Share to:

 

โตเกียวสกายทรี

โตเกียวสกายทรี
東京スカイツリー
โตเกียวสกายทรีมองจากแม่น้ำซูมิดะ, พฤศจิกายน ค.ศ. 2023
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
สถาปัตยกรรมอนาคตนิยมใหม่
ที่ตั้งเขตซูมิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พิกัด35°42′36″N 139°48′39″E / 35.7101°N 139.8107°E / 35.7101; 139.8107
เริ่มสร้าง14 กรกฎาคม 2008; 16 ปีก่อน (2008-07-14)
วางยอด18 มีนาคม 2011; 13 ปีก่อน (2011-03-18)
แล้วเสร็จ29 กุมภาพันธ์ 2012; 12 ปีก่อน (2012-02-29)
เปิดใช้งาน22 พฤษภาคม 2012; 12 ปีก่อน (2012-05-22)
ค่าก่อสร้าง65,000 ล้านเยน[1]
เจ้าของโทบุเรลเวย์ผ่านบริษัท โทบุทาวเวอร์สกายทรี จำกัด [ja] บริษัทในเครือที่ถือหุ้นทั้งหมด
ความสูง
เสาอากาศ634.0 m (2,080 ft)
หลังคา495.2 m (1,625 ft)
ชั้นบนสุด451.2 m (1,480 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
ลิฟต์13
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกนิกเก็งเซ็กเก
ผู้พัฒนาโครงการโทบุเรลเวย์
ผู้รับเหมาก่อสร้างบริษัทโอบายาชิ
เว็บไซต์
www.tokyo-skytree.jp/en/

โตเกียวสกายทรี (ญี่ปุ่น: 東京スカイツリーโรมาจิTōkyō Sukaitsurīทับศัพท์: โทเกียวซุไกสึรี; อังกฤษ: Tokyo Skytree หรือ Tokyo Sky Tree) เป็นหอกระจายคลื่นและสังเกตการณ์ตั้งอยู่ที่เขตซูมิดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่เปิดใช้งานใน ค.ศ. 2012[2] และมีความสูงสูงสุดที่ 634 เมตร (2,080 ฟุต) ในช่วงต้น ค.ศ. 2011 ทำให้เป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกแทนที่แคนตันทาวเวอร์[3][4] และเป็นโครงสร้างที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (เป็นรองเพียงเมอร์เดกา 118 (678.9 เมตร หรือ 2,227 ฟุต) และบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (829.8 เมตร หรือ 2,722 ฟุต))[5][a]

หอคอยนี้เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุหลักสำหรับภูมิภาคคันโต โดยโตเกียวทาวเวอร์ที่เก่ากว่าไม่สามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลให้ครอบคลุม เนื่องจากรอบตัวหอคอยมีอาคารและตึกสูงจำนวนมาก สกายทรีสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 จากนั้นจึงเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[6] หอคอยแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโทบุเรลเวย์ (ที่ถือครองพื้นที่) และกลุ่มผู้แพร่ภาพกระจายเสียงภาคพื้นดินจำนวน 6 ราย นำโดย NHK หอคอยนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟโตเกียวห่างออกไป 7 กิโลเมตร

การออกแบบ

ชื่อและความสูง

ภาพหน้าตัดของหอคอยแบ่งเป็นรูปรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าบนพื้น แล้วค่อยกลายเป็นรูปวงกลมที่ความสูง 320 เมตร

ในช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 มีการรวบรวมข้อเสนอแนะจากประชาชนทั่วไปเพื่อตั้งชื่อหอคอย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2008 คณะกรรมการได้คัดเลือกชื่อเข้าชิงขั้นสุดท้ายจำนวน 6 ชื่อ ได้แก่: "โตเกียวสกายทรี" (ญี่ปุ่น: 東京スカイツリーโรมาจิTōkyō Sukaitsurī; "Tokyo sky tree"), "โตเกียวเอโดะทาวเวอร์" (ญี่ปุ่น: 東京EDOタワーโรมาจิTōkyō Edo Tawā; "Tokyo Edo tower"), "ไรซิงทาวเวอร์" (ญี่ปุ่น: ライジングタワーโรมาจิRaijingu Tawā; "Rising tower"), "หอคอยแห่งอนาคต" (ญี่ปุ่น: みらいタワーโรมาจิMirai Tawāทับศัพท์: มิไรทาวเวอร์; "Tower of the future"), "หอคอยแห่งความฝัน" (ญี่ปุ่น: ゆめみやぐらโรมาจิYumemi Yaguraทับศัพท์: ยูเมมิ ยางูระ; "Dream lookout") และ "ไรซิงอีสต์ทาวเวอร์" (ญี่ปุ่น: ライジングイーストタワーโรมาจิRaijingu Īsuto Tawā; "Rising east tower") ชื่อโดยตัดสินชื่อทางการจากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ และประกาศเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ว่า "โตเกียวสกายทรี" เป็นชื่อที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุดที่ประมาณ 33,000 คะแนน (30%) จากผู้ลงคะแนนทั้งหมด 110,000 คน โดยชื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือ "โตเกียวเอโดะทาวเวอร์"[7]

