เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ (อาหรับ: فوزية بنت فؤاد الأول; เปอร์เซีย: فوزیه فؤاد; พระราชสมภพ: 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 — สวรรคต: 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013) เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และอดีตสมเด็จพระราชินีในโมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์อิหร่าน
หลังจากการเสกสมรสอีกครั้งใน ค.ศ. 1949 พระองค์ได้ใช้พระนามว่า เฟาซียะห์ ชีรีน เรื่อยมาจนถึงการโค่นล้มพระราชวงศ์ในอียิปต์ในเหตุการณ์ปฏิวัติอียิปต์ใน ค.ศ. 1952 แม้พระองค์จะถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์แล้ว แต่พระองค์ยังเป็นคนในพระราชวงศ์มฮัมมัดอะลีที่อาวุโสคนหนึ่งในราชวงศ์
พระประวัติ
เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921[2] ที่พระราชวังราส เอล-ติน ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ เป็นพระธิดาในพระเจ้าฟุอาดที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ ซึ่งพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสุลัยมาน พาชา ทหารชาวฝรั่งเศสของนโปเลียนที่หันมานับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้พระปัยกาฝ่ายพระชนนีของพระองค์ก็สืบเชื้อสายมาจากตุรกี[3] และพระองค์ยังมีเชื้อสายกรีกจากทางพระมารดาอีกด้วย พระองค์จึงมีเชื้อสายแอลเบเนีย, ฝรั่งเศส, กรีก และตุรกี[4]
เจ้าหญิงเฟาซียะห์มีพระเชษฐาคือพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และมีพระขนิษฐาได้แก่ เจ้าหญิงฟัยซะฮ์, เจ้าหญิงฟัยกะฮ์ และเจ้าหญิงฟัตฮียะฮ์ ทั้งยังมีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีต่างมารดาด้วย 2 พระองค์ คือ เจ้าชายอิสมาอีล และเจ้าหญิงเฟากียะฮ์
พระองค์เข้ารับการศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[2] สามารถตรัสภาษาอาหรับ อังกฤษ และฝรั่งเศส[5] ขณะที่ยังพระองค์ยังเป็นดรุณีแรกรุ่น พระองค์ที่เป็นสตรีที่ทรงพระสิริโฉมมากจนถือเป็น "หนึ่งในสตรีที่สวยที่สุดในโลก" ในขณะนั้น[6] ได้รับการยกย่องว่า "มีความงามดุจเทพธิดาวีนัส"[7] ทั้งยังได้รับการเปรียบเทียบว่ามีพระพักตร์คล้ายนักแสดงหญิงที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือ เฮดี ลามาร์ และวิเวียน ลีห์[8]
ชีวิตส่วนพระองค์
อภิเษกสมรสกับชาห์แห่งอิหร่าน
พระองค์ได้เข้าพระราชพิธีหมั้นกับมกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซาแห่งอิหร่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938[9][10] ทั้งสองพบกันในพระราชพิธีหมั้นเพียงครั้งเดียวก่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรส[11] พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นที่พระราชวังอับดีน กรุงไคโรในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939[12][13] หลังจากการฮันนีมูน ทั้งสองก็จัดพิธีอภิเษกสมรสอีกครั้งที่พระราชวังหินอ่อนในเตหะราน[11] ซึ่งจัดตามพระราชประสงค์ของชาห์เรซา[14][15] การอภิเษกสมรสของทั้งสองถูกจัดขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างเจ้าหญิงที่เป็นสุหนี่กับมกุฎราชกุมารที่เป็นชีอะห์[13][16]
สองปีต่อมาพระสวามีได้ขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเฟาซียะห์จึงกลายเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน พระราชินีเฟาซียะห์ทรงเป็นนางแบบให้เซซิล บีตัน ถ่ายพระฉายาลักษณ์เพื่อตีพิมพ์ลงในนิตยสารไลฟ์ (Life) โดยนายเซซิล บีตันได้กล่าวชื่นชมพระราชินีองค์นี้ว่าทรงเป็น "เทพธิดาวีนัสแห่งเอเชีย" ทั้งยังเสริมว่า "มีพระพักตร์รูปหัวใจคมซีดเผือดผิดปกติ แต่มีดวงพระเนตรสีฟ้าอันเฉียบคม"[12]
หลังจากการอภิเษกสมรส ทั้งสองพระองค์ก็มีพระธิดาด้วยกัน 1 พระองค์[17] คือ เจ้าหญิงชาห์นาซ[1][18] แต่ชีวิตสมรสของทั้งสองไม่ราบรื่นนัก พระราชินีเฟาซียะห์เสด็จกลับกรุงไคโรราวเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945[19] และทำการหย่าร้างในอียิปต์ ทรงให้เหตุผลว่าเตหะรานนั้นด้อยพัฒนาตรงกันข้ามกับไคโรที่แลดูทันสมัยและเป็นสากล[20][21]
