ไม้ไต่คู้ (◌็) หรือ สัญญะประกาศ มีลักษณะคล้ายเลขไทย (๘) ปกติใช้แทนสระเสียงสั้นลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น เล็ก แป็ก น็อก เป็นต้น
อักษรเขมรมีรูปสระที่คล้ายไม้ไต่คู้ เรียกว่า อสฺฎา (เขมร: អស្ដា) (៏) (แปด) ใช้แสดงการเพิ่มน้ำเสียงสำหรับคำที่มีพยัญชนะตัวเดียว [1]
การประสมรูป
การประสมรูป |
ปรากฏ |
ใช้เป็นสระ |
สัทอักษรสากล
|
(พยัญชนะต้น) + ไม้ไต่คู้ |
–็ |
เอาะ (เฉพาะคำว่า ก็) |
/ɔʔ/
|
(พยัญชนะต้น) + ไม้ไต่คู้ + ตัวออ + (พยัญชนะสะกด) |
–็อ– |
เอาะ (มีตัวสะกด) |
/ɔ/
|
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ไม้ไต่คู้ + (พยัญชนะสะกด) |
เ–็– |
เอะ (มีตัวสะกด) |
/e/
|
สระแอ + (พยัญชนะต้น) + ไม้ไต่คู้ + (พยัญชนะสะกด) |
แ–็– |
แอะ (มีตัวสะกด) |
/ɛ/
|
การใช้
- ใช้บนคำว่า ก็ (อ่านว่า เก้าะ) เป็นคำพิเศษ (ภาษาเขมรก็มีคำนี้ (ក៏)[2])
- ใช้กับคำที่ประสมสระเสียงสั้นเมื่อมีตัวสะกด ได้แก่ เ–ะ, แ–ะ, เ–าะ, –ัวะ, เ–ียะ, เ–ือะ, เ–อะ แปลงรูปเป็น เ–็–, แ–็–, –็อ–, –็ว–, เ–ีย–, เ–ือ–, เ–ิ– [3]
- คำยืมจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ไม่ใส่ไม้ไต่คู้ เช่น เบญจ เพชร เพชฌฆาต
- คำยืมจากภาษาเขมร ภาษาจีน หรือภาษาอื่น ให้เขียนตามพจนานุกรมภาษาไทย ซึ่งมักจะมีไม้ไต่คู้ปรากฏอยู่ เช่น เพ็ญ เสด็จ เก็ง มะเร็ง
- คำยืมจากภาษาอังกฤษ บางคำมีไม้ไต่คู้ เช่น เช็ค แร็กเกต ฮาเร็ม เปอร์เซ็นต์ บางคำก็ไม่มี เช่น เบนซิน เมตร แสตมป์ แบตเตอรี่ แบคทีเรีย ให้เขียนตามพจนานุกรมภาษาไทย
- คำยืมจากภาษาอื่นหากไม่มีกำหนดในพจนานุกรมภาษาไทย ควรเขียนตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ ซึ่งการใส่ไม้ไต่คู้เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำในภาษาไทย หลีกเลี่ยงความหมายแฝง หรือเพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้องในกรณีที่อาจสับสน
อ้างอิง