แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ชื่อย่อ: นปช.; อังกฤษ: United Front of Democracy Against Dictatorship; UDD) มีชื่อเดิมว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ[3] (ชื่อย่อ: นปก.; อังกฤษ: Democratic Alliance Against Dictatorship: DAAD[4]) เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย เป็นองค์กรหลักของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยมีสัญลักษณ์หลักคือ สีแดง และเสื้อสีแดง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า เสื้อแดง (ซึ่งในช่วงเริ่มการต่อสู้ใช้สีเหลือง แต่ต่อมาตั้งแต่ช่วงรณรงค์ให้ประชาชนลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็เริ่มใช้สีแดง) และมีการใช้เท้าตบ[5][6] และหัวใจตบ เพื่อล้อเลียนการใช้มือตบของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นปก.ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 โดยรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และขับไล่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร โดยในภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ หลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นปช. กลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาล ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 และแกนนำ 3 คน ได้แก่ นายกองเอก วีระ มุสิกพงศ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายแพทย์ เหวง โตจิราการ ถูกควบคุมตัว และในอีกหลายวันต่อมา รัฐบาลก็ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในปีเดียวกัน นปช.ประกาศตัดความสัมพันธ์ และแยกตัวจากเครือข่ายพลังประชาธิปไตยแดงสยาม เนื่องจากมีทัศนคติและจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 นปช.จัดชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา โดยมีกลุ่มคนไม่ทราบสังกัดใส่ชุดดำใช้กำลังอาวุธโดยเฉพาะเครื่องยิงเอ็ม 79 ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม ภายหลังจากเหตุสลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ ได้มีการลอบวางเพลิงในสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งใช้อาวุธเอ็ม 79 โจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 สมาชิกกลุ่ม นปช. ส่วนหนึ่งหลบหนีไปต่างประเทศ เนื่องจากถูกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรียกให้มารายงานตัว จนกระทั่งเป็นที่มาของการที่ศาลทหารออกหมายจับ การปรับโครงสร้างองค์กรวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่สถานีโทรทัศน์ดีสเตชัน ภายในห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำโดย นายกองเอก วีระ มุสิกพงศ์, จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ชินวัฒน์ หาบุญพาด, มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, นายแพทย์ เหวง โตจิราการ, อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ร่วมกันแถลงข่าว โดยวีระกล่าวว่า จากผลการประชุมของแกนนำ นปช.เมื่อวันที่ 7-8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่จังหวัดกาญจนบุรี มีมติขอเปลี่ยนชื่อจาก แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เป็น "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน" เพื่อการดำเนินงานและการเคลื่อนไหวที่เป็นเอกภาพยิ่งขึ้น โดยมีตนเป็นประธาน มานิตย์เป็นที่ปรึกษา ณัฐวุฒิเป็นโฆษก ส่วนผู้ที่ไม่ได้กล่าวชื่อจากข้างต้นเป็นกรรมการ[8] หลังจากแกนนำ นปช. ชุดที่วีระเป็นประธาน เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังประกาศยอมยุติการชุมนุม ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทางกลุ่มจึงว่างเว้นจากการมีแกนนำไประยะหนึ่ง โดยในช่วงเวลาดังกล่าว สมบัติ บุญงามอนงค์ มักมีบทบาทเป็นผู้นำมวลชน ในการนัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน จึงมีการตั้งคณะกรรมการ นปช. ชุดรักษาการขึ้น โดยมีธิดา ถาวรเศรษฐ ภรรยานายแพทย์เหวง รักษาการในตำแหน่งประธาน[9] แกนนำและคณะกรรมการแกนนำจากการปรับโครงสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2552 เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น จึงมีการวางตัวบุคคลเพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้[10]
แกนนำรักษาการ (พ.ศ. 2550)แกนนำ นปช.ชุดที่สอง ตั้งขึ้นหลังจากแกนนำชุดแรกทั้ง 8 คน ถูกตำรวจออกหมายจับ หลังจากเหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ควบคุมตัวไว้เป็นเวลา 12 วัน จนแกนนำชุดแรกได้รับการปล่อยตัว[11][12]
แกนนำชุดปัจจุบัน
คณะกรรมการชุดรักษาการ
แกนนำระดับจังหวัดในยุคที่ธิดาเป็นประธาน นปช. มีแนวคิดในการจัดระบบการนำขึ้นใหม่ โดยให้เลือกตั้งแกนนำส่วนภูมิภาค และในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ดังมีรายนามที่ปรากฏหลักฐานดังนี้
คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัย
พราหมณ์
คณะกรรมการฝ่ายทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย
นักวิชาการที่มีแนวคิดสนับสนุนนักวิชาการที่ชุมนุม และสนับสนุน แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อดีตคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ
การเคลื่อนไหวพ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2553พ.ศ. 2554ในวันที่ 9-19 กุมภาพันธ์ กลุ่ม นปช.จัดชุมนุมบริเวณศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก[65] ในวันที่ 12 มีนาคม ได้มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมี นายจตุพร เป็นแกนนำปราศัย มีผู้ร่วมฟังการปราศัยกว่าหมื่นคน ในวันที่ 27 มีนาคม ได้มีการเปิดตัวกลุ่มกิจกรรม “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้” โดยมีการตะโกนคำว่ายกเลิก 112 ไปตลอดเส้นทาง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถึง อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศจุดยืนให้ยกเลิกกฎหมายประมวลอาญามาตรา 112 แกนนำกลุ่มคือกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มแนวร่วมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นางสาวจิตรา คชเดช ผู้ถูกเลิกจ้างอันกระทำการให้บริษัทเสื่อมเสียฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยได้เป็นแกนนำในครั้งนี้[68] การชุมนุมเนื่องในโอกาสครอบรอบห้าปีรัฐประหาร พ.ศ. 2549 การชุมนุมได้เกิดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในครั้งนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่ใช้ชื่อว่าคณะนิติราษฎร์ ได้ออกแถลงการณ์ให้ล้มเลิกการตัดสินคดีความของศาลที่เกิดจากรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ทั้งหมด มีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้แม้คณะนิติราษฎร์อ้างว่าไม่ได้ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการลบล้างคำพิพากษาหากเกิดขึ้นจริงยังคงเป็นบุคคลสำคัญในพรรคเพื่อไทยพรรคพลังประชาชนและพรรคไทยรักไทยรวมถึงบุคคลสำคัญในพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้น เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมหาชน[69]เนื่องจากบุคคลสำคัญในพรรคดังกล่าวถูกศาลตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี อีกทั้งคณะนิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ล้มล้างผลขอการรัฐประหารในครั้งก่อน ๆ ที่มีการประกาศใช้คณะปฏิวัติที่ส่งผลทางกฎหมายถึงปัจจุบัน[70]เช่น คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 37 พ.ศ. 2525 เป็นต้น[71] วันที่ 10 เมษายน กลุ่มนปช.จัดการชุมนุมที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยนายจตุพรปราศรัยว่า คุณเอาหน่วยไหนมาฆ่าพวกผม ยังไม่เจ็บปวด ยกเว้นสองหน่วยอย่าเอามาฆ่าผมได้ไหม คือ หนึ่ง ทหารรักษาพระองค์ และสอง ทหารเสือพระราชินี เพราะพวกเรามีความเจ็บปวดว่าเป็นกระสุนพระราชทานใช่ไหม[72] มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ฆ่าลูกเพื่อปกป้องพ่อ ฆ่าลูกเพื่อพ่อ ฆ่าลูกเพื่อแม่ มีไอ้ประเทศบ้าประเทศนี้ประเทศเดียว ซึ่งต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา[73] ผู้บัญชาการทหารบก มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนญฟ้องร้อง เนื่องจากเป็นการกล่าวในที่สาธารณะ แต่นาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สั่งไม่ฟ้อง ในวันที่ 24 เมษายน กลุ่มนปช.จัดการชุมนุมที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยมี จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ วิเชียร ขาวขำ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เข้าร่วม ในวันที่ 19 พฤษภาคม กลุ่มนปช.ร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุม 19 พฤษภาคม 53 ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ก่อนจะร่วมกันวางพวงมาลัย เพื่อสดุดีบุคคลที่เสียชีวิต ในวัดปทุมวนาราม นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ[74] ในวันที่ 19 กันยายน ในงานเสาวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อรัฐประหารเปลี่ยนประเทศไทยอย่างไร[75]ได้มีการปะทะกันระหว่างนายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นายแทนคุณ จิตต์อิสระผู้สมัครส.ส.พรรคประชาธิปัตย์โดยกลุ่มนปช.ประสงค์จะทำร้ายร่างกายและได้มีการขว้างปาขวดน้ำใส่นักศึกษาและผู้ร่วมเสาวนาทั้งสองราย ในวันที่ 10 ธันวาคม การชุมนุมของกลุ่มปัญญาชนแดง นปช.ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อรำลึกวันรัฐธรรมนูญ และรำลึกการเสียชีวิตของแนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เริ่มตั้งแต่ 14.00 น. โดยมีการติดตั้งเครื่องขยายเสียง และจอโปรเจกต์เตอร์ขนาดใหญ่ ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[76]โดยมีผู้มาชุมนุมประมาณ 7000 คนนำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของน.ส.กมนเกด อัคฮาด [77] พ.ศ. 2555วันที่ 13 กุมภาพันธ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ในฐานะแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กล่าวถึงการเดินทางมาศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อจุดมุ่งหมายคือการอ่านจดหมายปรับทุกข์ของแกนนำ นปช.ในเรือนจำ และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ได้ชุมนุมที่ศาลฎีกา เพื่อร่วมกันอ่านจดหมายปรับทุกข์ ขอความยุติธรรม[78] วันที่ 9 พฤษภาคม ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก เวลา 14.00 น. กลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางมารวมตัวกัน เพื่อแสดงความไว้อาลัยให้กับอำพล ตั้งนพกุล โดยได้นำศพของอำพลมาตั้งไว้หน้าป้ายศาล และบนทางเท้ามีการตั้งเต็นท์ นำรถติดตั้งเครื่องขยายเสียง ชูภาพของอำพล[79]ต่อมาวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มนปช.ได้มาชุมนุมเพื่อให้กำลังใจ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นหรือไม่พ้นจากการเป็นส.ส.หลังจากมีคำพิพากษาให้นาย จตุพร พ้นจากส.ส.กลุ่มนปช.ได้แสดงความผิดหวังและด่าทอศาลรัฐธรรมนูญ[80] วันที่ 19 พฤษภาคม กลุ่มคนเสื้อแดงร่วมการชุมนุมซึ่งจัดโดย นปช.ที่บริเวณแยกราชประสงค์ ในเหตุการณ์ครบรอบ 2 ปี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[81] โดยศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เกษรพลาซา และอมรินทร์พลาซา ประกาศปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 15.00 น. สำหรับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) ปรับเปลี่ยนเส้นทางรถประจำทาง 16 สาย เพื่อหลีกเลี่ยงบริเวณแยกราชประสงค์ ส่วนผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ ออกประกาศให้พนักงานของห้างร้านต่าง ๆ ในบริเวณโดยรอบย่านราชประสงค์ เลิกงานก่อนเวลา 16.00 น. เพื่อให้เดินทางกลับบ้านโดยสะดวก[82] วันที่ 10 ธันวาคม กลุ่มคนเสื้อแดงราว 5000 คน นำโดยพายัพ ปั้นเกตุ พ.ต.อ.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ และดารุณี กฤตบุญญาลัย ร่วมการชุมนุมซึ่งจัดโดย นปช.ที่บริเวณรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง[83] พ.ศ. 2556วันที่ 22 เมษายน กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) และกลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง ร่วมกันชุมนุมกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกทั้งคณะ พร้อมทั้งรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนด้วย เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน มิได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จึงมีที่มาไม่ชอบธรรม[84] โดยเชื่อกันว่ามีการตั้งค่าหัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย[85] วันที่ 2 พฤษภาคม กลุ่มคนเสื้อแดง นำโดยลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เดินทางไปที่หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อประท้วงต่อพฤติกรรมของสมชัย กตัญญุตานันท์ หรือ “ชัย ราชวัตร” การ์ตูนิสต์[86] ที่แสดงข้อความในเฟซบุ๊ก ตำหนินายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากการกล่าวปาฐกถาที่ประเทศมองโกเลีย ด้วยถ้อยคำที่ร้ายแรง[87] ต่อมา นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ มอบหมายให้ทนายความ เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อตำรวจ ให้ดำเนินคดีกับสมชัยฐานหมิ่นประมาท[88] วันที่ 19 พฤษภาคม กลุ่ม นปช.จัดการชุมนุมรำลึกครบรอบ 3 ปีการสลายการชุมนุมฯ ที่บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งในเวลา 21:00 น. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ติดต่อเข้าสู่ที่ชุมนุมด้วยโปรแกรมสไกป์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวโจมตีกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ว่าต้องการเผด็จการ มากกว่าประชาธิปไตย[89] และกล่าวแสดงความอาลัยต่อผู้เสียชีวิต จากการสลายการชุมนุมในวันเดียวกันของปี พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 13:00 น. วันที่ 11 สิงหาคม กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล นำโดย ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ และ ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย จัดการชุมนุมหน้าศาลอาญารัชดาภิเษก [90]โดยจัดทุกวันอาทิตย์ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2557 วันที่ 20 พฤศจิกายน นปช. เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ วัดพระศรีมหาธาตุ รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[91] พ.