เทือกเขาฮินดูกูช (อังกฤษ : Hindu Kush ; ฮินดี : हिन्दु कुश ; เปอร์เซีย : هندوکش , อักษรโรมัน: hindū-kuš ) เป็นเทือกเขา ในเอเชียกลาง และเอเชียใต้ ที่มีความยาว 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตะวันตกของเทิอกเขาหิมาลัย กินพื้นที่จากอัฟกานิสถาน กลางและตะวันออก[ 2] [ 3] ถึงปากีสถาน ตะวันตกเฉียงเหนือกับทาจิกิสถาน ตะวันออกเฉียงใต้ เทือกเขานี้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคหิมาลัยฮินดูกูช (Hindu Kush Himalayan Region, HKH ) ส่วนตะวันตก;[ 4] [ 5] [ 6] ส่วนบริเวณตอนเหนือที่ปลายด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาฮินดูกูชค้ำยันเทือกเขาปามีร์ ใกล้จุดที่เป็นชายแดนระหว่างจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน จากนั้นเทือกเขาอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงใต้ผ่านปากีสถานและอัฟกานิสถาน[ 2] จุดปลายตะวันออกของฮินดูกูชทางตอนเหนือเชื่อมเข้ากับเทือกเขาการาโกรัม [ 7] [ 8] ส่วนทางใต้เชื่อมเข้ากับเทือกเขาขาว ใกล้แม่น้ำคาบูล [ 9] [ 10] เทือกเขานี้แยกหุบเขาแม่น้ำอามูดาร์ยา (สมัยโบราณเรียก Oxus ) ทางตอนเหนือจากหุบเขาแม่น้ำสินธุ ทางตอนใต้ เทือกเขานี้มียอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะหลายแห่ง โดยยอดเขาที่สูงสุดคือยอดเขาตีริชมีร์ ที่มีความสูง 7,708 เมตร (25,289 ฟุต) ในอำเภอจิตราล แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน
เทือกเขาฮินดูกูชเคยเป็นจุดศูนย์กลางของศาสนาพุทธ โดยเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปแห่งบามียาน [ 11] [ 12] พื้นที่และชุมชนที่มีผู้ตั้งรกรากอยู่ในนั้น เป็นที่ตั้งของอารามโบราณ เครือข่ายการค้าที่สำคัญ และนักเดินทางจากเอเชียกลาง กับเอเชียใต้ [ 13] [ 14] แม้ว่าภูมิภาคส่วนใหญ่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม มาหลายศตวรรษ แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่พึ่งเข้ารับอิสลาม เมื่อไม่นาน เช่น กาฟีริสถาน [ 15] ที่ยังคงความเชื่อแบบพหุเทวนิยมโบราณจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยจักรวรรดิดูร์รานี ที่พื้นที่นี้หันมาเข้ารีตเป็นอิสลามและเปลี่ยนชื่อเป็นนูริสถาน [ 16] เทือกเขาฮินดูกูชยังเป็นทางผ่านสำหรับการรุกรานในอนุทวีปอินเดีย [ 17] [ 18] และยังคงเป็นเส้นทางสำคัญในสงครามร่วมสมัยในอัฟกานิสถาน[ 19] [ 20]
ชื่อ
ชื่อ Hindu Kush แบบเปอร์เซียอันแรกสุดเท่าที่ค้นพบ ปรากฏในแผนที่เผยแพร่เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000[ 21] นักวิชาการสมัยใหม่บางส่วนลบช่องว่างและเรียกเทือกเขานี้เป็น Hindukush [ 22] [ 23]
ศัพทมูลวิทยา
ศัพท์ Hindu Kush หมายถึง 'ผู้สังหารฮินดู ' โดยคำว่า Kush เป็นตัวแปรอ่อน (soft variant) ของภาษาอเวสตะ ว่า 'Kaush'[ 24] หมายถึง ฆ่าหรือนักฆ่า Nigel Allan รายงานว่า คำว่า Hindu Kush มีความหมายสองแบบ คือ 'หิมะระยิบระยับของอินเดีย 'เทือกเขาของอินเดีย' โดยคำว่า Kush น่าจะเป็นตัวแปรอ่อนของภาษาเปอร์เซียว่า Kuh ('ภูเขา') Allan ระบุว่าฮินดูกูชเป็นแนวพรมแดนสำหรับนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ[ 25] ในขณะที่อีกส่วนเสนอแนะว่า ชื่อนี้อาจมาจากภาษาอเวสตะโบราณที่แปลว่า 'ภูเขาน้ำ'[ 26]
บางครั้งคำนี้สามารถตีความเป็นดินแดนของ Hindkowans (Hindki ในภาษาปาทาน) ในภูมิภาตนี้[ 27]
Hobson-Jobson พจนานุกรมบริติชในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รายงานว่า Hindukush อาจเป็นรูปแผลงจากภาษาละตินโบราณว่า Indicus (คอเคซัส ) รายการกล่าวถึงการตีความครั้งแรกโดยอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ ในฐานะทฤษฎีที่ได้รับความนิยมในเวลานั้น แม้ว่าจะมีข้อกังขาก็ตาม[ 28]
