จารุวรรณ เมณฑกา
คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ชื่อเล่น เป็ด เป็นสมาชิกคริสตจักรวัฒนา สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร[1] อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จารุวรรณได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 และไม่ยอมออกจากตำแหน่ง หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กระบวนการสรรหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่ออายุครบ 65 ปีแล้ว ต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมาย จารุวรรณยังไม่ยอมละทิ้งตำแหน่ง แม้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่อาจอยู่ในตำแหน่งได้อีก จึงนำไปสู่ความขัดแย้งภายในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทั่งศาลปกครองวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553[2] ระหว่างดำรงตำแหน่งในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนั้น จารุวรรณถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในกรณีเห็นแก่ญาติและขาดความโปร่งใส โดยถูกกล่าวหาว่า ตั้งบุตรตนเองเป็นเลขานุการส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนจากรัฐ และพาบุตรท่องเที่ยวต่างประเทศในการไปราชการของตนเองซึ่งได้รับค่าใช้จ่ายจากรัฐ ฯลฯ แต่จารุวรรณชี้แจงว่า สามารถทำได้ตามกฎหมาย[3][4][5] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จารุวรรณถูกศาลพิพากษาจำคุกฐานทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ราชการ เพราะเบิกเงินแผ่นดินไปใช้จ่ายในการทอดกฐิน โดยอ้างว่า ใช้ในการสัมมนา[6] ประวัติจารุวรรณ เมณฑกา เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตในจำนวน 8 คนของ นายเต็ม ยรรยง และนางจำเนียร ยรรยง บิดาของเธอเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ส่วนมารดาเป็นชาวไทยพุทธจากจังหวัดนนทบุรี และครอบครัวตั้งรกรากแถวสามย่าน[7] สมรสกับนายทรงเกียรติ เมณฑกา นักธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์ ชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว มีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน คือ
จารุวรรณ เมณฑกา จบการศึกษาจากโรงเรียนศึกษาวัฒนา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และได้รับทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน (ปัจจุบัน คือ เอเอฟเอส) ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงเข้าเรียนที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง เมื่อ พ.ศ. 2510 การทำงานจารุวรรณเริ่มทำงานที่สำนักงานบัญชีไชยยศ สมบัติ เป็นโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ที่บริษัท NCR และ ได้เข้าทำงานด้านบัญชี ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นสอบชิง ทุน ก.พ. ในโควตาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้อันดับ 1 ในจำนวน 4 คนที่สอบผ่าน ได้ไปศึกษาต่อปริญญาโท ด้านการบัญชีและการตรวจสอบ ที่ มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต สหรัฐอเมริกา และจบปริญญาเอกด้านนโยบายสาธารณะและการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556[10] เคยทำงานด้านการตรวจเงินแผ่นดินที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2516 กลับมาเริ่มงานที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จนกระทั่งได้เป็น ผู้ตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค ผู้อำนวยการสำนักการตรวจเงินแผ่นดิน และดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามลำดับ การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีผลใช้บังคับ และกำหนดให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระ โดยมีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) 10 คน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน จารุวรรณจึงสมัครเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน[11] ซึ่งการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินประสบปัญหาล่าช้า เนื่องจากผู้สมัครขาดคุณสมบัติ จึงมีผู้เสนอชื่อให้จารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก[12] หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส.[13] และได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง[14] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของจารุวรรณว่า พ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65 ปี[15] แต่จารุวรรณไม่ยินยอมออกจากตำแหน่ง พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จึงเรียกร้องให้จารุวรรณปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว จนเกิดความขัดแย้งกันภายในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของจารุวรรณสิ้นสุดลงเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์[16] ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดกรณีการกล่าวหา จารุวรรณเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กับพวก จัดสัมมนาโครงการ "สตง. ในความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภา" เป็นเท็จ และส่งเรื่องให้อัยการสูงสูดฟ้องต่อศาลฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557พนักงานอัยการ ฟ้องร้อง คุณหญิงจารุวรรณ ในคดีหมายดำที่ 2054/2559 คดีนี้ศาลอุทธรณ์[17]พิพากษาจำคุก 1 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2562 ลดโทษจำคุกเหลือ 9 เดือนโดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี จากกรณีเบิกจ่ายงบจัดสัมมนาที่จังหวัดน่านโดยไม่มีการสัมมนาจริง เป็นการไปร่วมงานทอดกฐินแทน แต่ศาลเห็นว่าเพิ่งกระทำผิดครั้งแรก อีกทั้งระหว่างปฏิบัติหน้าที่ไม่เคยมัวหมองถูกลงโทษทางวินัย การเบิกจ่ายเงินนั้น จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และเพิ่มโทษปรับ 15000 บาท[18] งานอื่น ๆจารุวรรณได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[19] วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
|