แอดัม เลอวีน
แอดัม เลอวีน ในปี 2014
เกิด แอดัม โนอาห์ เลอวีน (1979-03-18 ) มีนาคม 18, 1979 (45 ปี) ลอสแอนเจลิส , แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกาอาชีพ
นักร้อง
นักแต่งเพลง
นักดนตรีหลายชิ้น
นักแสดง
พิธีกร
ปีปฏิบัติงาน 1994–ปัจจุบัน คู่สมรส เบฮาตี ปรินส์ลัว (สมรส 2014 )บุตร 2 ญาติ ทิโมธี โนอาห์ (ลุง)อาชีพทางดนตรี แนวเพลง เครื่องดนตรี
ร้องนำ
กีตาร์
เบส
เปียโน
กลองชุด
กีตาร์เบส
ค่ายเพลง เว็บไซต์ www .maroon5 .com
นักดนตรี
แอดัม โนอาห์ เลอวีน (อังกฤษ : Adam Noah Levine ; เกิด 18 มีนาคม ค.ศ. 1979) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี และนักแสดงชาวอเมริกัน[ 4] รู้จักกันในฐานะนักร้องนำของวงดนตรีป็อปร็อกจากลอสแอนเจลิส มารูนไฟฟ์
แอดัม เกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย เลอวีนริเริ่มอาชีพทางดนตรีในปี ค.ศ. 1994 หลังจากเขาร่วมตั้งวงดนตรีแนวอัลเทอร์นาทีฟร็อกในชื่อ คาราส์ฟลาวเออส์ เขาร้องนำและเป็นนักกีตาร์ หลังจากออกอัลบั้มแรกและอัลบั้มเดียวในชื่อ เดอะโฟร์ธเวิลด์ และไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เขาต้องยุบวง หลังจากนั้น เขารวมตัวกันอีกครั้งและได้สมาชิกคนที่ห้าเข้าร่วมวงและตั้งวงดนตรีชื่อ มารูนไฟฟ์ วงปล่อยอัลบั้มแรก ซองส์อะเบาต์เจน ที่ได้รางวัลรับรองระดับแพลตินัมในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น เขาออกอัลบั้มอีก 4 อัลบั้ม คือ อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง (ค.ศ. 2007) แฮนส์ออลโอเวอร์ (ค.ศ. 2010) โอเวอร์เอกซ์โพสด์ (ค.ศ. 2012) และ ไฟฟ์ (ค.ศ. 2014) ในนามมารูนไฟฟ์ เขาได้รับรางวัลแกรมมี 3 สาขา รางวัลจากบิลบอร์ด มิวสิกอะวอร์ด 2 สาขา รางวัลจากอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 2 สาขา รางวัลจากเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอร์ด และเวิลด์มิวสิกอะวอดส์
ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 เลอวีนรับหน้าที่เป็นโคชในรายการเรียลลิตีโชว์ เดอะวอยซ์ ทางช่องเอ็นบีซี มีผู้ชนะจากรายการในฤดูกาลที่หนึ่ง ห้า และเก้า ฮาเวียร์ โคลอน เทสแซน ชิน และจอร์แดน สมิธ มาจากทีมของเลอวีน ในปี ค.ศ. 2012 เขาแสดงเป็นตัวละครรองในละครแนวสยองขวัญ อเมริกันฮอร์เรอร์สตอรี: อะไซลัม ฤดูกาลที่สอง เขายังปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง เพราะรัก คือเพลงรัก (Begin Again) ด้วย
ในปี ค.ศ. 2013 เลอวีนยังลงทุนทำธุรกิจน้ำหอมโดยตั้งชื่อน้ำหอมที่เป็นชื่อเดียวกับเขา ในปีเดียวกันนั้น เขาร่วมมือกับเคมาร์ต และเว็บไซต์ ShopYourWay.com ผลิตคอลเลกชันเสื้อผ้าผู้ชาย เขายังเป็นเจ้าของค่ายเพลง 222 เรเคิดส์ ในปี ค.ศ. 2013 เดอะฮอลลีวูดรีพอร์เตอร์ รายงานว่า "แหล่งข่าวแหล่งหนึ่งที่สัมพันธ์กับหลายธุรกิจของเลอวีน" ประมาณว่าเลอวีนมีรายได้มากกว่า 35 ล้านดอลลาร์ในปีนั้นเอง[ 5]
ชีวิตช่วงแรก
แอดัม โนอาห์ เลอวีน[ 6] เกิดวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1979[ 7] ที่ลอสแอนเจลิส เป็นบุตรของเฟรด เลอวีน ผู้ก่อตั้งบริษัทค้าปลีก เอ็ม.เฟรดริก และแพตซี (นามสกุลเก่า โนอาห์) ที่ปรึกษาเรื่องการเข้าเรียน[ 5] [ 8] เขามีลุงสองคน คือทิโมที โนอาห์ นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน และปีเตอร์ โนอาห์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และนักเขียน[ 9] [ 10] เขายังเป็นหลานของนักเศรษฐศาสตร์ จอร์แดน เลอวีน[ 11] มีน้องชายสองคน คือ ไมเคิล และแซม[ 12] พ่อแม่ของเลอวีนหย่าร้างกันเมื่อเขาอายุ 7 ขวบ เขาอยู่กับแม่ในวันธรรมดา และอยู่กับพ่อในวันหยุดสุดสัปดาห์[ 13] เขาเคยเข้ารับการบำบัดหลังพ่อแม่หย่าร้างกัน เขาเรียกช่วงนั้นว่า "เสียเวลา" โดยอธิบายว่า พ่อแม่ของเขาไม่อาจ "ยอมรับความจริงว่าผมอาจรับมันได้สักวัน ผมร้องไห้หนักมาก เตะถีบ และตะโกน แล้วพูดว่า ทำไม และพูดทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณอยากพูดเมื่อคุณรู้เช่นนั้นแล้ว สองสามวันต่อมาผมดีขึ้น แต่ผมยังต้องไปบำบัดอยู่"[ 14]
เลอวีนมองครอบครัวของตนว่า "รักดนตรีมาก"[ 15] และให้เครดิตแม่ของเขาวา "ทำให้ผมเริ่มมาเส้นทางสายนี้"[ 16] เขายกให้บุคคลที่แม่ยกเป็นตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ฟลีตวูดแม็ก และเดอะบีเทิลส์ เป็นผู้กำหนดรูปแบบแนวดนตรีของเขา เขาเรียกดนตรีกลุ่มนั้นว่าเป็น "ส่วนสำคัญในช่วงเติบโตของเขา"[ 13] เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนเบรนต์วูด และพบกับเจสซี คาร์ไมเคิล และมิกกี แมดเดน ซึ่งต่อมาเป็นเพื่อนร่วมวงดนตรีของเขา เขานำความสนใจด้านดนตรีไปใช้ที่โรงเรียนไฮสกูล เขากล่าวว่า เขา "หัวรั้นเล็กน้อย ผมไม่อยากทำสิ่งที่เขาสอนผม [ดนตรี] กลืนกินทุกความคิดของผมเลย"[ 15]
เลอวีนเคยใช้ยาหลอนประสาทในช่วงวัยรุ่น ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารคิว เขากล่าวว่า การใช้เห็ดหลอนประสาท "บีบให้ผมมองตนเองอย่างจริงจัง" แต่เสริมว่าเขาไม่เคยเสพยามาก่อน[ 17] [ 18] ในรายการจิมมีคิมเมลไลฟ์! เขากล่าวว่า เขาหยุดใช้ยาจากใบสั่งยาหลังเขาลองใช้ยาแอมเบียน แล้วทำให้เขาหมดสติเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง[ 19]
พ่อและตาของเลอวีนเป็นชาวยิว[ 13] ขณะที่ยายของเขานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ [ 20] เลอวีนนับว่าตนเองเป็นชาวยิว [ 21] แม้ว่าในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะจูอิชโครนิเคิล เขา"ปฏิเสธกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นพิธีรีตอง เพื่อชีวิตคนนับถือศาสนาธรรมดาทั่วไป" เขาเลือกที่จะไม่เข้าพิธีบาร์มิตซวาห์ เมื่อครั้งเป็นเด็ก โดยอธิบายว่า "ผมรู้สึกราวกับว่าเด็กหลายคนพยายามหาเงินกับสิ่งนี้.... ผมแค่ไม่คิดว่ามันเป็นวิธีที่น่านับถือที่สุดที่ควรกระทำต่อพระเจ้า ต่อความเชื่อ และต่อมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมานานหลายปี"[ 13]
คาราส์ฟลาวเออส์
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1995 เลอวีน ร่วมกับมิกกี แมดเดน เจสซี คาร์ไมเคิล และไรอัน ดูซิก นักเรียนโรงเรียนเบรนต์วูด ก่อตั้งวงดนตรีแนวการาจชื่อ คาราส์ฟลาวเออส์[ 22] วงแสดงครั้งแรกที่ไนต์คลับชื่อวิสกีอะโกโก ในเวสต์ฮอลลิวูด แคลิฟอร์เนีย โดยเลอวีนร้องนำและเล่นกีตาร์ด้วย[ 23] ใน ค.ศ. 1997 โปรดิวเซอร์เพลงอิสระ ทอมมี อัลเลน มาพบวงนี้ขณะที่พวกเขากำลังแสดงที่งานสังสรรค์ชายหาดที่แมลิบู อัลเลนและเพื่อนชื่อ จอห์น เดอนิโคลา ให้วงอัดเสียง 11 เพลงลงในอัลบั้ม[ 23] เนื่องจากมีงานแสดงหลายแห่งในลอสแอนเจลิส พวกเขาจึงได้เซ็นสัญญากับรีพรีสเรเคิดส์ ผ่านโปรดิวเซอร์เพลง ร็อบ คาวาโย [ 24] ใน ค.ศ. 1997 คาราส์ฟลาวเออส์ออกอัลบั้มแรกชื่อ เดอะโฟร์ธเวิลด์ [ 25] ในปีเดียวกันนั้น วงปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่อง เบเวอร์ลีฮิลส์ 90210 หนึ่งตอน[ 5] หลังจากพวกเขาจบการศึกษา พวกเขาทัวร์คอนเสิร์ตส่งเสริมการเปิดตัวของพวกเขา แม้ว่าจะคาดหวังไว้สูง[ 23] แต่อัลบั้มแทบจะไม่ประสบความสำเร็จ ขายได้ประมาณ 5,000 ชุด[ 26] และซิงเกิล "โซปดิสโก" ก็ล้มเหลวด้านยอดขาย สุดท้ายแล้ว คาวาโยลาออกจากสังกัด[ 23] รีพรีสยกเลิกสัญญากับวง[ 27] และเนื่องจากรู้สึกผิดหวังกับผลตอบรับ ทำให้วงแยกทางกัน[ 28] [ 29] หลังจากนั้น เลอวีนพูดถึงประสบการณ์ครั้งนั้นว่า "คาราส์ฟลาวเออส์แค่ลอยไต่ขึ้นกำแพง แต่ติดใต้กิ่งไม้ ทำเพลงได้เร็ว ปล่อยออกไป โดยไม่คิดถึงทัวร์คอนเสิร์ต ไม่คิดอะไรเลย แค่พยายามทำให้เกิดตั้งแต่เริ่ม แต่มันไม่ได้ผลเลย"[ 30]
