เรือหลวงสุโขทัย
เรือหลวงสุโขทัย (FS-442) (อังกฤษ: HTMS Sukhothai) เป็นเรือคอร์เวตชั้นรัตนโกสินทร์ของกองทัพเรือไทย โดยเป็นเรือลำที่ 2 ที่ชื่อเรือหลวงสุโขทัย[1] เรืออับปางเนื่องจากพายุเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เหตุเรือจมดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 24 นาย[2] ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ต่อกองทัพเรือเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเรือ การออกเรือท่ามกลางพายุ อุปกรณ์ชูชีพที่ไม่เพียงพอ การค้นหาและกู้ภัยที่ไม่ทันกาล และการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่ไม่เหมาะสม ประวัติเรือหลวงสุโขทัยเป็นเรือลำที่ 2 ในเรือคอร์เวตชั้นรัตนโกสินทร์ มีความยาวตลอดตัวเรือ 76.8 เมตร ความกว้าง 9.6 เมตร กินน้ำความลึก 4.5 เมตร ระวางขับน้ำปกติ 840 ตัน และระวางขับน้ำสูงสุด 960 ตัน ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรใหญ่ดีเซล 2 เครื่อง ทำงานบนเพลาใบจักร 2 เพลา ทำความเร็วล่องเรือ 18 นอต และความเร็วสูงสุด 24 นอต[3] ซึ่งมีแผนการต่อเรือลำนี้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[4] และเริ่มต้นต่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2527 ณ บริษัทต่อเรือทาโคมา เมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน สหรัฐ ในชื่อโครงการว่า RTN 252 FT PSMM MK-16#446[5] โดยทำพิธีวางกระดูกงูเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527[6] และเข้าประจำการในกองทัพเรือเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ในหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟรีเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ[5] อาวุธยุทโธปกรณ์เรือหลวงสุโขทัยเป็น 1 ใน 5 ลำที่มีศักยภาพสูงที่สุดของกองทัพเรือ เนื่องจากมีความสามารถในการรบทั้ง 3 มิติ คือ สามารถต่อสู้ได้ทางอากาศ, บนผิวน้ำ และใต้น้ำ[7] เรือหลวงสุโขทัย ประกอบด้วยระบบอาวุธ
สำนักข่าวอิศราเปิดเผยว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2565 มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับเรือทั้งสิ้น 60 รายการ มูลค่ากว่า 40.76 ล้านบาท[9] ภารกิจเรือหลวงสุโขทัย เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530[5] เดิมเรือใช้หมายเลขประจำเรือคือหมายเลข 2 และต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นหมายเลข 442[4] ใน พ.ศ. 2537 เรือหลวงสุโขทัย เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทยเข้าร่วมการฝึกกับประเทศออสเตรเลียในการฝึกประจำปี AUSTHAI 94 ใน พ.ศ. 2538 ได้ฝึกยิงขีปนาวุธพื้นสู่อากาศอาสปิเด ต่อเป้าหมายอากาศยานไร้คนขับในระหว่างการฝึกความร่วมมือและความพร้อมทางเรือ หรือ “การัต” (CARAT 95) ร่วมกับกองทัพเรือจากสหรัฐอเมริกา, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และบรูไน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เรือได้ยิงขีปนาวุธนับตั้งแต่ได้จัดซื้อระบบอาวุธมาในปี พ.ศ. 2528[10] เดือนมกราคม พ.ศ. 2546 เรือหลวงสุโขทัยได้เป็นหนึ่งในหมู่เรือเฉพาะกิจของปฏิบัติการโปเชนตงในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เพื่อกดดันกัมพูชา[11] จนถึง พ.ศ. 2565 สังกัดกองเรือปราบเรือดำน้ำ[12] การอับปางจากพายุ
เรือหลวงสุโขทัยอับปางหลังจากเกิดพายุในอ่าวไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565[13] ขณะกำลังเดินทางไปร่วมงานฉลองครบรอบ 100 ปี กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ศาลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร[14] ในช่วงที่เกิดเหตุ คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2–4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร[15] เรือดังกล่าวได้รับความพยายามช่วยเหลืออย่างหนักหลังจากระบบไฟฟ้าและเครื่องสูบน้ำล้มเหลวเนื่องจากน้ำท่วม ความล้มเหลวดังกล่าวเกิดจากน้ำทะเลเข้าสู่ท่อไอเสียในทะเลลึก ซึ่งนำไปสู่การลัดวงจรในระบบไฟฟ้าของเรือ[16][17] นาวาโท พิชิตชัย เถื่อนนาดี