Share to:

 

เสือฝ้าย

นายฝ้าย เพ็ชนะ
เกิดมีนาคม พ.ศ. 2431
บ้านท่าใหญ่ ตำบลเดิมบาง อำเภอ เดิมบางนาง​ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต25 เมษายน พ.ศ. 2490 (59 ปี)
บ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย
สัญชาติไทย
บิดามารดา
  • สว่าง เพ็ชนะ (บิดา)
  • ครี เพ็ชนะ (มารดา)

เสือฝ้าย มีชื่อจริงว่า นายฝ้าย เพ็ชนะ (มีนาคม พ.ศ. 2431 ;นับแบบใหม่, - 25 เมษายน พ.ศ. 2490) เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลางหลังยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับเสือดำ, เสือใบ, เสือหวัด และเสือมเหศวร ได้รับสมญาว่า "พ่อเสือ" บ้าง "จอมพลฝ้าย" บ้าง "ครูฝ้าย" บ้าง โดนจับกุม

ประวัติ

"เสือพีรพล" เกิดที่ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2431 (นับแบบใหม่) บิดาชื่อ นายสว่าง มารดาชื่อ นางครี นามสกุล เพ็ชนะ เป็นลูกชาวนา บุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ได้การรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่วงวัย 20 ต้นๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่สุพรรณบุรีปะทะกับกองทัพญี่ปุ่น จนได้รับฉายาว่า "จอมพลพี"[1] เคยบวชเรียนแล้วสึกออกมาเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านท่าใหญ่ หมู่ 7 ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลอันตรายต่อชุมชนและรัฐ ฐานกระทำความผิดร้ายแรงในข้อหาพาผู้ร้ายหลบหนี เพราะถูกใส่ร้าย โดยหลานเขย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำรวจ ต้องโทษทุกข์ทรมานแปดปีในสถานกักขัง ซึ่งมีสภาพทรุดโทรม จากความผิดที่ไม่ได้ก่อ เจ้าตัวจึงปวารณาไว้ว่า "เมื่อรัฐเล่นตลกกับข้า ข้าก็จะสร้างเสียงหัวเราะให้พวกมัน!"

ระหว่างที่เป็นเสือ

วิธีการปล้นของฝ้าย เจตจำนงนั้นผิดกับโจรทั่วไป กล่าวคือ เสือฝ้าย กับพรรคพวกมิได้ชิงทรัพย์เพื่อยังชีพ โดยประทังให้ปัจจัยสี่ไม่ขาดแคลน เสือฝ้าย จงใจเล่นงานบรรดาเศรษฐี ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะพวกแปดเปื้อนมลทิน กลิ่นคาวฉาวโฉ่ ประเภทฉ้อโกง ขูดรีด และอาศัยอำนาจในการทำให้ตัวเองร่ำรวย นี่คือเป้าหมายของ เสือฝ้าย ด้วยเหตุนี้ คนยากหรือผู้ขัดสนทรัพย์สินศฤงคาร จึงรอดพ้นเงื้อมมือเสือฝ้าย หนำซ้ำ ยังจะได้ ‘ทรัพย์’ อันเป็นผลพลอยได้อีกต่างหาก การกระทำของ เสือฝ้าย เช่นนี้เอง ชาวบ้านถิ่นสุพรรณต่างพร้อมใจเป็นปราการด่านแรก เพื่อป้องกันเสือฝ้าย อาทิ การบิดเบือนข้อมูลหรือให้การเท็จกับตำรวจ ให้ข้อมูลเสือฝ้ายเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของทางการ สำหรับชาวบ้านเสือฝ้าย เปรียบเหมือนเป็นญาติในครอบครัวเดียวกัน

กลุ่มเสือฝ้ายเป็นชุมโจรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โจรเมืองไทย เพราะมีสมุนโจรรวมกันไม่ต่ำกว่า 100 ถึง 200 คน เทียบกับชุมโจรอื่นในยุคนั้นจะมีโจรเพียง 10 กว่าคนเท่านั้น ชุมโจรเสือฝ้ายตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์สมัยนั้นอยู่บ่อยครั้ง

มรณกรรม

ภายหลังเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2490 เสือฝ้ายได้ช่วยเหลือทางการในการปราบปรามชุมโจรอื่น ๆ และถูกหลอกว่าให้ไปรับความดีความชอบที่ กรุงเทพฯ และพาไป อ่างทอง เพื่อหลบอิทธิพลของเสือฝ้ายและเสือฝ้ายได้ถูกนายร้อยตำรวจเอกยอดยิ่ง สุวรรณาคร ควบคุมตัวกระทำวิสามัญฆาตกรรมที่บ้านบางกะโพ้น ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เสือฝ้าย10 ทิศ ผู้เขียนมาลัย ชูพินิจ

  • ในภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าทะลายโจร บทของเสือฝ้ายนำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี[2][3]
  • ในภาพยนตร์เรื่อง ขุนพันธ์ 2 บทของเสือฝ้ายนำแสดงโดย วันชนะ สวัสดี[4]
  • ในละครเรื่อง ตะกรุดโทน บทของเสือฝ้ายนำแสดงโดย ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง
  • ในภาพยนตร์ ขุนพันธ์ 3 เสือฝ้ายกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของวิญญาณที่ขุนพันธ์เรียกออกมาพร้อมกับ อัลฮาวียะลู จอมโจรขมังเวทย์ ที่ถูกสังหารไปในภาคก่อนหน้า โดยวิญญาณของเสือฝ้ายมีความสามารถในการใช้คาถาตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ได้ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนที่ของศัตรูหยุดนิ่ง พร้อมกับปล่อยคลึ่นที่เป็นเสมือนกำแพงสะท้อนกลับพลังไปหากองทัพศัตรู

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ชาวสุพรรณบุรี ณาฒ สหัชชะ จากเสรีชัย
  2. สามเสือสุพรรณ ดรีมทีมตำนานเสือ
  3. ฟ้าทะเลายโจร จากพันทิปดอตคอม
  4. ขุนพันธ์ 2 เปิดกล้อง! อนันดา เป้ ผู้พันเบิร์ด พร้อมแล้วกับการตามล่าครั้งใหม่. THE STANDARD. 19 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
Kembali kehalaman sebelumnya