นอกจากนี้พระราชินีเฟาซียะห์ยังทรงมีช่วงเวลาที่น่าลำบากจากความไม่ซื่อสัตย์ของชาห์ พระองค์จึงเข้าพบจิตแพทย์อเมริกันที่แบกแดดไม่นานนักก่อนที่จะเสด็จออกจากเตหะราน[19] ตรงกันข้ามรายงานของซีไอเออ้างว่าพระราชินีทรงเยาะเย้ยและละอายพระทัยเกี่ยวกับการหย่อนสมรรถภาพทางเพศของชาห์จนนำไปสู่การหย่าร้าง[21] ขณะที่บันทึกของเจ้าหญิงอัชราฟ พระขนิษฐาฝาแฝดของชาห์ได้ให้ข้อมูลว่า พระราชินีมิได้รับสั่งเรื่องการหย่ากับชาห์เลย[11]
ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้หย่ากันที่อียิปต์เมื่อ ค.ศ. 1945 นั้นมิได้รับการยอมรับในประเทศอิหร่านนานหลายปี แต่อย่างไรก็ดีทั้งสองพระองค์ก็ได้ทำการหย่ากันอย่างเป็นทางการในอิหร่านเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 พระราชินีเฟาซียะห์ได้กลับมาใช้พระอิสริยยศเดิมคือ เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ ส่วนพระราชธิดานั้นตกอยู่ในการดูแลของชาห์[23]
ทั้งนี้ทางสำนักพระราชวังได้ให้เหตุผลว่า "ด้วยสภาวะอากาศของเปอร์เซียทำให้สุขภาพของราชินีเฟาซียะห์ทรุดโทรม ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับพระขนิษฐากษัตริย์อียิปต์ที่ต้องการจะหย่า" และชาห์ก็ออกมาประกาศว่า "ไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างอียิปต์กับอิหร่าน"[24]
ดังนั้นสมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์จึงกลับมาดำรงพระยศเป็นเจ้าแห่งอียิปต์และซูดานตามเดิม ส่วนพระเชษฐาของเจ้าหญิงเฟาซียะห์คือพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ ก็ได้ทำการหย่าร้างกับสมเด็จพระราชินีฟารีดาในสัปดาห์เดียวกัน[23][25] ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวเป็นที่สนใจของโลกตะวันตกอย่างมาก[26]
การสมรสครั้งที่สอง
เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้สมรสอีกครั้งเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1949 กับพันเอกอิสมาอีล ฮุซัยน์ ชีรีน เบย์ (ค.ศ. 1919-1994)[1] ที่ถูกจัดขึ้นที่พระราชวังคุบบา อิสมาอีลซึ่งเป็นพระญาติห่าง ๆ ของพระองค์ เป็นบุตรคนโตของฮุซัยน์ ชีรีน กับเจ้าหญิงอามีนะห์ บีห์รุซ[27][28] ขณะนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือของอียิปต์ หลังจากการสมรสทั้งสองได้พำนักในที่ดินส่วนพระองค์ที่มาอ์ดีในกรุงไคโร[28][29] และพำนักที่บ้านอีกแห่งในอะเล็กซานเดรีย[30]
ทั้งคู่มีบุตร-ธิดา 2 คน[31] คือ นาดียะห์ (ค.ศ. 1950-2009) และฮุซัยน์ (เกิด ค.ศ. 1955)[1]
พระบุตร
เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ทรงให้ประสูติกาลพระโอรส-ธิดา รวมกัน 1 พระองค์ กับอีก 2 คน โดยเป็นชาย 1 คน และหญิง 2 คน ซึ่งเป็นบุตรจากการสมรสครั้งแรก 1 พระองค์ และจากการสมรสครั้งที่สองอีก 2 คน คือ
- เจ้าหญิงชาห์นาซแห่งอิหร่าน (ประสูติ: ค.ศ. 1940) เสกสมรสครั้งแรกกับอาร์เดชีร์ ซาเฮดี ภายหลังทรงหย่าและเสกสมรสกับโคสเลา จาฮันบานี มีพระธิดาจากการสมรสครั้งแรกหนึ่งพระองค์[32] และโอรสธิดาอย่างละคนจากการสมรสครั้งที่สอง[32] ปัจจุบันประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[32][33]
- นาดียะห์ ราชิด (เกิด: 19 ธันวาคม ค.ศ. 1950[34] - ค.ศ. 2009) สมรสครั้งแรกกับยูซุฟ ซะบาอัน นักแสดงชาวอียิปต์[30] มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ ซีไน ฟารามาวี (ค.ศ. 1973) ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับมุสตอฟา ราชิด มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ เฟาซียะห์ ราชิด[35]
- ฮุซัยน์ ชีรีน (เกิด ค.ศ. 1955) พระโอรสที่เกิดกับอิสมาอีล ฮุซัยน์ ชีรีน เบย์[35]
ปลายพระชนม์ชีพและการสิ้นพระชนม์