เป็นผู้บังคับการเรือในขณะเกิดเหตุ[18] เหตุเรือสุโขทัยล่มนับเป็นเรือรบในราชนาวีไทยลำแรกที่อับปางลงนับตั้งแต่เรือหลวงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2494[19] บนเรือนั้นมีการเปิดเผยว่ามีเสื้อชูชีพไม่เพียงพอต่อกำลังพลบนเรือ 105 นาย (ซึ่งมากกว่าอัตราเต็มที่)[15] และมีหลักฐานในแชตที่ออกมาว่า เรือหลวงสุโขทัยพยายามขอเข้าเทียบท่ากับท่าเรือประจวบ ซึ่งท่าเรืออนุญาตแล้ว แต่สุดท้ายเรือตัดสินใจเดินทางไปยังสัตหีบแทน[20] ขณะที่เรืออับปางนั้น เรือสุโขทัยมีอายุ 36 ปีแล้ว ซึ่งตามระเบียบและข้อกำหนดมีอายุใช้งาน 40 ปี[21] จากคำให้การของพยานที่บอกว่าเมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 20 ธันวาคม มีคลื่นทะเลและน้ำเริ่มรั่วเข้าบริเวณพื้นห้องชั้นล่าสุด จึงนำปั๊มน้ำเข้ามาสูบน้ำออก จากนั้นเวลา 16.00 น. มีเสียงนายทหารตะโกนแจ้งว่าเกิดเหตุไฟไหม้บนเรือแต่ก็สามารถควบคุมไว้ได้ และเวลาประมาณ 19.00 น. น้ำที่ทะลักเข้าใต้ท้องเรือเริ่มท่วมชั้นล่างสูง ทำให้เพจไทยอาร์มฟอร์ซ.คอม เว็บไซต์อิสระด้านกิจการทหาร วิเคราะห์ว่า น้ำเข้าจากบริเวณหน้าเรือ ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ยาก แต่อาจเกิดจากการเข้าทางประตูกั้นน้ำและฝาฮัทช์ที่อาจปิดไม่ได้ หรือชำรุด รวมทั้งอาจมีความผิดปกติหรือรอยแตกของตัวเรือมากกว่าที่ทหารบนเรือทราบ[20] ขณะที่กองทัพเรือชี้แจงว่าเรือหลืองสุโขทัย เพิ่งซ่อมบำรุงไปเมื่อ 2 ปีก่อน และมีการใช้คอมพิวเตอร์สแกนหารอยแตกรอยทะลุทั้งลำแล้ว[22] ผู้บัญชาการทหารเรือยืนยันว่า ต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงและรายงานข้อเท็จจริง ความสูญเสียและความรับผิดตามกฎหมาย แต่บางเรื่องเป็นความลับราชการ ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540[23] มีเอกชนตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดเรือจึงไม่ขอความช่วยเหลือทางวิทยุฉุกเฉินซึ่งเป็นช่องทางสากล และไม่ขอความช่วยเหลือจากเรือ offshore ทั้งที่อยู่ห่างไปเพียง 20 ไมล์ทะเลหรือ 37.04 กิโลเมตร[24] ขณะที่มีกระแสข่าวว่าห้ามสละเรือ ก่อนที่เสนาธิการทหารเรือจะออกมายืนยันว่าไม่มีคำสั่ง[25] ต่อมากองทัพเรือยอมรับว่าขณะเกิดเหตุไม่มีต้นกลบนเรือ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องจักรและป้องกันความเสียหาย[26] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มีการเปิดเผยเอกสารราชการที่ระบุว่าแผ่นเหล็กของเรือใต้แนวน้ำในจุดสำคัญ 13 จุดอาจบางกว่ามาตรฐานถึง 25% ส่วนกองทัพเรือออกมาแถลงอ้างว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด ยังขาดข้อมูลการซ่อมทำของอู่[27] มูลค่าความเสียหายของเรือคิดเป็น 5,000 ล้านบาท[28] ซึ่งกองทัพเรือเปิดเผยแผนกู้เรือในเดือนธันวาคม 2566 ว่าอาจช้วงเงินจำนวน 100 ล้านบาท[29] โดยในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 กองทัพได้มีการกำหนดกรอบงบประมาณในการเก็บกู้เรือไปยังกระทรวงกลาโหมเป็นวงเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อว่าจ้างบริษัทเอกชนในการดำเนินการให้ได้สภาพเรือที่สมบูรณ์ที่สุด ไม่มีการแยกหรือตัดชิ้นส่วนเรือในการเก็บกู้[30] เพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงและพยายานหลักฐานถึงสาเหตุในการอัปปางต่อไป[31][30][32] โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567 กองทัพเรือได้แถลงผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร[33] ลำดับเหตุการณ์และผู้เสียชีวิต
ข้อมูลผู้เสียชีวิต ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2565 จำนวน 25 นาย ประกอบด้วย[36]
การค้นหาและกู้ภัยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม โฆษกกองทัพเรือยืนยันว่าลูกเรือทุกคนปลอดภัย[37] แต่ ณ วันที่ 24 ธันวาคม กองทัพเรือกลับยืนยันว่ามีลูกเรือเสียชีวิตแล้ว 13 นาย[38] กองทัพเรือหลังจากเกิดเหตุ กองทัพเรือได้ส่งเรือรบ 3 ลำ คือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช, เรือหลวงกระบุรี, เรือหลวงอ่างทอง และอากาศยานของกองทัพเรือ 2 ลำ เพื่อช่วยเหลือลูกเรือ[39] กองทัพอากาศในส่วนของกองทัพอากาศได้สนับสนุนอากาศยาน 1 ลำและเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำในการร่วมภารกิจช่วยเหลือของกองทัพเรือ[40] สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ส่งเฮลิคอปเตอร์จากกองบินตำรวจ ชุดกู้ภัยของกองบิน และกองร้อยกู้ชีพ กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ รวมถึงเรือตรวจการณ์ของตำรวจน้ำร่วมปฏิบัติภารกิจ[7] กองทัพเรือต่างประเทศมีกองทัพเรือมาเลเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาสาให้ความช่วยเหลือในการกู้ภัย แต่กองทัพเรือไทยยังไม่ตอบรับ[41][42] สันนิษฐานถึงแก่ความตายวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 พล.