ศ. 2559ในวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ลาสเวกัส สหรัฐ มีการประชุมสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นประธานกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มอาทิ ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน (หรือนามแฝง ดร.เพียงดิน รักไทย) ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัล ดิษฐาอภิชัย ดร.สุนัย จุลพงศธร จาตุรนต์ ฉายแสง ดารุณี กฤตบุญญาลัย มนูญ หรือ เอนก ชัยชนะ จอม เพชรประดับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ[92] บุคคลบางคนเป็นที่ต้องการตัวในฐานะผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน พ.ศ. 2564วันที่ 4 เมษายน จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ร่วมกับพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 นำผู้ชุมนุมหลากหลายกลุ่ม รวมถึงอดีต นปช. จัดการชุมนุมขับไล่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[93] โดยมีข้อตกลงว่าห้ามเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย[94] วันที่ 10 เม.ย. ที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง กลุ่มยูดีดีนิวส์ และอดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ ร่วมจัดงานรำลึกและสดุดีวีรชน 11 ปี 10 เม.ย. 53 และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 53 ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศภายในงานมีกลุ่มเครือญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวและกลุ่มคนเสื้อแดงจากหลากหลายพื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก สำหรับกิจกรรมภายในงานช่วงเช้า มีการประกอบพิธีสงฆ์ถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ 11 รูป จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้วางพวงหรีดดอกไม้ เพื่อแสดงความรำลึกต่อดวงวิญญาณผู้สูญเสีย ก่อนต่อด้วยกิจกรรมเสวนาทางการเมืองโดยตัวแทนนักวิชาการต่าง ๆ จนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. กิจกรรมจึงแล้วเสร็จ โดยไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงใด ๆ[95]
การเคลื่อนไหวในต่างประเทศผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ศาลทหารออกหมายจับบุคคลตามรายนามต่อไปนี้ซึ่งเป็นแนวร่วมหรืออดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันเนื่องมาจากการปราศรัย หรือการจัดรายการวิทยุ ผ่านเว็บไซด์ยูทูบและเฟซบุ๊ก[96] สื่อมวลชนมักเรียกว่า "แดงนอก"[97] ทางการไทยต้องการจับกุมอย่างน้อย 29 ราย อาทิรายนามต่อไปนี้[98]
การดำเนินคดี
ศาลสั่งให้ถอนการประกันยศวริศ ชูกล่อม ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555 จากคดีก่อการร้ายตามมาตรา 135/1-135/4 ส่งผลให้ถูกจำคุก[119] ศาลสั่งให้ถอนการประกันก่อแก้ว พิกุลทอง ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 จากคดีก่อการร้ายตามมาตรา 135/1-135/4 ส่งผลให้ถูกจำคุก[120] อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ถูกจำคุกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554[121] ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยวงเกิน 6 ล้านบาท [122] และต้องจำคุกต่อทันที 1 วันในคดีหมิ่นประมาทศิริโชค โสภา ก่อนที่จะได้รับประกันตัวในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ไปในวงเงิน 2 แสนบาท[123]โดยในคดีแรกศาลตั้งเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ต่อมาในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เขาถูกจำคุก 1 ปี ในคดีหมิ่นประมาทอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อมาใช้หลักทรัพย์ประกันตัวไป 1 แสนบาท[124] วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกจตุพร พรหมพันธุ์ 6 เดือน ฐานหมิ่นประมาท อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยศาล เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเพื่อยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย ไม่ได้ติชมด้วยความสุจริตใจ เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 50,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นเวลา 7 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่าย [125]
ข้อกล่าวหากรณีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