มารูนไฟฟ์และความสำเร็จ
หลังจากคาราส์ฟลาวเออส์ยุบวงลง เลอวีนและคาร์ไมเคิลออกจากลอสแอนเจลิส เพื่อไปศึกษาต่อที่นิวยอร์ก [ 23] เขากล่าวกับเอ็มทีวีนิวส์ในปี ค.ศ. 2002 ว่า "นั่นเป็นตอนที่ผมเริ่มตื่นขึ้นมาเจอกับฮิปฮอป อาร์แอนด์บี พวกเรามีเพื่อนชื่อ ความวุ่นวาย (Chaos) และความหลอกลวง (Shit) มันไม่ใช่ โรงเรียนเบรนต์วูดไฮ"[ 31] เขาและเจสซี คาร์ไมเคิล เรียนที่วิทยาลัยไฟฟ์ทาวส์คอลเลจ ที่ดิกซ์ฮิลส์ เกาะลอง นิวยอร์ก หนึ่งภาคเรียน[ 32] หลังจากพักเรียนที่นั้น เขากลับมารวมตัวกับมิกกี แมดเดน และไรอัน ดูซิก เพื่อก่อตั้งวงอีกครั้งหนึ่ง[ 33] พวกเขาทดลองดนตรีหลายแนว เช่น คันทรี และเพลงพื้นเมือง ก่อนตัดสินใจเลือกดนตรีกรูฟเป็นแนวเพลงประจำวง[ 34] เลอวีนอธิบายความต้องการในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า "เราเบื่อกับการเป็นวงดนตรีร็อกแอนด์โรลธรรมดา ๆ ผมรู้สึกว่าผมอยากมองหาแรงบันดาลใจในการร้องเพลงจากที่อื่นบ้าง"[ 23] วงนำเดโมที่เคยถูกปฏิเสธจากหลายสังกัดมารวมกัน ก่อนตกไปอยู่ที่มือของผู้บริหารสังกัดอ็อกโทนเรเคิดส์ เจมส์ ไดเนอร์ เบน เบิร์กแมน และเดวิด บ็อกเซนบอม[ 29] ด้วยคำแนะนำของเบิร์กแมน วงได้เพิ่มสมาชิกคนที่ห้า เจมส์ วาเลนไทน์ และเปลี่ยนชื่อวงเป็น มารูนไฟฟ์ ในบทสัมภาษณ์กับฮิตควอเตอส์ เบิร์กแมนอธิบายว่า เลอวีน "ดูเป็นคนขี้อาย แบบชูเกซซิง... สมาชิกคนที่ห้าจะได้เล่นกีตาร์และทำให้นักร้อง [เลอวีน] เป็นอิสระขึ้น เขาจะได้เป็นดาราอย่างที่ผมรับรู้ว่าเขาเป็น"[ 26]
ในช่วงเวลานี้ เลอวีนได้ทำงานเป็นผู้ช่วยเขียนบทให้กับละครโทรทัศน์ช่องซีบีเอส จัดจิงเอมี โดยมีโปรดิวเซอร์ บาร์บารา ฮอลล์ เป็นเพื่อนครอบครัวเดียวกับเขา[ 5] ขณะทำงานให้ละคร เขาแต่งเพลงหลายเพลงเกี่ยวกับคนรักเก่าชื่อเจน เพลงทั้งหมดนี้ถูกนำมาใส่ในอัลบั้มแรกของมารูนไฟฟ์ ซองส์อะเบาต์เจน วางจำหน่ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002 อัลบั้มได้รับแอร์เพลย์อย่างช้า ๆ และกลายเป็นสลีปเปอร์ฮิต ขายได้ประมาณ 10 ล้านชุด[ 35] และเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดเป็นอันดับที่สิบในปี ค.ศ. 2004 ในเวลาสองปีหลังจำหน่าย[ 36] ในปี ค.ศ. 2005 มารูนไฟฟ์ได้รับรางวัลแกรมมี รางวัลแรก สาขาศิลปินใหม่ยอดเยี่ยม[ 37] ในปีต่อมา พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมีสาขาแสดงเพลงป็อปยอดเยี่ยมโดยศิลปินคู่หรือกลุ่มที่มีนักร้อง จากซิงเกิลที่สอง "ดิสเลิฟ " จากอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน [ 38]
เลอวีนแสดงร่วมกับมารูนไฟฟ์ในปี ค.ศ. 2007
วงเริ่มอัดเพลงอีกครั้งก่อน ค.ศ. 2006 และอัลบั้มที่สองของมารูนไฟฟ์ อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง วางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 เลอวีนพูดถึงอัลบั้มว่า "เป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่" อธิบายว่า "ผมคิดว่าอัลบั้มนี้ดูเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และเนื้อเพลงฟังดูมีพลัง"[ 39] วงแสดงดนตรีใน "ทัวร์คลับหกวัน" เพื่อสนับสนุนอัลบั้มที่เวทีเล็ก ๆ ในบอสตัน ซานฟรานซิสโก ลอสแอนเจลิส มินนีแอโพลิส ไมแอมี และนครนิวยอร์ก ในต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007[ 40] อัลบั้มและซิงเกิลสามซิงเกิลแรก ("เมกส์มีวันเดอร์ " "โวนต์โกโฮมวิทเอาต์ยู " "อิฟไอเนเวอร์ซียัวร์เฟซอะเกน ") ได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี แต่มีเพียงเพลง "เมกส์มีวันเดอร์" ที่ได้รับรางวัล[ 41] [ 42]
หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง จบลง วงเริ่มอัดเสียงที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2009 ร่วมมือโดยโปรดิวเซอร์เพลงและนักแต่งเพลง โรเบิร์ต จอห์น "มัตต์" เลนจ์ เลอวีนกล่าวว่าเลนจ์ "ใช้งานผมหนักกว่าคนอื่น ๆ"[ 43] ใน ค.ศ. 2010 มารูนไฟฟ์ออกสตูดิโออัลบั้มที่สาม แฮนส์ออลโอเวอร์ อัลบั้มไม่เป็นไปตามความคาดหวังแต่แรก ในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลิสไทมส์ เลอวีนอธิบายว่าอัลบั้มแย่ในเรื่อง "แนวคิดที่แยกกันและเพลงหลายเพลงที่ไม่สมเหตุสมผลเมื่อรวมอยู่ด้วยกัน"[ 44] หลังความสำเร็จปานกลางจากซิงเกิลสามซิงเกิลแรก วงออกเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์ " ซึ่งเลอวีนจัดให้เป็น "หนึ่งในเพลงที่เป็นความเสี่ยง เป็นการกระทำที่กล้ามาก"[ 45] ซิงเกิลประสบความสำเร็จทั่วโลก และเป็นซิงเกิลดิจิทัลที่ขายได้ดีที่สุดอันดับที่เก้าในปี ค.ศ. 2011 ด้วยยอดขาย 8.5 ล้านชุด และเป็นซิงเกิลดิจิทัลที่ขายดีที่สุดอันดับที่แปดตลอดกาล นับถึงปี ค.ศ. 2012 เลอวีนให้เครดิตเพลงนี้ในภายหลังว่า "ทำให้วงกลับคืนชีพอย่างแท้จริง"[ 44]
แอดัม เลอวีน แสดงในคืนเปิดงานฮอนดาซีวิกทัวร์ 2013
เนื่องจากเพลง "มูฟส์ไลก์แจกเกอร์" เป็นเพลงแรกที่มารูนไฟฟ์ได้ร่วมงานกับนักแต่งเพลงภายนอก พวกเขาจึงตัดสินใจพยายามอีกครั้งในอัลบั้มถัดมา โอเวอร์เอกซ์โพสด์ [ 46] ชื่ออัลบั้มว่ากันว่าพูดถึงความนิยมในตัวแอดัมที่มีอยู่ทั่วไป ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารโรลลิงสโตน เขาให้ความเห็นว่า อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ชวนเต้นมากที่สุด และว่า "มันมีทำนองดิสโก้สมัยเก่า ผมทั้งชอบและไม่ชอบอัลบั้มนี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วผมชอบมากกว่า"[ 47] อัลบั้มและซิงเกิลนำ "เพย์โฟน " ทำให้มารูนไฟฟ์ได้เข้าชิงรางวัลแกรมมีสาขาร้องนำป็อปยอดเยี่ยม และศิลปินคู่หรือกลุ่มป็อปยอดเยี่ยม[ 42] มารูนไฟฟ์ออกทัวร์โอเวอร์เอกซ์โพสด์ทัวร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012-2013 เพื่อสนับสนุนอัลบั้ม (ทัวร์ทวีปยุโรปเลื่อนไปเป็นปี ค.ศ. 2014 เนื่องจากตารางเวลาชนกัน)[ 48] และได้ทัวร์ฮอนดาซีวิกประจำปีครั้งที่ 12 ร่วมกับผู้ประกวดรายการเดอะวอยซ์ โทนี ลักกา[ 49]
