Share to:

 

โคมูตร

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ
โคมูตร
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

โคมูตร (โค-มูด) หรือ เยี่ยววัว (๛) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนไทยโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ซึ่งหมายถึงจบบริบูรณ์

โคมูตรไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFB (251) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5B [1]

ที่มาและการใช้

คำว่า โคมูตร มีความหมายว่า เยี่ยววัว ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน แต่ปรากฏในหนังสือรุ่นเก่าๆ จำพวกร้อยกรอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาสันสกฤต มีคำว่า โคมูตฺรก มีความหมายว่า คล้ายรอยเยี่ยววัว ลักษณะของเส้นที่คดไปมา หรือเส้นฟันปลา จึงเป็นไปได้ว่าเราน่าจะเรียกเครื่องหมายนี้ ตามอย่างหนังสือสันสกฤตมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

ในประชุมลำนำของหลวงธรรมามณฑ์ (ถึก จิตรถึก) เรียกเครื่องหมายนี้ว่า สูตรนารายณ์ ระบุการใช้ว่า ใช้หลังวิสรรชนีย์ (ที่ปิดท้ายสุด) ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ใช้เครื่องหมายโคมูตร อาจพบได้ในงานของกวีบางท่าน เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นต้น

อนึ่ง โคมูตร ยังหมายถึง กลุ่มดาวในวิชาดาราศาสตร์ไทย เรียกว่าดาวฤกษ์มฆา ประกอบด้วยดาว 5 ดวง คือ ดาววานร ดาวงอน ดาวไถ ดาวงูผู้ และดาวมฆ หรือดาวมาฆะ (การเรียกกลุ่มดาวฤกษ์ของไทยนั้น นิยมเรียก เพียงแต่ดาว แล้วตามด้วยชื่อ ไม่เรียกว่า กลุ่มดาว อย่างวิชาดาราศาสตร์ในปัจจุบัน)

ตัวอย่าง

๏ จก ภพผุดท่ามเวิ้ง. วรรณศิลป์
จี้ แก่นชาติหวาดถวิล. เล่าไว้
รี้ รี้สั่งสายสินธุ์..... ครวญคร่ำ
ไร แก่นชีวิตไร้.... เร่งรู้พุทธธรรม ๚ะ๛
จาก เพียงครู่หนึ่งก็ม้วยเสมอฝัน ของ อังคาร กัลยาณพงศ์

โคมูตรในภาษาอื่น

ภาษาอื่นที่ใช้โคมูตรคือภาษาเขมร () ใช้ใส่เมื่อจบบทเหมือนภาษาไทย บางครั้งอาจพบเครื่องหมายนี้ได้ตามเครื่องรางของขลังต่าง ๆ

อ้างอิง

  • อังคาร กัลยาณพงศ์. ปณิธานกวี. กรุงเทพฯ : กะรัต, 2529.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ. พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2533.
  • Monier-Williams, Sir Monier. A Sanskrit-English Dictionary. Motilal Banaridass : Delhi,1993
Kembali kehalaman sebelumnya