] ก่อนที่จะทรงเกษียณจากการเป็นทหารเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1976[11] ต่อมาทรงได้รับการเลื่อนยศเป็นพลตรีในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1983[12] และจอมพลในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1993[13] ชีวิตส่วนพระองค์เจ้าชายเอ็ดเวิร์ทรงอภิเษกสมรสกับ แคทริน ลูซี แมรี เวิร์สลีย์ ลูกสาวคนเดียวของวิลเลียม เวอร์สลีย์ ที่ อาสนวิหารยอร์กในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.1961 ดยุกและดัชเชสแห่งเคนต์มีพระบุตรสี่คน ได้แก่ จอร์จ วินด์เซอร์ เอิร์ลแห่งเซนต์แอนดรูว์ (26 มิถุนายน ค.ศ. 1962), เลดีเฮเลน เทย์เลอร์ (28 เมษายน ค.ศ. 1964) ,ลอร์ดนิโคลัส วินด์เซอร์ (25 กรฎาคม ค.ศ. 1970) และลอร์ดแพทริค วินด์เซอร์(5 ตุลาคม ค.ศ.1977)ตามลำดับ ดยุกและดัชเชสแห่งเคนต์อาศัยอยู่ที่พระราชวังเค็นซิงตันในลอนดอน พระกรณียกิจดยุกแห่งเคนต์ได้ปฏิบัติงานในนามสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2มานานกว่า 50 ปี ดยุคได้เป็นตัวแทนของสมเด็จพระราชินีในระหว่างการเฉลิมฉลองเอกราชในประเทศเครือจักรภพ ได้แก่ เซียร์ราลีโอน[14] ยูกันดา[15] กายอานา แกมเบีย[16] และกานา เพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 50 ปีการได้รับเอกราช [17] และเขายังเคยเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐอีกด้วย หนึ่งในบทบาทที่สำคัญของดยุคหลายปีเป็นรองประธานคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศอังกฤษที่เคยเป็นคณะกรรมการการค้าโพ้นทะเลของอังกฤษและต่อมาก็เป็นตัวแทนพิเศษสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร ทำให้ดยุคแห่งเคนต์ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเป็นตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศและองค์กรต่างๆ โดยต่อมาเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์กได้มารับตำแหน่งนี้ต่อ ตั้งแต่ปีค.ศ.1971 ถึง ค.ศ. 2000 ดยุคแห่งเคนต์ได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฟุตบอลอังกฤษ และได้รับประธานสมาคมลูกเสือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 พระอิสริยยศ
อ้างอิง
|