ตลอดปี ค.ศ. 2014 มารูนไฟฟ์ได้ร่วมงานกับไรอัน เท็ดเดอร์ แมกซ์ มาร์ติน และคนอื่น ๆ เพื่อออกสตูดิโออัลบั้มที่ห้า ไฟฟ์ (V) เลอวีนตระหนักว่าพวกเขาใช้กระบวนการแต่งเพลงแบบเดียวกันกับอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ กล่าวว่า "เราพัฒนาระบบที่ดีเยี่ยมจริง ๆ กับอัลบั้มนี้ เราพบเพลงหลายเพลงที่เราหลงใหล พัฒนามัน และทำเพลงเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ... ครั้งนี้เราจะให้เพลงเป็นแบบนี้ไป แต่ก็มองหาเพลงแนวอื่น ๆ ด้วย"[ 50] อัลบั้มออกซิงเกิลห้าซิงเกิล มารูนไฟฟ์ทัวร์คอนเสิร์ตมารูนไฟฟ์เวิลด์ทัวร์ 2015 เริ่มแสดงที่แดลลัส ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015[ 51]
ใน ค.ศ. 2007 เลอวีนกล่าวว่า เขาเชื่อว่ามารูนไฟฟ์มาถึงจุดสูงสุดและอาจออกอีกหนึ่งอัลบั้มก่อนยุบวง[ 52] มีคำกล่าวของแอดัมที่ว่า "สุดท้ายแล้วผมก็อยากให้ความสำคัญกับการเป็นคนอีกคนที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เพราะผมไม่รู้ว่าผมจะทำเพลงไปถึงอายุ 40-50 ปี หรือมากกว่านั้นได้หรือไม่" แต่ใน ค.ศ. 2010 เขาแก้ข่าวลือเกี่ยวกับการยุบวงว่า "ผมรักสิ่งที่ผมทำและคิดว่า ใช่ มันอาจจะเหนื่อยและยุ่งยากอยู่บ้าง [แต่] เรายังไม่มีแผนที่จะยุบวงในเร็ว ๆ นี้แน่"[ 53] เขายังปฏิเสธการเป็นนักร้องเดี่ยวว่า "จะไม่มีงานเพลงเดี่ยวเด็ดขาด หากต้องเป็นเช่นนั้น ผมขอมีวงใหม่ดีกว่า"[ 54]
ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 เลอวีนได้รับดาวประดับที่ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม จากความมีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมดนตรี[ 55]
งานอื่น ๆ
การร่วมงานดนตรี
เลอวีน (ขวา) กับเพื่อนร่วมวง เจสซี คาร์ไมเคิล ในปี ค.ศ. 2007
เลอวีนได้ร่วมงานกับศิลปินจำนวนมาก ใน ค.ศ. 2005 เขาร้องรับเชิญในเพลง "ลิฟอะเกน" ของคู่ฮิปฮอป ยิงยางทวินส์ [ 56] ในปีเดียวกันนั้น เขาปรากฏในอัลบั้ม เลตรีจิสเตรชัน ของคานเย เวสต์ ในซิงเกิลที่สาม "เฮิร์ดเอ็มเซย์ "[ 57] เป็นการร่วมมือที่เลอวีนเรียกว่า "บริสุทธ์และเรียบง่ายมาก" เพลงแต่งขึ้นขณะเขาและเวสต์นั่งเครื่องบินเที่ยวบินเดียวกัน[ 58] และท่อนรีเฟรนถูกนำมาใส่ในเพลง "นัททิงลาสส์ฟอร์เอเวอร์" ของมารูนไฟฟ์ ในอัลบั้ม อิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง เขาปรากฏในอัลบั้มอลิเชีย คีส์: เอ็มทีวีอันพลักด์ ของอลิเชีย คีส์ ในเพลงคัฟเวอร์ "ไวลด์ฮอร์สซิส "[ 59] ของเดอะโรลลิงสโตนส์ ในคราวเดียวกัน เขารับเชิญในเพลง "แบงแบง" ของนักร้องค่ายอ็อกโทน เคนาน ใน ค.ศ. 2009 เขาอัดเพลง "ก็อตเทน" ให้สแลช ในอัลบั้มเดี่วอัลบั้มแรกชื่อ สแลช (2010)[ 60] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เขาเป็นหนึ่งในนักดนตรีอีกประมาณ 80 คน ร้องเพลงเพื่อการกุศล "วีอาร์เดอะเวิลด์ " ที่นำมาทำใหม่ในชื่อ "วีอาร์เดอะเวิลด์ 25 ฟอร์เฮติ "[ 61] ใน ค.ศ. 2011 เขาปรากฏในเพลง "สเตริโอฮาตส์" ของจิม คลาส ฮีโรส์ เขายังร่วมงานกับนักร้องฮิปฮอป 50 เซ็นต์ ในเพลง "มายไลฟ์ " อัดก่อนออกเป็นซิงเกิลสองปีใน ค.ศ. 2012 รวมแร็ปเปอร์เอ็มมิเน็ม ด้วย[ 62] เขายังเป็นนักร้องให้เพลง "ชีวิลบีเลิฟด์ " ในเกมดนตรี แบนด์ฮีโร [ 63] ใน ค.ศ. 2015 เขาร้องรับเชิญให้คู่นักร้อง อาร์ซิตี ในซิงเกิล "ล็อกต์อะเวย์"
โทรทัศน์และสื่อ
เลอวีนแสดงตลกในโทรทัศน์อย่างเด่น ๆ สี่ครั้ง ในปี ค.ศ. 2007 เขาปรากฏในละครสั้นเอสเอ็นแอลดิจิทัลชอร์ต เรื่อง ไอแรนโซฟาร์ ในตอนแรกของฤดูกาลที่ 33 ของรายการแซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ โดยแสดงร่วมดับแอนดี แซมเบิร์ก เฟรด อาร์มิเซน และเจค จิลเลนฮาล เลอวีนรับบทเป็นตนเองขณะร้องท่อนบริดจ์ ของ "เพลงรัก" เพลงหนึ่งให้กับมะห์มูด อะห์มะดีเนจาด [ 64] ในปี ค.ศ. 2008 เขาแสดงในรายการ "ไนต์ออฟทูเมนีสตาส์" ทางช่องคอเมดีเซนทรัล เขายังปรากฏสั้น ๆ ในรายการจิมมีคิมเมลไลฟ์ และสนับสนุนบารัก โอบามา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2008 ในปี ค.ศ. 2013 เขาเป็นพิธีกรรายการแซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ และแสดงเพลง "โยโล " (YOLO) ของดิโลนลีไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นอักษรย่อ จากประโยค You Only Live Once ร่วมกับเคนดริก ลามาร์ [ 65] การเป็นพิธีกรครั้งนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์ที่มองว่า "ธรรมดา" (mediocre)[ 66] และ "แย่กว่าปกติ" (subpar)[ 67]
"ผมรู้สึกตลอดว่าโลกเข้าใจผมผิด ผมรู้สึกว่าผู้คนรู้จักผมในนามนักร้องที่คบหาผู้หญิงสวย ๆ พวกสวยแต่ไม่ฉลาด บางทีผมก็เป็นพวกที่ไม่ฉลาดเช่นกัน ผมเป็นคนรักเสียงเพลงที่เปลือยกายตลอดเวลาที่อยู่กับผู้หญิง แต่ผมรับได้และไม่มีปัญหากับมัน แต่ผมอยากสร้างความสมดุลเล็กน้อย เมื่อมีการแสดงมาถึง ผมคิดว่า 'คนจะรู้ได้แล้วว่าผมก็มีสมอง'"
—เลอวีนกล่าวถึงความหวังที่ให้เดอะวอยซ์ เปลี่ยนภาพลักษณ์ทางสาธารณะของเขา[ 12]
เลอวีนได้เป็นโค้ชหรือผู้ตัดสินรายการโทรทัศน์ เดอะวอยซ์ ตั้งแต่เริ่มฤดูกาลแรกในปี ค.ศ. 2011[ 68] ผู้ชนะในฤดูกาลแรก ฮาเวียร์ โคลอน อยู่ในทีมของเขา เช่นเดียวกันผู้ชนะในฤดูกาลที่ห้า เทสแซน ชิน [ 69] และฤดูกาลที่เก้า จอร์แดน สมิธ เดอะวอยซ์คืนชื่อเสียงให้มารูนไฟฟ์ที่งานกำลัง "สะดุด" อยู่ในขณะนั้น หลังจากยอดขายอัลบั้มแฮนส์ออลโอเวอร์ ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่นเดียวกับความนิยมในตัวเลอวีนที่เพิ่มขึ้นด้วย จากงานวิจัยตลาดอีโพลล์ การรู้จักแอดัมเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตั้งแต่เขาร่วมรายการ เขายังถูกมองว่าเป็นดารา "มาแรง" ของรายการด้วย โดยแฮชแท็ก #TeamAdam และ @AdamLevine มีการกล่าวถึงในทวิตเตอร์ 203,000 ครั้งและ 2.14 ล้านครั้งในฤดูกาลที่สาม สูงกว่าโค้ชคนอื่น ๆ ในปี ค.ศ. 2013 เดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ ประมาณว่าเลอวีนได้รับค่าจ้างในรายการเดอะวอยซ์ 10-12 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อฤดูกาล[ 5]
