Share to:

 

โรคฝุ่นหินจับปอด

โรคฝุ่นหินจับปอด
ปอดของผู้ป่วยโรคฝุ่นหินจับปอด
สาขาวิชาพยาธิวิทยาระบบหายใจ
ระยะดำเนินโรคโรคเรื้อรัง
สาเหตุสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหิน
การรักษาไม่มี
พยากรณ์โรคทำได้

โรคฝุ่นหินจับปอด (Silicosis) หรือ โรคปอดคนงานเหมือง (อังกฤษ: Miner's phthisis)[1] เป็นโรคฝุ่นจับปอดประเภทหนึ่ง[2] ที่เกิดจากการหายใจรับเอาอนุภาคหินเข้าไปมาก ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบเกิดแผลในปอดส่วนบน โรคนี้มักนิยมพบในคนงานเหมืองหรือช่างตัดเจียรหินหรือคอนกรีต

ผู้บ่วยโรคนี้จะมีอาการหายใจลำบาก, ไอ, มีเสมหะสีดำ, เหนื่อยง่าย, เจ็บหน้าอก, มีไข้ และมีภาวะผิวคล้ำเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน บ่อยครั้งที่แพทย์มักวินิจฉัยผู้ป่วยโรคนี้ผิดพลาดว่าเป็นปอดบวมน้ำ, ปอดบวม และวัณโรค โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วไม่มีทางรักษาให้หายได้[3] ทำได้แค่บรรเทาอาการเท่านั้น ดังนั้นจึงควรป้องกันตัวโดยการสวมหน้ากากกรองฝุ่นในที่ทำงานที่มีฝุ่นหินมาก การพรมน้ำในที่ทำงานก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน

ในปี ค.ศ. 2013 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 46,000 คนทั่วโลก ซึ่งมีทิศทางลดลงจากปี ค.ศ. 1990 ที่มีผู้เสียชีวิต 55,000 คน[4]

การจำแนก

การจำแนกโรคฝุ่นหินจับปอด อาจจำแนกโดยแบ่งตามความหนักเบาของอาการ และระยะเวลาการแสดงโรค[5] ดังนี้:

  • ฝุ่นหินจับปอดทั่วไปแบบเรื้อรัง (Chronic simple silicosis) เกิดจากการสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหินเข้าไปทีละน้อย ๆติดต่อกันเป็นระยะยาวมากกว่าสิบปี โดยทั่วไปมักแสดงโรคใน 10-30 ปีหลังเริ่มสูดรับ เป็นภาวะที่พบได้มากที่สุดในผู้ป่วยโรคนี้ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็นเลย แต่สามารถตรวจพบพยาธิสภาพได้โดยการเอกซเรย์
  • ฝุ่นหินจับปอดแบบเร่ง (Accelerated silicosis) เกิดจากการสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหินเข้าไปในระดับปานกลางติดต่อกันระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปมักแสดงโรคใน 5-10 ปีหลังเริ่มสูดรับ ผู้ป่วยภาวะนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะลุกลามเป็นขั้นแทรกซ้อน
  • ฝุ่นหินจับปอดแบบแทรกซ้อน (Complicated silicosis) ผู้ป่วยโรคฝุ่นหินจับปอดที่มีแผลในปอดมาก ๆ อาจมีภาวะอื่นแทรกซ้อน อาทิ ภาวะพังผืดรุดหน้าเป็นก้อน (PMF) ซึ่งอาจมีขนาดถึง 1 เซนติเมตรหรือใหญ่กว่านั้น ซึ่งยิ่งทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากมากขึ้น
  • ฝุ่นหินจับปอดแบบฉับพลัน (Acute silicosis) เกิดจากการสูดรับเอาอนุภาคฝุ่นหินในปริมาณมาก ๆ หรือมหาศาลเข้าไปเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยทั่วไปมักจะแสดงโรคในไม่กี่สัปดาห์ถึง 5 ปีหลังการสูดรับ ผู้ป่วยภาวะนี้มักจะมีอาการรุนแรงกว่าภาวะอื่น ๆ จนถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันสั้น เมื่อผู้ป่วยภาวะนี้ไปทำการเอกซเรย์ ฟิมล์เอกซเรย์ที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกับผู้ป่วยโรคปอดบวม, ปอดบวมน้ำ และมะเร็งปอด ซึ่งอาจทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดพลาด

อ้างอิง

  1. Jane A. Plant; Nick Voulvoulis; K. Vala Ragnarsdottir (13 March 2012). Pollutants, Human Health and the Environment: A Risk Based Approach. John Wiley & Sons. p. 273. ISBN 978-0-470-74261-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2013. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
  2. Derived from Gr. πνεῦμα pneúm|a (lung) + buffer vowel -o- + κόνις kóni|s (dust) + Eng. scient. suff. -osis (like in asbestosis and silicosis, see ref. 10).
  3. Wagner, GR (May 1997). "Asbestosis and silicosis". Lancet. 349 (9061): 1311–1315. doi:10.1016/S0140-6736(96)07336-9. PMID 9142077.
  4. GBD 2013 Mortality and Causes of Death, Collaborators (17 December 2014). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385: 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442. {{cite journal}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. NIOSH Hazard Review. Health Effects of Occupational Exposure to Respirable Crystalline Silica. DHHS 2002-129. pp. 23.
Kembali kehalaman sebelumnya