ชื่ออื่น
ในภาษาพระเวท เทือกเขานี้มีชื่อว่า upariśyena และในภาษาอเวสตะ เป็น upāirisaēna (จากภาษาอิเรเนียนดั้งเดิม *upārisaina - 'ปกคลุมด้วยจูนิเปอร์')[ 29] [ 30] โดยสามารถตีความได้อีกแบบเป็น "เกินเอื้อมนกอินทรี"[ 31] ในสมัยอเล็กซานเดอร์มหาราช เทือกเขานี้มีชื่อว่า Caucasus Indicus (ตรงข้ามกับเทือกเขา Greater Caucasus ที่อยู่ระหว่างทะเลแคสเปียน กับทะเลดำ ) และชาวกรีกสมัยเฮลเลนิสต์ ในปลายสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราชเรียกเทือกเขานี้ว่า Paropamisos (ดู Paropamisadae )[ 32]
สารานุกรมและอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บางเล่มระบุว่า คำว่า Hindu Kush เดิมทีใช้เรียกเฉพาะส่วนยอดของพื้นที่ทางผ่านกุษาณะ ซึ่งหลายเป้นศูนย์กลางของจักรวรรดิกุษาณะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 1[ 33]
ชาติพันธุ์วรรณนา
ประชากรในฮินดูกูชก่อนการเข้ามาของอิสลามได้แก่ Shins , Yeshkuns ,[ 34] [ 35] Chiliss , Neemchas[ 36] Koli,[ 37] Palus,[ 37] Gaware,[ 38] และ Krammins[ 34]
อ้างอิง
↑ Hindu Kush , Encyclopedia Iranica
↑ 2.0 2.1 Mike Searle (2013). Colliding Continents: A geological exploration of the Himalaya, Karakoram, and Tibet . Oxford University Press. p. 157. ISBN 978-0-19-165248-6 . , Quote: "The Hindu Kush mountains run along the Afghan border with the North-West Frontier Province of Pakistan".
↑ George C. Kohn (2006). Dictionary of Wars . Infobase Publishing. p. 10. ISBN 978-1-4381-2916-7 .
↑ "Hindu Kush Himalayan Region" . ICIMOD. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014 .
↑ Elalem, Shada; Pal, Indrani (2015). "Mapping the vulnerability hotspots over Hindu-Kush Himalaya region to flooding disasters" . Weather and Climate Extremes . 8 : 46–58. doi :10.1016/j.wace.2014.12.001 .
↑ "Development of an ASSESSment system to evaluate the ecological status of rivers in the Hindu Kush-Himalayan region" (PDF) . Assess-HKH.at . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-22. สืบค้นเมื่อ 6 September 2015 .
↑ Karakoram Range: MOUNTAINS, ASIA , Encyclopædia Britannica
↑ Stefan Heuberger (2004). The Karakoram-Kohistan Suture Zone in NW Pakistan – Hindu Kush Mountain Range . vdf Hochschulverlag AG. pp. 25–26. ISBN 978-3-7281-2965-9 .
↑ Spīn Ghar Range, MOUNTAINS, PAKISTAN-AFGHANISTAN , Encyclopædia Britannica
↑ Jonathan M. Bloom; Sheila S. Blair (2009). The Grove Encyclopedia of Islamic Art and Architecture . Oxford University Press. pp. 389–390. ISBN 978-0-19-530991-1 .
↑ Deborah Klimburg-Salter (1989), The Kingdom of Bamiyan: Buddhist art and culture of the Hindu Kush, Naples – Rome: Istituto Universitario Orientale & Istituto Italiano per il Medio ed Estremo Oriente, ISBN 978-0877737650 (Reprinted by Shambala)
↑ Claudio Margottini (2013). After the Destruction of Giant Buddha Statues in Bamiyan (Afghanistan) in 2001: A UNESCO's Emergency Activity for the Recovering and Rehabilitation of Cliff and Niches . Springer. pp. 5–6. ISBN 978-3-642-30051-6 .
↑ Jason Neelis (2010). Early Buddhist Transmission and Trade Networks: Mobility and Exchange Within and Beyond the Northwestern Borderlands of South Asia . BRILL Academic. pp. 114–115, 144, 160–163, 170–176, 249–250. ISBN 978-90-04-18159-5 .
↑ Ibn Battuta; Samuel Lee (Translator) (2010). The Travels of Ibn Battuta: In the Near East, Asia and Africa . Cosimo (Reprint). pp. 97–98. ISBN 978-1-61640-262-4 . ; Columbia University Archive
↑ Cacopardo, Augusto S. (15 February 2017). Pagan Christmas: Winter Feasts of the Kalasha of the Hindu Kush . ISBN 9781909942851 .
↑ Augusto S. Cacopardo (15 February 2017). Pagan Christmas: Winter Feasts of the Kalasha of the Hindu Kush . Gingko Library. ISBN 978-1-90-994285-1 .
↑ Konrad H. Kinzl (2010). A Companion to the Classical Greek World . John Wiley & Sons. p. 577. ISBN 978-1-4443-3412-8 .
↑ André Wink (2002). Al-Hind: The Slavic Kings and the Islamic Conquest, 11th–13th Centuries . BRILL Academic. pp. 52–53. ISBN 978-0-391-04174-5 .
↑ Frank Clements (2003). Conflict in Afghanistan: A Historical Encyclopedia . ABC-CLIO. pp. 109–110. ISBN 978-1-85109-402-8 .
↑ Michael Ryan (2013). Decoding Al-Qaeda's Strategy: The Deep Battle Against America . Columbia University Press. pp. 54–55. ISBN 978-0-231-16384-2 .
↑ Fosco Maraini et al., Hindu Kush , Encyclopædia Britannica
↑ Karl Jettmar; Schuyler Jones (1986). The Religions of the Hindukush: The religion of the Kafirs . Aris & Phillips. ISBN 978-0-85668-163-9 .
↑ Winiger, M.; Gumpert, M.; Yamout, H. (2005). "Karakorum-Hindukush-western Himalaya: assessing high-altitude water resources". Hydrological Processes . Wiley-Blackwell. 19 (12): 2329–2338. Bibcode :2005HyPr...19.2329W . doi :10.1002/hyp.5887 . S2CID 130210677 .
↑ "kaush in English - Avestan-English Dictionary | Glosbe" . glosbe.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-25 .
↑ Allan, Nigel (2001). "Defining Place and People in Afghanistan". Post-Soviet Geography and Economics . 8. 42 (8): 545–560. doi :10.1080/10889388.2001.10641186 . S2CID 152546226 .
↑ R. W. McColl (2014). Encyclopedia of World Geography . Infobase Publishing. pp. 413–414. ISBN 978-0-8160-7229-3 .
↑ Sumra, Mahar Abdul Haq (1992). The Soomras (ภาษาอังกฤษ). Beacon Books. p. 36. The India of the ancient times extended from the Hindukush (Hindu meaning Indian, Kush meaning Koh or a mountain)... Apart from the names of places and streams there are many other words also which have 'Hind' as their adjectival parts. ... Hindko (the language of Peshawar and Abbotabad), Hindwana (water-melon), Indi maran (a wrestling skill), Hindvi (language other than Persian and Arabic spoken or written by locals) etc.
↑ Henry Yule; A. C. Burnell (13 June 2013). Kate Teltscher (บ.ก.). Hobson-Jobson: The Definitive Glossary of British India . Oxford University Press. p. 258. ISBN 9780199601134 .
↑ Thapar, Romila (2019). Which of Us are Aryans?: Rethinking the Concept of Our Origins . Aleph. p. 1. ISBN 978-93-88292-38-2 .
↑ Schmitt, Rüdiger (2007). "Iškata" . Encyclopaedia Iranica .
↑ Griffiths, Arlo (2004). The Vedas: Texts, Language & Ritual (PDF) . Groningen: Egbert Forsten. p. 594. ISBN 90-6980-149-3 . OCLC 57477186 . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30.
↑ Vogelsang, Willem (2002). The Afghans . Wiley-Blackwell. ISBN 978-0-631-19841-3 . สืบค้นเมื่อ 22 August 2010 .
↑ 1890,1896 Encyclopædia Britannica s.v. "Afghanistan", Vol I p.228.; 1893, 1899 Johnson's Universal Encyclopedia Vol I p.61.; 1885 Imperial Gazetteer of India , V. I p. 30.; 1850 A Gazetteer of the World Vol I p. 62.
↑ 34.0 34.1 Biddulph, p.12
↑ Biddulph, p.38
↑ Biddulph, p.7
↑ 37.0 37.1 Biddulph, p.9
↑ Biddulph, p.11
ข้อมูล
ผลงานที่อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
35°N 71°E / 35°N 71°E / 35; 71