Share to:

 

เชดดาร์ชีส

เชดดาร์ชีส
เชดดาร์ชีสที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา
ประเทศถิ่นกำเนิดประเทศอังกฤษ
เขตซัมเมอร์เซต
เมืองเชดดาร์ (ซัมเมอร์เซต)
นมวัว
พาสเจอไรส์บ่อย
เนื้อสัมผัสแข็ง
หมัก3-24 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิด
การรับรองWest Country Farmhouse Cheddar PDO, Orkney Scottish Island Cheddar PGI
ตั้งชื่อตามCheddar[*]
สื่อที่เกี่ยวข้องที่คอมมอนส์

เชดดาร์ชีส เป็นเนยแข็งธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีเนื้อค่อนข้างแข็ง มีสีขาวหม่นอกเหลือง (หรือมีสีส้มถ้าเติมสารให้สี เช่น อันนัตโต) บางครั้งมีรสชาติที่แหลมคม มีต้นกำเนิดมาจากเมืองเชดดาร์ ในซัมเมอร์เซต ประเทศอังกฤษ[1] ปัจจุบันเชดดาร์ชีสมีผลิตทั่วไปในหลายประเทศทั่วโลก

เชดดาร์เป็นเนยแข็งที่ได้รับความนิยมที่สุดในสหราชอาณาจักร คิดเป็นมูลค่า 51% ของตลาดชีสที่มูลค่า 1.9 พันล้านปอนด์ต่อปี[2] ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกา เชดดาร์เป็นชีสที่นิยมที่สุดอันดับสองรองจากมอซซาเรลลา มีการบริโภคเชดดาร์ชีส 10 ปอนด์ (ประมาณ 4.5 กิโลกรัม) ต่อคนต่อปี[3] สหรัฐอเมริกาผลิตเชดดาร์ชีส 3,000,000,000 ปอนด์ (ประมาณ 1,360,777,110 กิโลกรัม) ในปี 2014[4] ในขณะที่สหราชอาณาจักรผลิตเชดดาร์ชีส 258,000 ปอนด์ (117,026 กิโลกรัม) ในปี 2008[5]

ลักษณะ

เชดดาร์ชีสที่จัดแดงในงานแสดงมิดซัมเมอร์เซ็ตโชว์

ลักษณะของเชดดาร์ชีสแบบซัมเมอร์เซตดั้งเดิมในอุดมคติได้ถูกระบุไว้โดยโจเซฟ ฮาร์ดิง (Joseph Harding) เมื่อปี 1864 ว่าเป็น “มีผิวที่ปิดและแน่น แต่มีลักษณะและคุณภาพที่อ่อนโยน มัน (เชดดาร์ชีส) เต็มไปด้วยความพร้อมที่จะละลายในปาก รสชาติแน่นและดี ใกล้เคียงรสชาติของเฮเซลนัท” ("close and firm in texture, yet mellow in character or quality; it is rich with a tendency to melt in the mouth, the flavour full and fine, approaching to that of a hazelnut".)[6]

เชดดาร์แบบดั้งเดิมมีแนวโน้มที่จะมีรสชาติที่คมและจัด บ้างมีความ “earthy” เล็กน้อย โดย “ความคม” (sharpness) ของรสชาติเชดดาร์ชีสเกี่ยวข้องกับระดับของเปปไทด์รสขมในชีส รสขมที่ว่านี้มาจากอายุของเชดดาร์ชีสที่หมักมานาน[7] ผิวของเชดดาร์จะแน่น ยกเว้นเชดดาร์ดั้งเดิมที่ทำในฟาร์มเฮาส์จะมีลักษณะเปราะเล็กน้อย ชีสที่หมักครบเวลา (mature) มากกว่า 6 เดือนควรมีชีสคริสตอลใหญ่ ๆ กระจายทั่วไปในเนื้อชีส ซึ่งเป็นสารพวกแคลเซียมแลกเตต[8]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Smale, Will (21 August 2006). "Separating the curds from the whey". BBC Radio 4 Open Country. สืบค้นเมื่อ 7 August 2007.
  2. "The Interview – Lactalis McLelland's 'Seriously': driving the Cheddar market". The Grocery Trader. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
  3. "Cheese Sales and Trends". International Dairy Foods Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010.
  4. "Quantity of cheddar cheese produced in the U.S. from 2004 to 2013 (in 1,000 pounds)". Statista. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  5. Rajan, Amol (22 September 2009). "The Big Question: If Cheddar cheese is British, why is so much of it coming from abroad?". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 9 November 2010.
  6. Transactions of the New-York State Agricultural Society for the Year 1864, page 232, volume 14 1865, Albany
  7. Karametsi, K. (13 August 2014). "Identification of bitter peptides in aged cheddar cheese". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 62 (32): 8034–41. doi:10.1021/jf5020654. PMID 25075877.
  8. Phadungath, Chanokphat (2011). The Efficacy of Sodium Gluconate as a Calcium Lactate Crystal Inhibitor in Cheddar Cheese (วิทยานิพนธ์). University of Minnesota. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
Kembali kehalaman sebelumnya