กลุ่มของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ มีการกล่าวถึงว่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองนั้นแอบอ้างสถาบันกษัตริย์ในการโจมตีทั้งทางการใช้กำลังและการใช้วาทกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงแนวร่วมบางส่วนได้เรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์รับผิดชอบกับเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ [126]ในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ไม่ว่าทางเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น นปช. USA [127] ดร.ภาคิน ธราธรศิริ เขียนบทความบ้านจะดีต้องเริ่มที่พ่อ[128] การชุมนุมที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 จตุพรปราศรัยว่า คุณเอาหน่วยไหนมาฆ่าพวกผม ยังไม่เจ็บปวด ยกเว้นสองหน่วยอย่าเอามาฆ่าผมได้ไหม คือ หนึ่ง ทหารรักษาพระองค์ และสอง ทหารเสือพระราชินี เพราะพวกเรามีความเจ็บปวดว่าเป็นกระสุนพระราชทานใช่ไหม[129]มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ฆ่าลูกเพื่อปกป้องพ่อ ฆ่าลูกเพื่อพ่อ ฆ่าลูกเพื่อแม่ มีไอ้ประเทศบ้าประเทศนี้ประเทศเดียว ซึ่งต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนูญฟ้องร้อง เนื่องจากเป็นการกล่าวในที่สาธารณะ[130]แต่ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้มีการพบข้อความในเว็บไซต์เฟซบุ๊กและวิดิทัศน์ในเว็บไซต์ยูทูบของแนวร่วมบางส่วนซึ่งกระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและได้ถูกดำเนินคดีจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดคือ วิภาส รักสกุลไทย กรณีทำผิดตามมาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในการพิมพ์ข้อความในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก กรณี ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ดร.เสน่ห์ ถิ่นแสน หรือ เพียงดิน รักไทย ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชนคนรักทักษิณ ศาลทหารได้ออกหมายจับฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 49/2557 กรณีการปราศัยผ่านเว็บไซต์ยูทูบเข้าข่ายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[131] ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบทความในเว็บไซต์เฟซบุ๊กตั้งข้อสังเกตถึงการที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีไม่เอ่ยถึงการบาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมถึงไม่เอ่ยถึงการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการออกประทานสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน และการชุมนุมของ นปช. พ.ศ. 2553 ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนซึ่งมากกว่าการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย [132][133]อย่างไรก็ตามบทความดังกล่าวยกย่องพระราชดำรัสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงกล่าวว่า การเสียทรัพย์สินไม่สำคัญเท่ากับชีวิตคน[134]ต่อมาศาลทหารออกหมายจับฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 65/2557[135] สื่อสื่อสิ่งพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกอบด้วย นิตยสารข่าว มหาประชาชน (พ.ศ. 2550-2551) หนังสือพิมพ์มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้ (พ.ศ. 2552-2553) ซึ่งหลังจากสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งห้ามการเสนอข่าวเพื่อจำหน่าย หรือเผยแพร่สิ่งพิมพ์ ที่มีข้อความอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร หลังจากนั้นจึงตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ มหาประชาชนสุดสัปดาห์ (พ.ศ. 2553-2554) สื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดย กลุ่มของคนเสื้อแดง ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์วิวาทะฉบับไทยเรดนิวส์ (พ.ศ. 2552-2553) นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ซึ่งต่อมามีคำสั่งห้ามพิมพ์ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 เช่นกัน[136] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกคำสั่งที่ 71/2553 ตามอำนาจของ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ห้ามมิให้นิตยสารฉบับดังกล่าวเสนอข่าวสาร หรือทำให้ปรากฏแพร่หลายซึ่งข่าวสาร ที่มีข้อความและเนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร อันทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน และบั่นทอนความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของคนในชาติ[137] จึงเปลี่ยนชื่อเป็น นิตยสารเรดเพาเวอร์ ปัจจุบันนิตยสารเรดเพาเวอร์ รวมถึง สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหมดที่จัดทำโดยกลุ่มของคนเสื้อแดงยุติการจำหน่ายแล้ว โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทยสำหรับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มีสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (พ.ศ. 2557-2562) โทรทัศน์ในระบบเคเบิลและผ่านดาวเทียมในประเทศไทยสื่อประเภทช่องรายการโทรทัศน์ ผ่านระบบดาวเทียม ประกอบด้วย
สำนักข่าวและโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
|