ในปลายชนม์พระองค์ประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปี ค.ศ. 2004 ได้มีการเผยแพร่พระฉายาลักษณ์ล่าสุดของพระองค์คู่กับอาร์เดชีร์ ซาเฮดี อดีตพระชามาดา[36] มีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับข่าวการสิ้นพระชนม์เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 ที่เกิดการสับสนในเรื่องพระนามที่เหมือนกันของพระองค์กับพระภาติยะ คือ เจ้าหญิงเฟาซียะห์ (ค.ศ. 1940-2005) ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเชษฐาคือพระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์[36]
เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้เสด็จกลับมาประทับในเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ก่อนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ขณะมีพระชนมายุ 91 พรรษา[37] พระราชพิธีศพถูกจัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 3 กรกฎาคมที่มัสยิดซาเยดา กรุงไคโร[38] และฝังพระศพที่ไคโรเคียงข้างกับอิสมาอีล พระภัสดาคนที่สอง[12]
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- เฮอร์สุลตานิกไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งรัฐสุลต่านอียิปต์และซูดาน (5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1922)
- เฮอร์รอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์และซูดาน (15 มีนาคม ค.ศ. 1922 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1939)
- เฮอร์อิมพีเรียลและรอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และซูดาน (15 มีนาคม ค.ศ. 1939 –16 มีนาคม ค.ศ. 1939)
- เฮอร์อิมพีเรียลและรอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์ มกุฎราชกุมารีแห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงแห่งอียิปต์ (16 มีนาคม ค.ศ. 1939 – 16 กันยายน ค.ศ. 1941)
- เฮอร์อิมพีเรียลมาเจสตี สมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์แห่งอิหร่าน (16 กันยายน ค.ศ. 1941 – ค.ศ. 1948)
- เฮอร์อิมพีเรียลและรอยัลไฮนิส เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงแห่งอียิปต์และซูดาน (ค.ศ. 1948 – 28 มีนาคม ค.ศ. 1949)
- เฟาซียะห์ ชีรีน (28 มีนาคม ค.ศ. 1949 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2013)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- อียิปต์: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งคุณธรรม ชั้นสูงสุด (16 พฤษภาคม ค.ศ. 1939)
- อิหร่าน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปาห์ลาวี ชั้นสูงสุด (27 ตุลาคม ค.ศ. 1940)
พระอนุสรณ์
มีการตั้งนามเมืองแห่งหนึ่งในอียิปต์ว่า เฟาซียะห์บัด (Fawziabad) เมื่อปี ค.ศ. 1939 เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์[5] และช่วงปี ค.ศ. 1950 มีถนนย่านมาอ์ดีในกรุงไคโรชื่อ อามีราเฟาซียะห์ (Amira Fawzia) แต่ในปี ค.ศ. 1956 ได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็น มุสตาฟาญามาล (Mustafa Kamel)[39]
สู่งานเขียน
เรื่องราวของเจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ได้ถูกถ่ายทอดเรื่องราวลงในหนังสือ ฟอว์ซียา...วีนัสแห่งลุ่มน้ำไนล์ ในเรื่องราวของหญิงงามดุจเทพธิดาวีนัส ที่ได้เป็นพระมเหสีพระองค์แรกของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน แต่พระสิริโฉม และฐานะอันสูงส่งของพระองค์ก็มิได้ทำให้พระองค์ทรงมีความสุขเลย แต่กลับต้องตกอยู่ภายใต้ความโศกเศร้าเสียใจ[7]
พงศาวลี
พงศาวลีในเจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์
|
[40]
|
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "การอภิเษกสมรสของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-23.
- ↑ 2.0 2.1 "Princess Fawzia Fuad of Egypt". The Telegraph. 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ Goldschmidt, Arthur (2000). Biographical dictionary of modern Egypt. Lynne Rienner Publishers. p. 191. ISBN 1555872298.
- ↑ Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The French Ancestry of King Farouk of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 287. ISBN 978-0-85011-029-6. OCLC 18496936.