ในปี ค.ศ. 2012 เลอวีนแสดงเป็นตัวละครรองในละครรวมเรื่องสั้นเรื่องอเมริกันฮอร์เรอร์: อะไซลัม ฤดูกาลที่สอง[ 70] เขารับบทเป็นลีโอ มอร์ริสัน ช่างภาพที่เพิ่งแต่งงานที่มาเที่ยวที่ไบรอาร์คลิฟฟ์แมเนอร์ โรงพยาบาลบ้าแห่งหนึ่ง ขณะฮันนีมูนกับภรรยาชื่อ เทเรซา รับบทโดยเจนนา ดีวาน เททัม ฉากหลายฉากถ่ายทำในช่วงตารางเวลาทัวร์ฤดูร้อน ในบทสัมภาษณ์กับช่องอี! เขาพูดถึงบทนี้ว่า "มันฟังดูสนุกมากและมันทำให้ผมอยากเล่น มันอาจฟังดูประสาท ตลก มืดมน และเจ๋ง และตรงกับรสนิยมของผม"[ 71] [ 72] อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าโดยปกติ เขาไม่ได้เป็นแฟนละครดังกล่าวหรือละครแนวสยองขวัญ และกล่าวว่าเขาไม่ได้ชมละครดังกล่าวสักตอนเพราะ "มันแปลกและกวนประสาท"[ 73]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 เลอวีนได้รับคัดเลือกแสดงในภาพยนตร์โรแมนติกดรามาเรื่อง เพราะรัก คือเพลงรัก (Begin Again) ภาพยนตร์กำกับโดยจอห์น คาร์นีย์ และเคียรา ไนต์ลีย์ และมาร์ก รัฟฟาโล เล่นเป็นตัวเอก ในภาพยนตร์ เลอวีนรับบทเป็นเดฟ โคล เพื่อนนักแต่งเพลงของไนต์ลีย์และแฟนเก่าที่คบกันมาห้าปี ซึ่งเขาทิ้งเธอไปหาความสำเร็จในงานดนตรี[ 74] [ 75] [ 76] ภาพยนตร์ฉายรอบแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2013 เป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์[ 77]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 นิตยสารพีเพิล ตั้งชื่อเลอวีนเป็นผู้ชายที่เซ็กซี่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ กลายเป็นนักร้องคนแรก และเป็นคนที่สองที่ไม่ใช่นักแสดง (ถัดจากจอห์น เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ ) ที่ได้ชื่อนี้[ 78] เขาติดอันดับที่ 41 ในรายชื่อ "ผู้ชายที่เซ็กซี่ที่สุดในปี ค.ศ. 2012"[ 79] ของนิตยสารแกลเมอร์ ในปี ค.ศ. 2008 เขาอยู่ในรายชื่อ "ชายโสดและเซ็กซี่" ของนิตยสารพีเพิล ด้วย[ 80] เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการหรือพิธีกรรายการเรียลิตีชายที่น่าหลงใหลที่สุดในแบบสำรวจจัดโดยเว็บไซต์แซปทูอิต [ 81] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 ชาลอมไลฟ์จัดแอดัมอยู่อันดับที่ 7 ในรายขื่อ "ชายชาวยิว 50 คน ที่เร่าร้อนที่สุดในโลก"[ 82] เลอวีนเปลือยกายในกลางนิตยสารคอสโมโพลิตัน สหราชอาณาจักร ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เพื่อตระหนักถึงเกี่ยวกับโรคมะเร็งอัณฑะ [ 83]
ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2017 มีการยืนยันว่าแอดัม เลอวีนจะจัดรายการกีฬากอล์ฟออนไลน์สำหรับคนดังชื่อ ทีอิงออฟวิทแอดัม เลอวีน หุ้นส่วนกับท็อปกอล์ฟ [ 84]
ในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2018 เลอวีนกับบริษัท 222 โพรดักชันส์ ผลิตรายการเรียลลิตีชุดชื่อ ชูการ์ ได้แรงบันดาลใจจากเพลงของมารูนไฟฟ์ ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ทางยูทูบพรีเมียม รายการจ้างศิลปินให้มาร่วมงานที่แฟนคลับจัดอย่างไม่มีผู้ใดคาดคิด ศิลปินที่เคยมาปรากฏได้แก่ เอเอสเอพีเฟิร์ก แบดบันนี สนูป ด็อกก์ และชาร์ลี พูท [ 85]
การทำธุรกิจ
เลอวีนกำลังเล่นกีตาร์รุ่น เฟิสต์แอ็กต์ 222 กีตาร์ ที่เขาช่วยออกแบบ
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เลอวีนร่วมกับเฟิสต์แอ็กต์ ออกแบบกีตาร์รุ่น เฟิสต์แอ็กต์ 222 กีตาร์ ซึ่งออกแบบตามความต้องการของเขา กีตาร์มีจำหน่ายในร้านค้าปลีก ทาร์เก็ต [ 86] สองปีต่อมา เขาออกสินค้าแฟชันในชื่อสินค้า "222" ที่งานโปรเจกต์เทรดโชว์ ในลาสเวกัส เป็นคอลเล็กชันของสินค้าขนาดเล็กจำพวกยีนส์ เสื้อยืด และเสื้อแจ็กเก็ตหนัง รูปแบบที่เขาเรียกว่า "เรียบง่าย บริสุทธิ์ และทนทาน" งานธุรกิจดังกล่าวจัดขึ้นร่วมกับพ่อของเขา เฟรด เลอวีน (ซึ่งดำเนินธุรกิจบูติก) กับลูกพี่ลูกน้อง แซมี คูเปอร์[ 87] [ 88]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 เลอวีนเข้าโครงการรณรงค์เพื่อให้ตระหนักถึงโรคซนสมาธิสั้น โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า "โอนอิต" สร้างโดยบริษัทไชร์ และจัดการด้วยความร่วมมือกับสมาคมโรคสมาธิสั้น และโรคสมาธิสั้นในเด็กและผู้ใหญ้ โครงการมีเป้าหมายที่คนที่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยเน้นถึงวิธีการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เลอวีนเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่น กล่าวว่า "โครงการนี้สำคัญกับผมเพราะมันทำให้คนวัยหนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ตระหนักว่ามีโอกาสว่าพวกเขาจะยังเป็นโรคนี้ได้อยู่ถ้าเขาเคยเป็นตอนเด็ก ๆ"[ 89] [ 90] เขาเขียนบทความเกี่ยวกับโครงการนี้ในนิตยสารแอดดิทูดแมกกาซีน เกี่ยวกับประสบการณ์ตรงของเขา[ 91]
เลอวีนก่อตั้งค่ายเพลงของตนเองชื่อ 222 เรเคิดส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เขากล่าวว่าเขาได้แรงบันดาลใจที่จะเปิดค่ายให้รอซซี เครน นักศึกษาดนตรีจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ที่เขารู้จักผ่านเพื่อน[ 92] เธอกลายเป็นนักร้องคนแรกที่เซ็๋นสัญญากับค่าย ตามด้วย แมตทิว มอร์ริสัน นักแสดงจากละครกลี ดิเอโก โบเนตา นักร้องชาวเม็กซิโก และโทนี ลักกา ผู้เข้าแข่งขันรายการเดอะวอยซ์ ฤดูกาลที่สอง ในทีมแอดัม มีรายงานว่าเขากำลังเจรจาต่อไปกับผู้แทนจำหน่าย รวมถึงจัดหาพนักงาน เพื่อดำเนินการบริษัทค่ายเพลงสมบูรณ์แบบที่มีแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิทยุ และฝ่ายโฆษณา[ 93] [ 94]
ในปี ค.ศ. 2013 เลอวีนร่วมกับไอดีเพอร์ฟูมส์ผลิจน้ำหอมรุ่นแรกของเขา[ 95] ผลิตภัณฑ์ออกขายที่สถานจัดแสดงน้ำหอมในลอสแอนเจลิสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[ 96] พิสัยของน้ำหอมมีทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง มีจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าเมซีส์ ในขวดรูปไมโครโฟน เลอวีนกล่าว ณ งานเปิดตัวน้ำหอมว่า "งานคือสร้างสิ่งที่ผมอยากจะใส่ ดังนั้นจึงมีกระบวนการ และในที่สุดเราก็ได้บทสรุปที่ยอดเยี่ยมออกมาและมันกลิ่นหอมมาก"[ 97] [ 98] น้ำหอมได้รับความสนใจจากสื่อ หลังจากมันขัดแย้งกับสิ่งที่เขาทวีตเมื่อปีก่อนว่าเขาต้องการที่จะ "คว่ำบาตรน้ำหอมคนดังอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่นี้ต่อไปจนตาย"[ 99]
ในปี ค.ศ. 2013 แอดัม เลอวีนเป็นโฆษกให้กับโพรแอ็กทีฟ บริษัทผลิตภัณฑ์ขจัดสิว ในการโฆษณา แอดัมแบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์มีสิวของเขาช่วงเรียนไฮสกูล และส่งเสริมผลิตภัณฑ์โพรแอ็กทีฟพลัส[ 100]
ในปี ค.ศ. 2013 มีประกาศว่าเลอวีนจะเป็นหุ้นส่วนกับเซียส์โฮลดิงส์ ออกตราสินค้าวิถีชีวิตเพื่อพัฒนาเครื่องแต่งกายและชุดเครื่องประดับ[ 101] บริษัทมีเจ้าของคือเคมาร์ต และช็อปยัวร์เวย์ มีชื่อของแร็ปเปอร์ นิกกี มินาจ ในสัญญาฉบับเดียวกันด้วย ชุดเครื่องแต่งกายผู้ชายออกจำหน่ายในวันที่ 1 ตุลาคม และมีจำหน่ายในร้านเคมาร์ต 500 สาขาทั่วสหรัฐอเมริกา และช่องทางออนไลน์ด้วย[ 102] เลอวีนกล่าวอย่างเป็นทางการว่า "การเป็นหุ้นส่วนกับช็อปยัวร์เวย์เพื่อพัฒนาสินค้าเหล่านี้เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับผม และจริง ๆ แล้วผมกำลังศึกษากระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายและชุดเครื่องประดับ"[ 103] ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารพีเพิล เขาให้ความเห็นต่อไปว่า "มันเจ๋งดีที่พวกเขาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ ผมอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับขั้นตอนการทำมากกว่าแค่โทรศัพท์"[ 104]
การเป็นศิลปิน
เลอวีนแสดงในวอชิงตัน ดี.ซี.