ความสูง 634 m (2,080 ft) ได้รับการกำหนดเพื่อให้จำได้ง่าย โดยตัวเลข 6 (mu), 3 (sa) และ 4 (shi) รวมกันเป็นชื่อ "มูซาชิ" ชื่อเก่าของภูมิภาคที่โตเกียวสกายทรีตั้งอยู่[8]

การใช้งานเพื่อออกอากาศ

เส้นเวลา

2008

  • โตเกียวสกายทรีขณะกำลังก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009
    14 กรกฎาคม ค.ศ. 2008: ทำพิธี ณ สถานที่ดังกล่าว เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้าง[9]

2009

การเปิดตัว

เมื่อวันเปิดบริการสกายทรีใกล้มาถึง มีรายงานว่าผู้คนต่างเข้าแถวรอซื้อตั๋วนานถึงหนึ่งสัปดาห์ เมื่อถึงเวลาเปิดให้บริการ การจองตั๋วขึ้นหอคอยในช่วงสองเดือนแรกของการเปิดทำการเต็มเรียบร้อยแล้ว[10] วันเปิดทำการดึงดูดฝูงชนจำนวนหลายหมื่นคน แม้ว่ามีฝนตกหนักจนบดบังทัศนียภาพจากจุดชมวิวของหอคอย นอกจากนี้ ลมแรงยังบังคับให้ต้องปิดลิฟต์ 2 ตัว ทำให้ผู้เข้าชมบางส่วนต้องติดอยู่บนจุดชมวิวชั่วครู่[11]

โทบุรายงานว่า มีผู้เข้าชมสกายทรีในสัปดาห์แรกถึง 1.6 ล้านคน ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่รายงานว่าการที่นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาสร้างความวุ่นวายให้กับความสงบสุขในชุมชน และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับส่วนท้องถิ่นมากนัก[12]

ภาพ

ภาพพาโนรามาของโตเกียวมองจากโตเกียวสกายทรี

หมายเหตุ

  1. ก่อนที่เมอร์เดกา 118 จะสร้างแล้วเสร็จ โตเกียวสกายทรีเคยเป็นโครงสร้างที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก[5]

อ้างอิง

  1. "Japan finishes Tokyo Sky Tree". Mmtimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  2. Tokyo Sky Tree beats Tokyo Tower, now tallest building in Japan เก็บถาวร 5 ธันวาคม 2012 ที่ archive.today, The Mainichi Daily News, 29 March 2010
  3. "Japan Finishes World's Tallest Communications Tower". Council on Tall Buildings and Urban Habitat. 1 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2 March 2012.
  4. "Tokyo Sky Tree". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2 March 2012.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Arata Yamamoto (22 May 2012). "Tokyo Sky Tree takes root as world's second-tallest structure". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  6. 事業概要. Tokyo Skytree Home (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  7. Name of New Tower Decided เก็บถาวร 4 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาญี่ปุ่น)
  8. Kyodo News, "Tower's developers considered several figures before finally settling on 634 เก็บถาวร 23 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 23 May 2012, p. 2
  9. "Tokyo Sky Tree construction starts" เก็บถาวร 15 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Japan Times (15 July 2008). Retrieved 15 July 2008.
  10. Tim Newcomb (22 May 2012). "Tokyo Skytree: The World's Tallest Tower, By the Numbers". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  11. "High winds mar opening of Tokyo's Skytree tower". BBC News. 22 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  12. Aoki, Mizuho, "Skytree a mixed blessing for locals เก็บถาวร 5 กรกฎาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 22 June 2012, p. 3

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya