เจ้าหญิงชาร์ลีนแห่งโมนาโก
เจ้าหญิงชาร์ลีนแห่งโมนาโก (พระนามเดิม ชาร์ลีน ไลเนตต์ วิตต์สท็อก; 25 มกราคม ค.ศ. 1978) เป็นอดีตนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติแอฟริกาใต้[1] และได้ดำรงอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งโมนาโก ในฐานะพระชายาในเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 เจ้าผู้ครองโมนาโก หลังจากที่ตำแหน่งดังกล่าวได้ว่างลงหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงเกรซ พระมารดาของสวามี[2] พระประวัติเจ้าหญิงชาร์ลีนประสูติเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1978 ณ เมืองบูลาวาโย ประเทศโรดิเซีย (ปัจจุบันคือประเทศซิมบับเว)[3] เป็นธิดาของไมเคิล เคนเนต วิตต์สท็อก กับไลเนตต์ วิตต์สท็อก (สกุลเดิม ฮัมเบอร์สโตน) บิดาของเธอมีอาชีพเป็นพนักงานขาย[4] ส่วนมารดาเป็นอดีตผู้ฝึกสอนนักว่ายน้ำและนักดำน้ำ[5][6] ชาร์ลีนมีน้องชายด้วยกันสองคน ได้แก่ กาเรธ (เกิด ค.ศ. 1980) นักเทคนิคคอมพิวเตอร์ และฌอน (เกิด ค.ศ. 1983) ทำงานพนักงานขาย[5] ครอบครัวของชาร์ลีนอพยพเข้าสู่ประเทศแอฟริกาใต้ใน ค.ศ. 1989 ขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 11 ปี[3] และเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมทอมนิวบีในเมืองเบโนนี ใกล้กับเมืองโยฮันเนสเบิร์ก ช่วงปี 2531- 2534[7] บรรพบุรุษของพระองค์คือ มาร์ทิน ก็อตต์ลีบ วิตต์สท็อก และลุยเซอ วิตต์สท็อก ซึ่งมีพื้นเพเดิมมาจากหมู่บ้านแซร์เรินซิน แถบพอเมอเรเนีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมัน ได้อพยพเข้าสู่ประเทศแอฟริกาใต้ใน ค.ศ. 1861 เพื่อหลบหนีความยากลำบากเพื่อมาขุดเพชร แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จ[8] เฮนริก คาร์ล วิตต์สท็อก บุตรชายของมาร์ทิน ก็อตต์ลีบได้สมรสกับโอลีฟ ฟลอเรนซ์ คอล์ดเวลล์ สตรีเชื้อสายอังกฤษ และบุตรชายของพวกเขาคือ ดัดลีย์ เคนเน็ต วิตต์สท็อก (ปู่ของชาร์ลีน) ได้สมรสกับซิลเวีย ฟากัน นิโคลสัน ซึ่งมีเชื้อสายอังกฤษเช่นกัน[9] นักกีฬาว่ายน้ำ
อภิเษกสมรสชาร์ลีนได้พบกับเจ้าชายอัลแบร์ครั้งแรกใน ค.ศ. 2000 ในการแข่งขันว่ายน้ำที่จัดขึ้นในโมนาโก[5][10] และทั้งสองได้ออกงานร่วมกันครั้งแรกในพิธีเปิดงานโอลิมปิกฤดูหนาวใน ค.ศ. 2006[3] ภายหลังชาร์ลีนได้เข้าไปอาศัยร่วมกันกับเจ้าชายอัลแบร์ในปีเดียวกันนั้นเอง[10] ชาร์ลีนและเจ้าชายอัลแบร์ได้ออกงานร่วมกันอีกในงานอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน ค.ศ. 2010 และงานอภิเษกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ ในปี 2011 เจ้าชายอัลแบร์ทรงหมั้นกับชาร์ลีนเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2011[11][12][13][14] เธอต้องละจากการนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ แล้วเปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ตามกฎมนเทียรบาลของโมนาโก[15] หลังจากนั้นว่าที่เจ้าหญิงแห่งโมนาโกจะต้องหัดรับสั่งภาษาฝรั่งเศส และภาษาโมนาโก เดิมการอภิเษกสมรสจะถูกจัดขึ้นภายในวันที่ 8-9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 แต่กลับถูกเลื่อนไปเนื่องจากงานอภิเษกสมรสอาจซ้อนกับงานประชุมของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ซึ่งงานประชุมดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 5-9 กรกฎาคม ทั้งสองได้เชิญสมาชิกของ IOC รวมไปถึงนายฌาคส์ รอคเคอ (Jacques Rogge) ประธาน IOC เพื่อมาร่วมงานอภิเษกสมรส[16] ทั้งสองวางแผนการประชุม IOC ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของเจ้าหญิงแห่งโมนาโกที่จะได้เสด็จไปยังบ้านเดิมของพระองค์เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ที่ประเทศแอฟริกาใต้[16] หนึ่งสัปดาห์ก่อนงานอภิเษก สำนักพระราชวังปฏิเสธรายงานข่าวเกี่ยวกับชาร์ลีนว่าเธอไม่กล้าเข้าร่วมพิธีอภิเษกสมรส[3][17] มีรายงานจาก L'Express หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของฝรั่งเศส ได้รายงานข่าวว่า ชาร์ลีนได้พยายามหนีออกจากพระราชวังในวันที่ 28 มิถุนายน หลังจากข่าวลือว่าเจ้าชายอัลแบร์มีพระบุตรนอกสมรสคนที่สาม[18] ซึ่งรายงานดังกล่าวได้อ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจของโมนาโกได้พยายามขัดขวางชาร์ลีนในสนามบินนีซโกตดาซูร์ (Nice Côte d'Azur) และยึดหนังสือเดินทางของเธอ[19] มีการโน้มน้าวเธอจากเจ้าชายอัลแบร์และเจ้าหน้าที่ของพระราชวังให้เธอกลับไปยังที่พัก[20] ขณะเดียวกันสำนักพระราชวังของโมนาโกได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ข่าวลือที่ขี้เหร่" อันเกิดจากความริษยา[18] วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ทั้งคู่ได้สมรสกันตามกฎหมายที่จัดภายในพระราชวังเจ้าชายแห่งโมนาโก[3] และพิธีสมรสทางศาสนาในวันที่ 2 กรกฎาคม ที่จัดอย่างหรูหรา[3] หลังการฮันนีมูนของทั้งสองที่ประเทศแอฟริกาใต้ หนังสือพิมพ์ของสเปน, สหราชอาณาจักร และรายงานอื่นๆ ต่างลงข่าวว่าทั้งสองไม่ได้พักอยู่ในโรงแรมเดียวกัน[21] แต่แท้จริงแล้วทั้งสองจองโรงแรมหลายแห่งที่ห่างกันหลายไมล์ ซึ่งรายงานดังกล่าวเปรียบเสมือนการกระตุ้นความไม่ลงรอยในชีวิตส่วนพระองค์ซึ่งมีตั้งแต่ก่อนการอภิเษกสมรสของทั้งสอง[22][23][24] วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2014 พระองค์มีพระประสูติกาลพระโอรสและพระธิดาแฝดคล้ายร่วมกัน 2 พระองค์[25] คือ
พระเกียรติยศพระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|