ความสนใจในดนตรีของเลอวีนเริ่มขึ้นเมื่อเขาอายุ 10 ปี เมื่อเขาเริ่มเล่นกีตาร์ เขาพบว่าดนตรีเป็นทางระบายอารมณ์ เขากล่าวว่า "ผมหยิบกีตาร์มาเล่นหนึ่งอันแค่นั้นแหละ ผมรู้สึกหลงรักมันแทบบ้า ผมรู้สึกแค่นั้นจริง ๆ"[ 15] เขาแสดงสดครั้งแรกที่เดอะทรูบาดอร์เมื่อเขาอายุ 12 ขวบ แต่รู้สึกประหม่าจนเขาเล่นโดยหันหลังให้ผู้ชม[ 5] [ 105] ตลอดวัยเด็ก เขาได้รับอิทธิพลจากวงดนตรีหลากหลายกลุ่ม เช่น เดอะบีเทิลส์ ฟลีตวูดแม็ก เดอะฮู เพิร์ลแจม ซาวด์การ์เดน อลิซอินเชนส์ และเนอร์วานา และในช่วยไฮสกูล เขาได้รับอิทธิพลจากบ็อบ มาร์เลย์ บิล วิเทอส์ อัล กรีน สตีวี วันเดอร์ มาร์วิน เกย์ [ 106] และไมเคิล แจ็กสัน [ 107] เขาได้นำลักษณะดนตรีของวงเดอะโพลิซ และพรินซ์ [ 108] มาใส่ในเพลงของเขาด้วย ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสารบิลบอร์ด เขาอธิบายถึงแนวดนตรีที่หลากหลายที่เขาฟังว่า "ผมรักดนตรีทุกชนิด ขนาดเพลงป็อปหวานหยดย้อยฃยังสามารถเป็นเพลงที่ดีที่สุดได้ เพลงฟิวชันบ้าคลั่งล้ำยุคความยาว 25 นาทีแบบเฮอร์บี แฮนค็อก ในยุค 70 ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน"[ 109]
เลอวีนจำได้ว่าฟังเพลง "อาร์ยูแดตซัมบอดี " ของอาลียาห์ ทำให้เขาเชื่อว่าต้องมองหาเสียงดนตรีที่มีอารมณ์ลึกซึ้งมากกว่าวงคาราส์ฟลาวเออส์ในขณะนั้น[ 25] การที่เขาย้ายไปที่นิวยอร์ก ทำให้เขาได้ยินดนตรีแนวฮิปฮอป อาร์แอนด์บี กอสเปล และโซล [ 31] เขาเปลี่ยนแนวดนตรีของตนเอง เน้นตามแบบสตีวี วันเดอร์[ 108] หลังจากนั้น อัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน วางจำหน่าย ฟังออกเป็นแนว "ฟังก์จังหวะเศร้า" (bluesy funk)[ 110] และคล้ายกับดนตรีของวงบัสทิด [ 111] นักวิจารณ์ยังเปรียบเทียบเลอวีนกับเจย์ เคย์ นักร้องวงจามิโรไคว ด้วย[ 112]
ขณะที่ผลงานช่วงแรกดูเป็น "ไวต์โซลฟังก์แบบไม่ชัดเจน"[ 112] และ "ร็อก" ผลงานปัจจุบันดูมีความเป็นเรกเก้ ดนตรีป็อป[ 113] ทำให้มีการเปรียบเทียบกับวงโคลด์เพลย์ [ 114] เลอวีนปฏิเสธที่จะระบุแนวดนตรีของตน โดยกล่าวว่า "ดนตรีนั้นหลากหลายมาก มันดูโง่ถ้าจะยึดติดกับแนวใดแนวหนึ่งและพยายามจะทำให้ฟังออกไปในทางในทางหนึ่ง"[ 108] เขามองตนเองเป็นนักแต่งเนื้อเพลงแบบทรรศนะดั้งเดิมที่ยึดติดกับเนื้อหาธรรมดา ๆ โดยตระหนักว่า "การขาดความรักความใคร่ ยังคงเป็นเนื้อหาที่ใหญ่ ผมยังคิดถึงวิธีที่จะนำทุกเรื่องมาแต่งเพลงได้ทั้งหมด ในฐานะนักแต่งเพลง ผมยังคงจำกัดอยู่กับสิ่งนั้นสิ่งเดียว"[ 25] เขายังกล่าวว่าเขาไม่ชอบใช้คำที่นุ่มนวล ดั่งที่กล่าวในบทสัมภาษณ์นิตยสารโรลลิงสโตน ว่า "ผมเบื่อกับเนื้อเพลงธรรมดา ๆ อย่าง 'อู ที่รัก' และ 'ผมรักคุณ' และวลีเหลวไหลกำกวมพวกนั้น ผมคิดว่ายิ่งผมคิดวลีที่ชัดเจนโดยที่ไม่ต้องชัดเจนทั้งหมด ยิ่งเป็นการใช้วลีที่ใช้ได้"[ 31]
เลอวีนมีเสียงเทเนอร์ (tenor) เขามีช่วงเสียง 3 ช่วงอ็อกเทฟครึ่ง[ 115] [ 116] และมีเสียงแบบฟอลเซตโต [ 117] เว็บไซต์ซาลอน เขียนว่า "เมื่อเขาฮัมเพลงจูงใจผู้ฟัง เสียงของเขาทำให้ดนตรีฟังดูลามกอย่างน่าพอใจ มีสัมผัสของความถึงเนื้อถึงตัวแบบแนบชิดที่ทำให้ท่อนสร้อยในท่าเลื้อยไปมากระตุ้นการเร่งฮอร์โมนเพศ"[ 118] ในบทวิจารณ์อัลบั้มอิตโวนต์บีซูนบีฟอร์ลอง เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี บรรยายถึงเสียงของเขาว่า "เป็นอาร์แอนด์บีหน้าตายแบบพอใจในตนเอง การสื่อสารอย่างสงบ ๆ ของเขามีเหตุผลที่ซับซ้อน"[ 119] ในบทวิจารณ์โดย ออลมิวสิก กล่าวว่า "เขารู้ว่าเขาเป็นผู้ชายยอดนิยมในแบบเดียวกับฮอลแอนด์โอตส์ แต่เขาไม่ได้พยายามทำตัวย้อนยุค เขา ... ทำเพลงที่มีจังหวะ นำสมัย และเต็มไปด้วยความรู้สึก"[ 120] ในบทวิจารณ์ถึงทัวร์ 2013 ฮอนดาซีวิกทัวร์ หนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบ ยังให้ความเห็นด้านบวกเกี่ยวกับการแสดงบนเวทีของเขาที่ "ปลดปล่อยอารมณ์ความสนุกสนานต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ผสมผสานกับงานเพลงร็อกและความรักบริสุทธ์ให้กับผู้ชมและการแสดง"[ 121]
นอกจากงานดนตรี เลอวีนได้ชื่อว่าเป็น "ดาราฉายเดี่ยว" (stand-alone star)[ 122] ซึ่งนักวิจารณ์กล่าวว่าได้ผลักให้สมาชิกมารูนไฟฟ์คนอื่นอยู่ข้างหลัง แม้แต่ในงานเพลง[ 123] มือกีตาร์ วาเลนไทน์ กล่าวว่า นักร้องของเขาเป็นศูนย์กลางของดนตรีที่เขาเข้ามาพัวพัน[ 124] ในทางกลับกัน คนอื่น ๆ ให้ความเห็นว่า ชื่อเสียงของเลอวีนเพิ่มความนิยมให้วง นิตยสารเปเปอร์ เขียนว่า "มารูนไฟฟ์ชื่อเสียงลง ๆ ขึ้น ๆ ตลอดเวลาที่ผ่านไป ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถแปลก ๆ ของนักร้องนำที่ให้ความบันเทิงได้ดีเยี่ยม"[ 125] เดลตาสกาย บรรยายเขาว่าเป็น "ชายผู้นำที่เป็นธรรมชาติ และมีอาการประสาทเล็กน้อย"[ 126] เขากล่าวว่าภาพลักษณ์ถือกำเนิดขึ้นโดยตั้งใจ อธิบายว่า "เราพูดถึงมันมานานแล้ว และตัดสินใจออกมาตอบโต้ เพื่อเรา ไม่ใช่เพื่อผม หรือเพื่ออัตตาของผม เราต้องการให้ที่ตรงนั้นเป็นนักร้องนำ"[ 54]
ชีวิตส่วนตัว
ต้นปี ค.ศ. 2010 ขณะแสดงที่งานสังสรรค์จำหน่ายนิตยสาร ฉบับหน้าปกชุดว่ายน้ำของนิตยสารสปอตส์อิลลัสเตรทิด ในลาสเวกัส เลอวีนพบกับแอน ไวอาลิตซีนา นางแบบชุดว่ายน้ำของนิตยสารดังกล่าว พวกเขาเริ่มคบหากัน[ 127] และเลิกรากันในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012[ 128]
เลอวีนเริ่มคบหากับเบฮาตี ปรินส์ลัว นางแบบวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ชาวนามิเบีย เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012[ 129] [ 130] พวกเขาเลิกรากันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013[ 131] แต่กลับมาคืนดีและหมั้นกันในเดือนกรกฎาคมปีนั้น[ 132] [ 133] ทั้งคู่สมรสกันในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014[ 134] เลอวีนกับปรินส์ลัวมีบุตรสาวด้วยกันสองคนคือ ดัสตี โรส (เกิดเดือนกันยายน ค.ศ. 2016)[ 135] และจิโอ เกรซ (เกิดเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018)[ 136]
เลอวีน มีน้องชายที่เผยตนว่าเป็นเกย์ เขาได้เป็นผู้สนับสนุนการสมรสกับเพศเดียวกัน และสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ [ 137] ในปี ค.ศ. 2011 เขาทำวิดีโอในบัญชีทางการของมารูนไฟฟ์ในยูทูบเพื่อสนับสนุนโครงการอิตเกตส์เบ็ตเทอร์โปรเจกต์ [ 138] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 เขาประกาศว่ามารูนไฟฟ์ได้เปลี่ยนสถานที่แสดงหลังได้รับรางวัลแกรมมี เนื่องจาก "ร้านอาหารในลอสแอนเจลิสร้านนั้นสนับสนุนญัตติข้อที่แปด "[ 137]
ในปี ค.ศ. 2013 เลอวีนถูกกล่าวถึงในคดีความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เป็นมิตร ที่ยื่นฟ้องในศาลชั้นสูงลอสแอนเจลิส โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ทราบชื่อคนหนึ่งว่า สถานที่ของบริษัทยูนิเวอร์ซัลมิวสิกพับบลิชชิงกรุป ที่ซานตาโมนิกาถูก "มีการเสพยาเสพติด โดยคุณสามารถได้กลิ่นกัญชาลอยออกมาจากสำนักงานหลายแห่งและมีการเสพอย่างเปิดเผยในพื้นที่และห้องนั่งเล่นทั่วไป" เจ้าหน้าที่อ้างว่าเธอได้ร้องเรียนเรื่องควันกัญชาลอยมาจากสตูดิโอห้องหนึ่ง เธอได้ยินมาว่า "มันคือแอดัม เลอวีน ถ้าเขาอยากจะออกมาที่ห้องโถง และสูดโคเคนบนพื้น ก็โอเค" ในคำกล่าวทางการถึงเดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ ยูนิเวอร์ซัลมิวสิกพับบลิชชิงกรุปมองข้อกล่าวหานี้ว่า "ไร้สาระ"[ 139] [ 140]
ผลงานดนตรี
ซิงเกิลในฐานะนักร้องเดี่ยว
แขกรับเชิญ
มิวสิกวิดีโอ
ในฐานะนักร้องเดี่ยว
ในฐานะศิลปินรับเชิญ
แขกรับเชิญ
แต่งเพลง
อื่น ๆ
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์
โทรทัศน์
ปี
ชื่อเรื่อง
บทบาท
รายละเอียดเพิ่มเติม
1997
เบเวอร์ลีฮิลส์, 90210
ตนเอง
ตอน: "Forgive and Forget"
2004–2014
แซตเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์
ตนเอง (แขกรับเชิญ / พิธีกร)
7 ตอน
2007
คะเนเดียนไอดอล
ตนเอง (ที่ปรึกษา)
ฤดูกาลที่ 5; 2 ตอน
2008
CSI: NY
ตนเอง / นักแสดงดนตรี
ตอน: "Page Turner"
2009
30 ร็อก
ตนเอง
ตอน: "Kidney Now!"