อ. สิทธิพร มุสิกะสิน รองปลัดกระทรวงกลาโหม ทำการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 254/2566 เรื่อง สันนิษฐานว่าข้าราชการ กห. ถึงแก่ความตายเพราะสูญหายในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 43 และคำสั่ง กห.(เฉพาะ ที่ 281/60 ลง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เรื่อง มอบอำนาจให้ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ ทำการแทน และสั่งการในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผนวก ก ข้อ 153 กับคำสั่ง สป.(เฉพาะ) ที่ 555/65 ลง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้รองปลัดกระทรวงกลาโหมและหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงปฏิบัติราชการ ผนวก ง ข้อ 2.10[43] ฉะนั้น จึงให้สันนิษฐานว่ากำลังพลกองทัพเรือ จำนวน 4 นาย ได้ถึงแก่ความตายเพราะสูญหาย ในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนี้[43]
ข้อวิจารณ์กองทัพเรือถูกวิจารณ์อย่างมากในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว เริ่มจากคำถามในการจัดซื้ออาวุธแบบใช้แล้วทิ้ง ขาดการบำรุงรักษา และละเลยชีวิตกำลังพล ส่วนการสื่อสารในภาวะวิกฤตก็ทำได้ไม่ดี จากคำกล่าว มีเสื้อชูชีพก็ไม่ได้หมายความว่าจะรอดชีวิต[44] ล่าสุด ปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย ชุดปฏิบัติการของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ สามารถนำป้ายเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมาจากทะเล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 บริเวณทะเลอ่าวไทย ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[45] ผลการสอบสวนกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปางเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567 กองทัพเรือ โดยพล.ร.อ.อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานการแถลงข่าว ผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง[33] เกิดความเสียหายกับตัวเรือจำนวน 4 จุด ประกอบกับคลื่นลมแรง ทำให้น้ำเข้าสู่ห้อง Gun bay ปืน 76/62 และห้องกระซับบเชือก ซึ่งเป็นห้องที่อยู่เหนือแนวน้ำ และเหนือจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity , CG) เป็นเหตุให้เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว จนเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา เมื่อเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา น้ำทะเลก็สามารถเข้าภายในตัวเรือได้ทางช่องทางระบายอากาศ จนเรือสูญเสียกำลังลอย และจมลงในที่สุด[33] โดยสรุปผลการสอบสวนว่าการอับปางไม่ได้เกิดจากความจงใจของ ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย และกำลังพลในเรือแต่เกิดจากสภาพอากาศมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้เรือเกิดภาวะผิดปกติ และเกิดจากน้ำทะเลเข้ามาในตัวเรือจากรูทะลุเป็นเหตุที่ทำให้เรือเอียง และอับปาง[33] อย่างไรก็ตามเห็นว่าผู้บังคับการเรือตัดสินใจผิดพลาด คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ เสนอกองทัพเรือให้ดำเนินการทางวินัยกับผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เต็มตามอำนาจการลงทัณฑ์ของผู้บัญชาการทหารเรือ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ลงทัณฑ์ “กัก” เป็นเวลา 15 วัน[33] ทั้งนี้ ไม่อาจสรุปได้ว่าสิ่งใดทำให้เรือเกิดความเสียหาย เนื่องจากตามรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ ไม่พบวัตถุตกอยู่บริเวณรอยแยก
ลำดับเหตุการณ์ตามรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ[33]
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ เรือหลวงสุโขทัย
|