ประเทศซิมบับเว
ซิมบับเว (อังกฤษ: Zimbabwe)[d] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐซิมบับเว (อังกฤษ: Republic of Zimbabwe) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำแซมบีซีและแม่น้ำลิมโปโป มีพรมแดนติดกับประเทศแอฟริกาใต้ทางทิศใต้ ติดกับประเทศบอตสวานาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับประเทศแซมเบียทางทิศเหนือ และติดกับประเทศโมซัมบิกทางทิศตะวันออก เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ คือ กรุงฮาราเร และเมืองใหญ่อันดับสอง คือ บูลาวาโย ประเทศมีประชากรราว 16.6 ล้านคน ตามการสํารวจสํามะโนประชากร ค.ศ. 2024[15] โดยมีชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่สุด คือ ชาวโชนา คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ตามมาด้วยชาวนอร์เทิร์นอึงเดเบเลและกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซิมบับเวมีภาษาราชการทั้งหมด 16 ภาษา[3] โดยภาษาอังกฤษ ภาษาโชนา และภาษานอร์เทิร์นอึงเดเบเลเป็นภาษาทั่วไปที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้กันมากที่สุด ซิมบับเวเป็นสมาชิกสหประชาชาติ สมาคมพัฒนาแอฟริกาใต้ สหภาพแอฟริกา และตลาดทั่วไปสําหรับแอฟริกาตะวันออกและใต้ ประวัติศาสตร์ซิมบับเวเริ่มต้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ในช่วงปลายยุคเหล็ก เมื่อชาวบันตู (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโชนา) ได้สร้างนครรัฐเกรตซิมบับเว ซึ่งเป็นนครรัฐที่ต่อมาจะกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของแอฟริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ถูกทิ้งร้างไปในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15[16] จากนั้นมีการสถาปนาอาณาจักรซิมบับเว ตามมาด้วยจักรวรรดิรอซวีและอาณาจักรมูตาปา ต่อมาบริษัทแอฟริกาใต้ของบริเตนของเซซิล โรดส์ ได้กำหนดเขตแดนของภูมิภาคโรดีเชียใน ค.ศ. 1890 เมื่อกองกำลังของบริษัทเข้าพิชิตมาโชนาแลนด์ และต่อมาได้ยึดครองมาตาเบเลเลนด์ใน ค.ศ. 1893 หลังจากสงครามมาตาเบเลครั้งที่หนึ่ง การปกครองของบริษัทสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1923 เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมปกครองตนเองเซาเทิร์นโรดีเชีย จากนั้นใน ค.ศ. 1965 รัฐบาลชนกลุ่มน้อยผิวขาวได้ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวเป็นประเทศโรดีเชีย รัฐต้องเผชิญกับการถูกโดดเดี่ยวจากนานาประเทศ กอปรกับสงครามกองโจรของกองกำลังชาตินิยมชนผิวดำที่กินเวลาตลอด 15 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้จบลงด้วยความตกลงสันติภาพที่สร้างรัฐอธิปไตยโดยนิตินัยในชื่อ "ซิมบับเว" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 รอเบิร์ต มูกาบี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซิมบับเวใน ค.ศ. 1980 หลังพรรคสหภาพแห่งชาติแอฟริกาแห่งซิมบับเว (แนวร่วมรักชาติ) ชนะการเลือกตั้งทั่วไป ส่งผลให้การปกครองโดยชนกลุ่มน้อยผิวขาวเป็นอันยุติและพรรคแนวร่วมรักชาติก็คงเป็นพรรคที่ปกครองประเทศตั้งแต่บัดนั้น เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซิมบับเวตั้งแต่ ค.ศ. 1987 หลังจากที่เปลี่ยนระบบรัฐสภาของประเทศให้กลายเป็นระบบประธานาธิบดี จนกระทั่งเขาลาออกใน ค.ศ. 2017 ภายใต้ระบอบอำนาจนิยมของมูกาบี อำนาจความมั่นคงของรัฐมีอิทธิพลเหนือประเทศ และมีส่วนรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง[17] ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2008 เศรษฐกิจของประเทศประสบกับการถดถอยอย่างต่อเนื่อง (และในช่วงหลังเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง) แม้ว่าในเวลาต่อมาเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากที่อนุญาตให้ใช้สกุลเงินอื่นนอกเหนือจากดอลลาร์ซิมบับเว ในปี 2017 ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยาวนานกว่า 1 ปี และเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรวดเร็ว การรัฐประหารได้นำไปสู่การลาออกของมูกาบี ตั้งแต่นั้นมา เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซิมบับเว ชื่อประเทศชื่อซิมบับเวมาจากคำว่า "Dzimba dza mabwe" ซึ่งแปลว่าบ้านหินใหญ่ในภาษาโชนา[18] ชื่อนี้ถูกนำมาจากเกรตซิมบับเวซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรเกรตซิมบับเว ภูมิศาสตร์ซิมบับเวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ถูกล้อมรอบด้วยประเทศแอฟริกาใต้ทางใต้โดยมีแม่น้ำลิมโปโปกั้นอยู่ บอตสวานาทางตะวันตก แซมเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และโมซัมบิคทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซิมบับเวยังมีจุดที่ติดต่อกับประเทศนามิเบียทางตะวันตกอีกด้วย จุดที่สูงที่สุดของประเทศคือภูเขาเนียนกานี ซึ่งสูง 2,592 เมตร[19] ประวัติศาสตร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีหลักฐานว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในของซิมบับเวตั้งแต่ห้าแสนปีก่อน ช่วงสองร้อยปีหลังคริสตกาล ชาวกอยเซียนได้เข้ามาตั้งรกรากที่พื้นที่แถบนี้ นอกจากนั้นมีชาวบันตู ชาวโชนา ชาวงูนี และชาวซูลู อาณานิคมสหราชอาณาจักรนักสำรวจชาวอังกฤษได้เข้ามาในซิมบับเวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเริ่มการล่าอาณานิคมขึ้น ดินแดนแซมเบเซียต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามโรดีเซียในพ.ศ. 2435 หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นโรดีเซียเหนือและในที่สุดได้กลายมาเป็นแซมเบีย ใน พ.ศ. 2441 ตอนใต้ของพื้นที่ แซมเบเซีย ถูกเรียกว่าโรดีเซียใต้ ต่อมาได้กลายมาเป็นซิมบับเวในอีกหลายปีหลังจากนั้น หลังการประกาศเอกราชหลังจากผ่านการขัดแย้งกันทางสีผิว รวมไปถึงบทบาทจากสหประชาชาติ และการต่อสู้ของกองโจรในช่วง พ.ศ. 2503 ในที่สุดซิมบับเวได้รับอิสรภาพในพ.ศ. 2523 ในปีเดียวกันนั้น รอเบิร์ต มูกาบี ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ และเป็นประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2530 จนกระทั่งถูกกดดันให้ลาออกใน พ.ศ. 2560 การเมืองการปกครองซิมบับเวเป็นสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี ระบบกึ่งประธานาธิบดีถูกยกเลิกพร้อมกับการนำรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้หลังจากการลงประชามติในปี พ.ศ. 2556 ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2548 สภาสูงซึ่งก็คือวุฒิสภาก็ได้รับการฟื้นฟู[20] สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาล่าง ในปี พ.ศ. 2530 มูกาเบได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีในพิธีการและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งประธานาธิบดีที่เป็นผู้บริหาร ซึ่งเป็นระบบประธานาธิบดี พรรค ZANU-PF ของเขาชนะการเลือกตั้งทุกครั้งนับตั้งแต่ได้รับเอกราช - ในการเลือกตั้งปี 1990 พรรคที่ได้อันดับสองคือ Zimbabwe Unity Movement (ZUM) ของ Edgar Tekere ได้รับคะแนนเสียง 20%[21][22] การแบ่งเขตการปกครองซิมบับเวมีรัฐบาลแบบรวมศูนย์และแบ่งออกเป็นแปดจังหวัดและสองเมืองที่มีสถานะเป็นจังหวัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหาร แต่ละจังหวัดมีเมืองหลวงของจังหวัดซึ่งโดยปกติจะบริหารงานของรัฐ[2] กองทัพกองกำลังป้องกันซิมบับเวได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยการรวมกองกำลังกบฏสามกองกำลังเข้าด้วยกัน ได้แก่ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซิมบับเวแห่งแอฟริกา (ZANLA) กองทัพปฏิวัติประชาชนซิมบับเว (ZIPRA) และกองกำลังความมั่นคงโรดีเซียน (RSF) - ภายหลังได้รับเอกราชซิมบับเวในปี พ.ศ. 2523 ช่วงเวลาบูรณาการมีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติซิมบับเว (ZNA) และกองทัพอากาศซิมบับเว (AFZ) เป็นหน่วยงานที่แยกจากกันภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโซโลมอน มูจูรูและพลอากาศเอกนอร์มัน วอลช์ ซึ่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2525 และถูกแทนที่โดยพลอากาศเอกอาซิม เดาโปตา ซึ่งส่งต่อคำสั่งให้กับพลอากาศเอก Josiah Tungamirai ในปี 1985 ในปี 2003 นายพล Constantine Chiwenga ได้รับการเลื่อนตำแหน่งและแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศซิมบับเว พลโท พี.วี. ซีบันดา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแทน[23] ZNA มีกำลังประจำการอยู่ที่ 30,000 นาย กองทัพอากาศมีกำลังพลประจำการประมาณ 5,139 นายตำรวจสาธารณรัฐซิมบับเว (รวมถึงหน่วยสนับสนุนตำรวจ ตำรวจกึ่งทหาร) เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังป้องกันซิมบับเว[24] เศรษฐกิจโครงสร้างเศรษฐกิจการส่งออกแร่ธาตุ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ซิมบับเว[25] การทำเหมืองแร่ยังคงเป็นธุรกิจที่ให้กำไรมาก ซิมบับเวมีแหล่งทรัพยากรแพลทินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก[26] ซิมบับเวเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปของแอฟริกาใต้[27] ซิมบับเวมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 (อัตราการเติบโตของจีดีพีร้อยละ 5.0 ต่อปี) และ 1990 (ร้อยละ 4.3 ต่อปี) อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเริ่มถดถอยลงตั้งแต่ปี 2000 โดยลดลงร้อยละ 5 ในปี 2000, ร้อยละ 8 ในปี 2001, ร้อยละ 12 ในปี 2002, และร้อยละ 18 ในปี 2003[28] รัฐบาลซิมบับเวประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่างหลังจากล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด เช่นปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงมาก และการขาดแคลนอุปทานของสินค้าต่าง ๆ การที่ซิมบับเวมีส่วนร่วมกับสงครามในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ระหว่างปี 1998 ถึง 2002 ทำให้ต้องสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ออกจากระบบเศรษฐกิจ[29] เศรษฐกิจที่ดิ่งลงเหวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริหารที่ล้มเหลวและการคอร์รัปชันของรัฐบาลมูกาเบ และการขับไล่ชาวไร่ผิวขาวกว่า 4,000 คนในระหว่างการจัดสรรที่ดินที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในปี 2000[30][31][32] ซึ่งทำให้ซิมบับเวซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดกลับกลายเป็นผู้นำเข้าแทน[26] ปริมาณการส่งออกยาสูบก็ลดลงอย่างมาก จากรายงานในเดือนมิถุนายน 2007 ของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ซิมบับเว ประมาณว่าซิมบับเวสูญเสียสัตว์ป่าไปถึงร้อยละ 60 ตั้งแต่ปี 2000 ในรายงานยังได้กล่าวเตือนอีกว่าการสูญเสียพันธุ์สัตว์ป่าและการทำลายป่าไม้อย่างกว้างขวางนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อธุรกิจท่องเที่ยว[33] ปลายปี 2006 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้าย รัฐบาลเริ่มประกาศอนุญาตให้ชาวไร่ผิวขาวกลับมาสู่ที่ดินของตนอีกครั้ง[34] มีชาวไร่ผิวขาวเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 400-600 คน แต่ที่ดินที่ถูกยึดคืนส่วนใหญ่นั้นกลายเป็นที่ดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป[34][35] ในเดือนมกราคม 2007 รัฐบาลยอมให้ชาวไร่ผิวขาวเซ็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว[36] แต่แล้วในปีเดียวกันรัฐบาลก็กลับขับไล่ชาวไร่ผิวขาวออกจากประเทศอีกครั้ง[37][38] อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 ต่อปีในปี 1998[39] จนถึงร้อยละ 231,000,000 ตามสถิติของทางการในเดือนกรกฎาคม 2008[39] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อรุนแรง และทำให้ธนาคารต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์มาใช้[40] [41] ในเดือนพฤศจิกายน 2008 ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวพุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 516 ล้านล้านล้านต่อปี และราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 1.3 วัน[42] และนับเป็นภาวะเงินเฟ้อรุนแรงที่เลวร้ายเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โลก รองจากวิกฤติเงินเฟ้อในฮังการีในปี 1946 ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 15.6 ชั่วโมง[42] ประชากรศาสตร์ในปี 2008 ซิมบับเวมีประชากรประมาณ 11.4 ล้านคน[43] จากรายงานขององค์การอนามัยโลก อายุคาดหมายเฉลี่ยสำหรับผู้ชายชาวซิมบับเวคือ 37 ปี และสำหรับผู้หญิงคือ 34 ปี ซึ่งเป็นสถิติต่ำสุดของปี 2004[44] อัตราการติดเชื้อเอดส์ ในประชากรระหว่างอายุ 15-49 ปี ถูกประมาณไว้ที่ร้อยละ 20.1 ในปี 2006[45] เชื้อชาติ
ประชากรประมาณร้อยละ 98 เป็นชาวพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโชนา (ประมาณร้อยละ 80-84) รองลงมาคือชาวเดเบเล (ประมาณร้อยละ 10-15)[46][47] ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากซูลูที่อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีคนผิวขาวซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ ภาษาภาษาทางการคือภาษาอังกฤษ[43] แต่ภาษาที่ใช้มากได้แก่ภาษาโชนา และภาษาเดเบเล[48] วัฒนธรรมภาษาที่ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Shona Sindebele ศาสนา ลัทธิผสม (ระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) 50% ศาสนาคริสต์ 25% ความเชื่อดั้งเดิม 24% ศาสนาอิสลามและอื่น ๆ 1% หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศซิมบับเว วิกิท่องเที่ยว มีคำแนะนำการท่องเที่ยวสำหรับ Zimbabwe
|