2011–ปัจจุบัน
เดอะวอยซ์
ตนเอง (โค้ช)
Teen Choice Award for Choice Reality Personality: Male (2014) เข้าชิง—People's Choice Award for Favorite Celebrity Judge (2013) เข้าชิง—Teen Choice Award for Choice TV: Personality (2011) เข้าชิง—Teen Choice Award for Choice TV Personality: Male (2013) เข้าชิง—Young Hollywood Award for Best Bromance (2014)
2012
อเมริกันฮอร์เรอร์สตอรี: อะไซลัม
ลีโอ มอริสัน
5 ตอน
2013
แฟมิลีกาย
ตนเอง (เสียง)
ตอน: "Quagmire's Quagmire"
2016
บรอดซิตี
ตนเอง
ตอน: "Jews on a Plane"
2017
ร็อกแอนด์โรลโรคทริปวิทแซมมีฮาการ์
ตนเอง
ตอน: "Marooned in LA"
โปรดิวเซอร์
ปี
ชื่อเรื่อง
บทบาท
รายละเอียดเพิ่มเติม
2018
ชูการ์
ผู้อำนวยการผลิต / ตนเอง
ตอน: "มารูนไฟฟ์เซอร์ไพรส์วัยรุ่นในงานสังสรรค์ประจำปี" (เป็นตนเอง); ซีรีส์โทรทัศน์บนเว็บ (8 ตอน)
2019
ซองแลนด์
ผู้อำนวยการผลิต
วิดีโอเกม
ปี
ชื่อเกม
บทบาท
รายละเอียดเพิ่มเติม
2009
แบนด์ฮีโร
ตนเอง (เสียง)
อ้างอิง
↑ "Adam Levine and Top Songwriters Honored at 61st Annual BMI Pop Awards" . BMI .
↑ Menyes, Carolyn. "REVIEW: Maroon 5 'It Was Always You', New Song from 'V' Explores Friends Falling In Love" . MusicTimes . สืบค้นเมื่อ April 27, 2015 .
↑ Chris Payne. "Maroon 5, 'Overexposed': Track By Track Review" . Billboard. [ลิงก์เสีย ]
↑ "Adam Levine: 'The Voice' Complete Rock Star" . BuddyTV . May 7, 2012.
↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Rose, Lacey (March 6, 2013). "Inside Adam Levine's $35 Million-Plus a Year Empire" . The Hollywood Reporter . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-11-23. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013 .
↑ "California, Birth Index, 1905-1995" . FamilySearch . สืบค้นเมื่อ 24 February 2014 .
↑ Naoreen, Nuzhat (March 22, 2013). "Monitor" . Entertainment Weekly . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ January 3, 2014 .
↑ Patterson, Sylvia (August 26, 2007). "Maroon 5: They will be loved" . London: The Daily Telegraph . สืบค้นเมื่อ January 2, 2013 .
↑ Noah, Timothy (January 20, 2009). "Inaugorophobia, Part 2" . Slate . สืบค้นเมื่อ 1 March 2014 .
↑ Maroon 5: Shooting for the Stars – โดยทาง Google Books .
↑ "InterWebz" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-06.
↑ 12.0 12.1 Marks, Craig (June 2012). "Adam Levine: The New King of Pop" . Details . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ March 8, 2013 .
↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Lester, Paul (February 11, 2011). "Interview: Adam Levine" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ September 5, 2011 .
↑ Borresen, Kelsey (April 2, 2012). "Adam Levine Talks Marriage Doubts, Divorce in Nylon Guys" . The Huffington Post . สืบค้นเมื่อ April 7, 2013 .
↑ 15.0 15.1 15.2 Stuart; Effron, Elizabeth; Lauren (November 17, 2011). "Maroon 5's Adam Levine's Playlist: Top 5 Songs That Impacted Rocker's Style" . ABC News . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 . {{cite web }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Piers Morgan Tonight Transcript" . CNN . August 13, 2011. สืบค้นเมื่อ March 1, 2014 .
↑ "Adam Levine recalls wasted therapy" . The Belfast Telegraph . July 2, 2012. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013 .
↑ "Maroon 5's Adam Levine opens up about 'beneficial' magic mushroom experience" . NME . July 4, 2012. สืบค้นเมื่อ December 30, 2013 .
↑ "Adam Levine on Jimmy Kimmel Live PART 2" . Jimmy Kimmel Live! . May 18, 2013. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014 .
↑ Bloom, Nate (February 1, 2011). "Happy Valentine's Day Music!" . InterfaithFamily.com . สืบค้นเมื่อ December 4, 2013 .
↑ "Adam Levine on Twitter" . Twitter .
↑ "Adam Levine Before Maroon 5: What Was His First Band Called?" . Wetpaint. สืบค้นเมื่อ October 23, 2015 .
↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 Kimpel, Dan (2006). How they made it: true stories of how music's biggest stars went from start to stardom! . Milwaukee: Hal Leonard Corporation. p. 87. ISBN 0-634-07642-6 .
↑ Thompson, Stephen (March 29, 2002). "Kara's Flowers – The Fourth World" . The A.V Club . สืบค้นเมื่อ April 7, 2013 .
↑ 25.0 25.1 25.2 Appleford, Steve (October 20, 2010). "How Maroon 5 found the courage to let its heart show" . Los Angeles Times . สืบค้นเมื่อ April 7, 2013 .
↑ 26.0 26.1 Bouwman, Kimbel (April 13, 2004). "Interview with BEN BERKMAN, A&R at Octone Records for Maroon 5 (US plat)" . HitQuarters . สืบค้นเมื่อ March 30, 2013 .
↑ "Adam Levine speaks" . CBS News . July 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ January 1, 2014 .
↑ Barrera, Sandra (March 25, 2003). "Maroon5 Stays Grounded Amid the Hype, Hoopla" . Orlando Sentinel . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013 .
↑ 29.0 29.1 Rosen, Craig (June 4, 2005). "Gold 5". Billboard .
↑ Alderman, Melody (2003). "MAROON 5" . Pure Songwriters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-04-19. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013 .
↑ 31.0 31.1 31.2 Briggs, Newt (May 13, 2004). "Off the Charts: Maroon 5" . Las Vegas Mercury . สืบค้นเมื่อ February 27, 2007 .
↑ "Bio" . Archive of early band biography on Maroon 5 official site. September 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 28, 2008. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015 .
↑ "Maroon 5 – Bio" . Maroon 5, Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013 .
↑ Moss, Corey (August 28, 2002). "Maroon 5 Aspire to Inspire Sexuality, Crying" . MTV News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ Leeds, Jeff (May 21, 2007). "Second CD by Maroon 5 Faces Great Expectations" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ Rahman, Ray (June 6, 2012). "Maroon 5 'Songs About Jane' release includes 'This Love,' 'She Will Be Loved' demos: Hear them here – EXCLUSIVE" . Entertainment Weekly . สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ McDermott, Tricia (February 14, 2005). "2005 Grammy Award Winners" . CBS News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ "Grammy Awards 2006: Key winners" . BBC . February 9, 2006. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ Moran, Jonathan (May 1, 2007). "Politics without preaching" . News Corp Australia . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ "Jessica Biel Wants Respect, Plus Nelly Furtado, Hilary Duff, Sum 41, Borat, Eve, Diddy, Ozzy & More in For the Record" . MTV News . May 4, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ "Grammy 2009 Winners List" . MTV News . February 8, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ 42.0 42.1 "Grammy 2008 Winners List" . MTV News . February 16, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ "Inside Maroon 5's Sessions for Fall Album 'Hands All Over' " . Rolling Stone . May 18, 2010. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ 44.0 44.1 Wood, Mikael (June 24, 2012). "Maroon 5 built 'Overexposed' to be just that" . Los Angeles Times . สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ Benjamin, Jeff (September 8, 2011). "Adam Levine Calls 'Moves Like Jagger' a 'Risk' for Maroon 5: Video Interview" . Billboard . สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ "Exclusive: Maroon 5 to Release 'Overexposed' Album in June" . Rolling Stone . March 26, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-04-10. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013 .
↑ Diehl, Matt (May 7, 2012). "Maroon 5 Aim for Dance-floor Domination om Mew LP" . Rolling Stone . สืบค้นเมื่อ May 8, 2012 .