- ↑ 5.0 5.1 "Colorful Fetes Mark Royal Wedding that will Link Egypt and Persian". The Meriden Daily Journal. 13 March 1939. สืบค้นเมื่อ 8 August 2013.
- ↑ "Bidding Farewell" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Al-Ahram Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556.
- ↑ 7.0 7.1 ฟอว์ซียา..วีนัสแห่งลุ่มน้ำไนล์[ลิงก์เสีย]
- ↑ Suzy Hansen (มมป.). "QUEEN FAWZIA". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2557.
- ↑ Charmody, Diedre (27 July 1973). "Nixon forth to see Shah". The Leader Post. New York. สืบค้นเมื่อ 10 November 2012.
- ↑ Rizk, Yunan Labib (2–8 March 2006). "Royal mix". Al Ahram Weekly (784). สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "Earlier Marriages Ended In Divorce. Deposed Shah of Iran". The Leader Post. AP. 29 July 1980. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Ghazal, Rym (8 July 2013). "A forgotten Egyptian Princess remembered". The National. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ 13.0 13.1 "Princess Fawzia of Egypt Married". The Meriden Daily Journal. Cairo. AP. 15 March 1939. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ Camron Michael Amin (1 December 2002). The Making of the Modern Iranian Woman: Gender, State Policy, and Popular Culture, 1865-1946. University Press of Florida. p. 137. ISBN 978-0-8130-3126-2. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
- ↑ "The Pahlavi Dynasty". Royal Ark. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
- ↑ "Princess Fawzia Fuad of Egypt". Telegraph. 2 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2016.
- ↑ Dagres, Holly (4 February 2013). "When they were friends: Egypt and Iran". Ahram Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
- ↑ Jeffrey Lee (1 April 2000). Crown of Venus. Universe. p. 51. ISBN 978-0-595-09140-9. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.
- ↑ 19.0 19.1 "Iran and its playboy king". The Milwaukee Journal. Time Magazine. 9 January 1946. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
- ↑ Steyn, Mark (5 July 2013). "The Princess and the Brotherhood". National Review Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ 21.0 21.1 Anderson, Jack; Les Whitten (11 July 1975). "CIA: Shah of Iran a dangerous ally". St. Petersburg Times. Washington. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ "Noblesse & Royautés - Egypte". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-05-12.
- ↑ 23.0 23.1 "Queens Lack Male Heirs, Lose Mates". Pittsburgh Post Gazette. Cairo. AP. 19 November 1948. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ "2 Moslem Rulers let the man and wife divorce if they need to", The New York Times, 20 November 1948, page 1.
- ↑ Bernard Reich (1 January 1990). Political Leaders of the Contemporary Middle East and North Africa: A Biographical Dictionary. Greenwood Publishing Group. p. 188. ISBN 978-0-313-26213-5. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ "Queen Farida of Egypt Dies at 68". 1988-11-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-06.
- ↑ "Princess Fawzia engaged". The Indian Expree. 28 March 1949. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.
- ↑ 28.0 28.1 "Princess Fawzia weds diplomat". Meriden Record. 29 March 1949. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ "Maadi's Ottomans". Egy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
- ↑ 30.0 30.1 Sami, Soheir (4–10 June 1998). "Profile: Youssef Shaaban". Al Ahram Weekly (380). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-22. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
- ↑ "Shah's ex-wives keep low profiles in Egypt, Europe". The Palm Beach Post. AP. 28 July 1980. สืบค้นเมื่อ 6 November 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 32.0 32.1 32.2 Parstime - Shahnaz Pahlavi
- ↑ "Shah's daughter 'could not stand' exile". BBC News. 2001-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.
- ↑ "Girl is born to Princess Fawzia". Pittsburgh Post Gazette. Cairo. AP. 20 December 1950. สืบค้นเมื่อ 5 February 2013.
- ↑ 35.0 35.1 EGYPT -The Muhammad 'Ali Dynasty
- ↑ 36.0 36.1 "EGYPTIAN SHAHBANOU: Princess Fawzia and Son-in-Law Ardeshir Zahedi (2004)" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Iranian. 5 กุมภาพันธ์ 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-28. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2555.
- ↑ "Princess Fawzia, Shah's first wife, dies in Egypt". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.
- ↑ "Death of Princess Fawzia". Alroeya News. 2 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 17 July 2013.
- ↑ "Maadi Street Names". Egy. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
- ↑ Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1980). "The French Ancestry of King Farouk of Egypt". Burke's Royal Families of the World. Vol. Volume II: Africa & the Middle East. London: Burke's Peerage. p. 287. ISBN 9780850110296. OCLC 18496936.
แหล่งข้อมูลอื่น