↑ Copsey, Robert (May 20, 2013). "Maroon 5 postpone UK arena tour due to "scheduling conflicts" " . DigitalSpy . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-09-25. สืบค้นเมื่อ August 7, 2013 .
↑ Lipshutz, Jason (April 1, 2013). "Maroon 5, Kelly Clarkson Team Up For Honda Civic Tour" . Billboard . สืบค้นเมื่อ 11 January 2014 .
↑ Wood, Mikael (August 30, 2014). "Adam Levine talks Maroon 5's 'V,' 'The Voice,' Proactiv, more" . Los Angeles Times . สืบค้นเมื่อ 18 June 2015 .
↑ Strecker, Erin (September 2, 2014). "Maroon 5 Announces 2015 World Tour" . Billboard . สืบค้นเมื่อ 18 June 2015 .
↑ Green, Andy (June 28, 2008). "Maroon 5: Back On Top". Rolling Stone .
↑ Concepcion, Pocholo (March 21, 2010). "Adam Levine: Maroon 5 not disbanding any time soon" . Philippine Daily Inquirer . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-25. สืบค้นเมื่อ 7 March 2014 .
↑ 54.0 54.1 Freydkin, Donna (June 19, 2012). "Adam Levine: Just a singer in a band?" . USA Today . สืบค้นเมื่อ April 9, 2013 .
↑ Stutz, Colin (January 31, 2017). "Adam Levine to Receive Star on Hollywood Walk of Fame" . Billboard . สืบค้นเมื่อ February 1, 2017 .
↑ "Usa (United State of Atlanta)" . Amazon.com . June 28, 2005. สืบค้นเมื่อ March 3, 2014 .
↑ Moss, Corey (December 19, 2005). "Move Over, Justin: Adam Levine Is Hip-Hop's New Favorite White Boy" . MTV News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-12-30. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014 .
↑ Moss, Corey (October 20, 2005). "Kanye, Kids Run Amok In Surreal Macy's For New Clip 'Heard 'Em Say' was directed by Michel Gondry of 'Eternal Sunshine,' White Stripes fame" . MTV News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-12-07. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014 .
↑ "Alicia Keys - MTV Unplugged [Enhanced]" . Amazon.com . October 11, 2005. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014 .
↑ Vinnicombe, Chris (March 4, 2010). "Slash solo album interview: the track-by-track guide" . MusicRadar . สืบค้นเมื่อ 3 March 2014 .
↑ Johnston, Maura (February 12, 2010). "We Are The World: 25 For Haiti' Unites Music's Biggest Names" . MTV News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-11-04. สืบค้นเมื่อ February 10, 2013 .
↑ Drake, David (December 7, 2012). "Interview: 50 Cent Talks Working With Eminem, the Threat of Falling Off, and How Social Media Changed Hip-Hop" . Complex . สืบค้นเมื่อ 27 January 2014 .
↑ Pastorek, Whitney (August 18, 2009). "An EW Exclusive: Maroon 5's Adam Levine goes digital in 'Band Hero' " . Entertainment Weekly . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014 .
↑ Germana, Michael (October 1, 2007). "Andy Samberg, Adam Levine Serenade Iran President on SNL" . People . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013 .
↑ "Adam Levine Hosts 'SNL,' Drops 'YOLO' with Lonely Island & Kendrick Lamar" . Billboard . January 27, 2013. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013 .
↑ Slims, David (January 27, 2013). "Saturday Night Live: "Adam Levine/Kendrick Lamar" " . The A.V Club . สืบค้นเมื่อ 28 January 2014 .
↑ Ryan, Mike (January 27, 2013). " 'SNL' Scorecard: Adam Levine's Subpar Audition" . The Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 28 January 2014 .
↑ Ng, Philiana (February 28, 2011). "Cee Lo Green, Maroon 5's Adam Levine Join NBC's 'The Voice' " . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ October 30, 2011 .
↑ Lee, Ashley (December 17, 2013). " 'The Voice' Season 5 Winner Named" . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ January 3, 2013 .
↑ Mullins, Jenna (April 2, 2012). "Adam Levine Confirms American Horror Story Role" . E! Online . สืบค้นเมื่อ January 3, 2013 .
↑ Frederick, Brittany (October 17, 2012). "Adam Levine Makes Acting Debut in 'American Horror Story: Asylum' " . Star Pulse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013 .
↑ "Spoiler Chat: Gossip Girl Gets a New French Hottie! Plus, Girls, American Horror Story and More" . E! Online . June 21, 2012. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013 .
↑ Moaba, Alex (25 October 2012). "Adam Levine Was Too Scared To Watch His 'American Horror Story' Episodes In Full (VIDEO)" . The Huffington Post . สืบค้นเมื่อ 28 January 2014 .
↑ Fleming Jr., Mike (June 14, 2012). " 'The Voice's Adam Levine To Star In 'Can A Song Save Your Life?' " . Deadline.com . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ Rooney, David (September 8, 2013). "Can a Song Save Your Life?" . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ October 17, 2013 .
↑ Simone, Chima (March 28, 2014). "Adam Levine Makes His Movie Debut in Begin Again—Watch the Trailer!" . E! . สืบค้นเมื่อ 4 April 2014 .
↑ "Can A Song Save Your Life?" . Metacritic . สืบค้นเมื่อ January 3, 2013 .
↑ Jordan; Coulton, Julie; Antoinette (November 11, 2013). "Adam Levine Is PEOPLE's Sexiest Man Alive" . People . สืบค้นเมื่อ November 20, 2013 . {{cite web }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ "Sexiest Men of 2012: The Results" . Glamour . June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-11-27. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013 .
↑ "Single & Sexy Men of 2008" . People . June 18, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-06-10. สืบค้นเมื่อ March 16, 2013 .
↑ Carina Adly MacKenzie. "TV's Most Crushworthy Reality Host/Judge (Male)" . Zap2it . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ June 9, 2012 .
↑ Ashley Baylen (April 20, 2012). "Top 50 Hottest Jewish Men (10–1)" . Shalom Life. สืบค้นเมื่อ April 22, 2013 .
↑ Zakarin, Jordan (January 6, 2010). "Adam Levine Nude: Maroon 5 Singer Gets Naked For Cancer In Cosmo UK" . The Huffington Post . สืบค้นเมื่อ January 8, 2010 .
↑ http://www.tmz.com/2017/04/08/adam-levine-gets-celebrity-golf-show/
↑ Denise Petski. "Adam Levine To Executive Produce 'Sugar' Series For YouTube" . Deadline . สืบค้นเมื่อ July 13, 2018 .
↑ "Adam Levine Interview: First Act 222 Guitar" . YouTube . October 9, 2008. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014 .
↑ Lipke, David (August 17, 2010). "Maroon 5's Adam Levine Launches Fashion Line" . Women's Wear Daily . สืบค้นเมื่อ April 3, 2013 .
↑ Hagwood, Rog (August 17, 2010). "Adam Levine from Maroon 5 launches fashion line" . Sun-Sentinel . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ "Maroon 5 Lead Singer Adam Levine Raises Awareness of Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder in Young Adults and Adults With "Own It" " . PR Newswire . June 20, 2011. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013 .
↑ Hamilton, Jeff (June 30, 2011). "Pills Don't Teach Skills" . Psychology Today . สืบค้นเมื่อ April 18, 2013 .
↑ Levine, Adam. "Maroon 5's Adam Levine: "ADHD Isn't a Bad Thing" " . ADDitude Magazine . สืบค้นเมื่อ 27 January 2014 .
↑ Simpson, Dave (June 17, 2013). "Adam Levine offered to launch label for aspiring singer/songwriter" . World Entertainment News Network . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014 .
↑ Gallo, Phil (September 25, 2012). "Tony Lucca Signs With 'Voice' Mentor Adam Levine's Label" . Billboard . สืบค้นเมื่อ February 10, 2013 .
↑ Halperin, Shirley (September 9, 2012). " 'The Voice's' Adam Levine Launches Record Label; Signs 'Glee's' Matthew Morrison" . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ April 2, 2013 .
↑ Wischhover, Cheryl (February 6, 2013). "Adam Levine Launches Eponymous Line of Fragrances" . Us Weekly . สืบค้นเมื่อ March 29, 2013 .
↑ Schreffle, Laura (February 7, 2013). "Adam Levine Launches First Fragrance with Arty Installation in LA" . Haute Living . สืบค้นเมื่อ 20 March 2014 .
↑ Nessif, Bruna (February 6, 2013). "Adam Levine on Debut Fragrance: "It Smells Like [Bleep]" " . E! Online . สืบค้นเมื่อ 20 March 2014 .
↑ Naughton, Julie (February 1, 2013). "Adam Levine on Scents and Stardom" . Women's Wear Daily . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ "Adam Levine Debuts "Anti-Cologne" Line of Fragrances: "I Want to Compete with Dior" " . Us Weekly . February 5, 2013. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013 .
↑ Rose, Lacey. "Inside Adam Levine's $35 Million-Plus a Year Empire" . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ 7 May 2015 .
↑ Lazare, Lewis (January 9, 2013). "Kmart goes glitzy in new fashion deal with Adam Levine and Nicki Minaj" . American City Business Journals . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ "Adam Levine is Back in Fashion With New Menswear Line" . Billboard . September 5, 2013. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ Pous, Terri (January 15, 2013). "Mass Appeal: Adam Levine and Nicki Minaj to Launch Kmart Collections" . Time . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ Cress, Jennifer (February 27, 2013). "What Convinced Adam Levine to Design a Clothing Line" . People . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ April 3, 2013 .
↑ Heffman, Andrew (August 11, 2013). "How Adam Levine finds strength, focus and balance" . Men's Health . สืบค้นเมื่อ January 4, 2014 .
↑ Robinson, Lisa (February 2013). "Hot Tracks: Adam Levine" . Vanity Fair . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ "Michael Jackson Remembered: Adam Levine on the Rhythm King" . Rolling Stone . July 9, 2009. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ 108.0 108.1 108.2 Michelson, Noah (September 9, 2011). "Catching Up With Maroon 5's Adam Levine" . Out . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ "Q&A With Maroon5's Adam Levine" . Billboard . June 4, 2005. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Wilson, MacKenzie. "Songs About Jane -Maroon 5 review" . Allmusic . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Sullivan, Caroline (December 5, 2003). "Maroon 5, Songs About Jane" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ 112.0 112.1 Hoard, Christian (March 11, 2003). "Maroon 5 - Songs About Jane" . Rolling Stone . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Young, Martyn (June 25, 2012). "Maroon 5 – Overexposed" . MusicOMH . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Adams, Cameron (June 20, 2012). "Album Review: Overexposed by Maroon 5" . The Herald Sun . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ http://therangeplace.forummotions.com/t2836-adam-levine
↑ Pareles, Jon (April 8, 2005). "Macho Rock on the Surface, With Wimpiness Underneath" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ January 2, 2014 .
↑ Fetters, Ashley (September 28, 2012). "Maroon 5's Falsetto Singing: An Act of Cultural Defiance (?!)" . The Atlantic . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Deusner, Stephen (September 17, 2013). "Let's take Adam Levine seriously" . Salon . สืบค้นเมื่อ January 3, 2014 .
↑ Drumming, Neil (May 18, 2007). "It Won't Be Soon Before Long (2007)" . Entertainment Weekly . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Erlewine, Stephen. "Review by Stephen Thomas Erlewine" . Allmusic . สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Rodman, Sarah (August 12, 2013). "Maroon 5, Kelly Clarkson perfect at work, play" . The Boston Globe . สืบค้นเมื่อ October 18, 2013 .
↑ Markovitz, Adam (June 27, 2012). "Overexposed (2012)" . Entertainment Weekly . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ September 1, 2013 .
↑ Stewart, Allison (June 26, 2012). "Quick spin: 'Overexposed,' by Maroon 5" . The Washington Post . สืบค้นเมื่อ October 18, 2013 .
↑ Lopez, Paulina (September 23, 2013). "Interview: We Ask Maroon 5 How They Think They Would Have Fared on 'The Voice' " . D Magazine . สืบค้นเมื่อ October 24, 2013 .
↑ Spaner, Whitney (April 23, 2013). "Voice Male" . Paper . สืบค้นเมื่อ October 24, 2013 .
↑ Clayton, Chris (February 2013). "Mr. Right Now" . Delta Sky Magazine . สืบค้นเมื่อ October 24, 2013 .
↑ Everett, Christina (April 2, 2012). "Adam Levine, Anne Vyalitsyna split: Maroon 5 frontman and Victoria's Secret model call it quits after two years together" . New York Daily News . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ Nudd, Tim (April 2, 2012). "Adam Levine and Anne V Split" . People . สืบค้นเมื่อ January 4, 2014 .
↑ Ravitz, Justin (July 17, 2013). "Adam Levine, Behati Prinsloo Engaged: Why He Proposed So Quickly" . Us Weekly . สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ Johnson, Zach (October 26, 2012). "Adam Levine and Behati Prinsloo Attend First Event as a Couple" . Us Weekly . สืบค้นเมื่อ March 20, 2013 .
↑ Johnson, Zach (May 28, 2013). "Adam Levine Dating Nina Agdal After Behati Prinsloo Split" . Us Weekly . สืบค้นเมื่อ 1 March 2014 .
↑ Dam, Julie (January 14, 2013). "Adam Levine Engaged to Behati Prinsloo" . People . สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ Sowray, Bibby (July 17, 2013). "Behati Prinsloo engaged to Maroon 5's Adam Levine" . London: The Daily Telegraph . สืบค้นเมื่อ 24 February 2014 .
↑ Nessif, Bruna (19 July 2014). "Adam Levine and Behati Prinsloo Are Married!" . E! News . สืบค้นเมื่อ 21 July 2014 .
↑ French, Megan (September 21, 2016). "Behati Prinsloo, Adam Levine's Baby Dusty Rose Is 'Beautiful': Details" . Us Weekly . United States: Wenner Media LLC . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 23, 2016. สืบค้นเมื่อ September 22, 2016 .
↑ Pasquini, Maria; Chiu, Melody (February 16, 2018). "Adam Levine and Behati Prinsloo Welcome Daughter Gio Grace" . People Magazine . สืบค้นเมื่อ February 16, 2018 .
↑ 137.0 137.1 Michelson, Noah (January 25, 2012). "Adam Levine And Maroon 5 Boycotting Mexican Restaurant For Anti-Gay Marriage Stance" . The Huffington Post . สืบค้นเมื่อ January 29, 2012 .
↑ "Adam Levine (Maroon 5) – It Gets Better" . YouTube . July 11, 2011. สืบค้นเมื่อ January 3, 2014 .
↑ Gardner, Eriq (April 10, 2013). "Universal Music Group West Coast Office Alleged to Be Drug Hotspot" . The Hollywood Reporter . สืบค้นเมื่อ April 12, 2013 .
↑ Giles, Jeff (April 12, 2013). "Adam Levine + T.I. Linked to Drug Lawsuit" . PopCrush. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014 .
↑ 141.0 141.1 141.2 "German Singles Chart: Adam Levine" . acharts.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010 .
↑ "Australian Singles Chart: Adam Levine" . australian-charts.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010 .
↑ "Irish Singles Chart: Adam Levine" . irish-charts.com. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010 .
↑ "Dutch Singles Chart: Adam Levine" . dutchcharts.nl. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010 .
↑ "New Zealand Singles Chart: Adam Levine" . charts.org.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-09-13. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010 .
↑ Chart positions for UK charting singles:
↑ "Gold & Platinum Searchable Database" . RIAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 12, 2015. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ "Gold & Platinum Searchable Database" . RIAA. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .[ลิงก์เสีย ]
↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2012 Singles" . aria.com.au. December 31, 2012. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ 150.0 150.1 150.2 "BPI Certified Awards" . British Phonographic Industry . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 15, 2013. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011 .
↑ "Gold and Platinum Search" . Music Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 3, 2014. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ 152.0 152.1 "NZ Top 40 Singles Chart" . Nztop40.co.nz. December 5, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ "Man in the Mirror (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Javier Colon" . itunes.apple.com. June 28, 2011. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ "Yesterday (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Tony Lucca" . itunes.apple.com. May 7, 2012. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ 155.0 155.1 "Aria Charts Accreditations Singles 2013" . aria.com.au. June 30, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 9, 2013. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013 .
↑ "Let It Be (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Tessanne Chin" . itunes.apple.com. December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "Tiny Dancer (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Will Champlin" . itunes.apple.com. December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "Somebody That I Used To Know (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Christina Grimmie" . itunes.apple.com. May 19, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "Lost Without U (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Chris Jamison" . itunes.apple.com. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "Don't Let the Sun Go Down on Me (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Damien" . itunes.apple.com. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "Lost Stars (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Matt McAndrew" . itunes.apple.com. December 15, 2014. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "Diamonds on the Soles of Her Shoes (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Joshua Davis" . itunes.apple.com. May 18, 2015. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ "CHR Available For Airplay" . fmqb.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ June 28, 2014. สืบค้นเมื่อ September 3, 2016 .
↑ "Gold/Platinum" . Music Canada . สืบค้นเมื่อ October 10, 2015 .
↑ "God Only Knows (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Jordan Smith" . itunes.apple.com. December 14, 2015. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015 .
↑ "I'm So Humble (feat. Adam Levine) – Single by The Lonely Island" . itunes.apple.com. May 10, 2016. สืบค้นเมื่อ May 26, 2016 .
↑ "Golden Slumbers / Carry That Weight / The End (The Voice Performance) – Single by Adam Levine & Laith Al-Saadi" . itunes.apple.com. May 23, 2016. สืบค้นเมื่อ May 26, 2016 .
↑ "Adam Levine – Lost Stars" . YouTube . สืบค้นเมื่อ May 19, 2019 .
↑ "Adam Levine – Go Now" . YouTube . สืบค้นเมื่อ May 19, 2019 .
↑ Wappler, Margaret (April 15, 2009). "Michel Gondry, Jon Brion Spread the Sunshine on Stage (and Get the 'Knives Out' Too)" . Los Angeles Times . สืบค้นเมื่อ August 24, 2018 .
↑ "Kanye West - Heard 'Em Say featuring Adam Levine" . YouTube . สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ Caramanica, Jon (December 18, 2005). "Kanye West: Rapper and Reanimator" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ August 24, 2018 .
↑ "Iran So Far" . TheLonelyIsland.com. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018 .
↑ "K'naan - Bang Bang featuring Adam Levine" . YouTube . สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "Gym Class Heroes - Stereo Hearts featuring Adam Levine" . YouTube . สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "Slash – Gotten" . YouTube. สืบค้นเมื่อ June 3, 2019 .
↑ "50 Cent - My Life featuring Eminem and Adam Levine" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "The Lonely Island - YOLO featuring Adam Levine and Kendrick Lamar" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "PJ Morton - Heavy featuring Adam Levine" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "R. City - Locked Away featuring Adam Levine" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "Big Boi - Mic Jack featuring Adam Levine" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "Johnny Cash – God's Gonna Cut You Down" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "We Are the World 25 for Haiti – Official Video" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "Sara Bareilles – Uncharted (Director's Cut)" . YouTube. สืบค้นเมื่อ August 19, 2018 .
↑ "Lil Dicky – Earth (Official Music Video)" . YouTube. สืบค้นเมื่อ May 9, 2019 .
↑ "Lil Dicky – Earth (Clean Censored Version)" . YouTube. สืบค้นเมื่อ May 9, 2019 .
↑ "The Cab - Symphony Soldier | Songs, Reviews, Credits | AllMusic" . AllMusic . สืบค้นเมื่อ September 2, 2018 .
↑ Falkner, Scott (December 22, 2014). "Lennon or McCartney? New Documentary Asks 550 Celebrities Their Preference — See Their Answers" . Inquisitr . สืบค้นเมื่อ August 13, 2018 .
แหล่งข้อมูลอื่น
สตูิโออัลบั้ม อัลบั้มบันทึกการแสดงสด อีพี อัลบั้มรวมเพลง ทัวร์ บทความที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อ บุคคล ค่ายเพลง อัลบั้ม