โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูงและศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ขนาด 100 เตียง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ขนาด 34 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา รวมพื้นที่ใช้สอยประมาณ 103,900 ตารางเมตร[1] ยังมีคลินิกเฉพาะทาง เช่น คลินิกศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คลินิกทันตกรรม คลินิกเบาหวาน คลินิกอายุกรรม คลินิกศัลยกรรมกระดูก คลินิกทางเดินหายใจ คลินิกฉีดวัคซีน คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู คลินิกแพทย์แผนไทย และคลินิกแพทย์แผนจีน[2]ซึ่งปัจจุบันสามารถจองคิวได้ผ่าน แอป หมอ กทม. ประวัติที่ดินของโรงพยาบาลมีคุณยายจินดาวัน และ คุณยายอุไรศรี ท่านหนึ่ง เป็นผู้บริจาคให้กรุงเทพมหานคร ได้แสดงความจำนงเพื่อให้กรุงเทพมหานครใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล[3] ในระยะแรกให้บริการประชาชนแบบผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉินในอาคารผู้ป่วยนอกชั่วคราว พื้นที่ให้บริการในอาคาร 864 ตารางเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ภายหลังได้เริ่มก่อสร้างเพิ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 จนถึงสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2563 จนถึง ปัจจุบัน ได้เปิดรับกับผู้มารับบริการได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยแผนกผู้ป่วยนอก เปิดทำการตามเวลาราชการ และมีแผนกฉุกเฉินเปิดตลอด 24 ชั่วโมง การออกแบบพื้นที่ใช้สอยอาคารหลักของโรงพยาบาล เป็นศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุขนาด 60 เตียง และจะเพิ่มในอนาคตเป็น 300 เตียง ก่อสร้างโดยบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด 6 อาคาร ได้แก่ อาคารโรงพยาบาลและศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (5 ชั้น) รวมถึงชั้นใต้ดิน พื้นที่ใช้สอย 71,944 ตารางเมตร อาคารหอพักผู้ป่วย (7 ชั้น) รวมถึงชั้นใต้ดิน พื้นที่ใช้สอย 17,356 ตารางเมตร อาคารสถานพักฟื้นผู้สูงอายุ พื้นที่ใช้สอย 2,545 ตารางเมตร อาคารหอพักบุคลากร (7 ชั้น) รวมถึงชั้นใต้ดิน พื้นที่ใช้สอย 9,956 ตารางเมตร อาคารสถานที่ซ่อมบำรุง พื้นที่ใช้สอย 1,161 ตารางเมตร และหอพระ[4] แนวคิดงานออกแบบสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาล เริ่มร่างแบบโดยสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา จากนั้นปฤษฐ ชุมสาย ณ อยุธยามารับหน้าที่ดูแลเเละรับช่วงต่อจากงานออกแบบของคุณพ่อ เดิมทีออกแบบเป็นสถานพักฟื้นผู้สูงอายุขนาดประมาณ 35,000 ตารางเมตร แต่ในภายหลังได้มีการขยายโครงการออกเป็น 150,000 ตารางเมตร รวมได้ถึง 300+100 เตียง เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลของเขตบางขุนเทียนไปในคราวเดียวกัน แนวคิดการออกแบบใช้ประโยชน์จากลมทะเลโดยให้มีการระบายอากาศได้ดี และการที่พื้นที่ป่าชายเลนนั้นเป็นพื้นที่น้ำท่วมอยู่แล้ว จึงออกแบบให้โรงพยาบาลตั้งอยู่บนผืนน้ำ พื้นที่ของโรงพยาบาลจึงทำหน้าที่เป็นแก้มลิงไปด้วย อาคารส่วนพักฟื้นจึงเป็นเหมือนกับเรือนแพ ในการวางผังอาคารทำเป็นนรูปโค้งรับกับความที่เป็นเวิ้งน้ำ มีทางเดินหลักเชื่อมต่อทุกส่วนของโรงพยาบาลเข้าไปด้วยกัน กลุ่มอาคารแบ่งออกเป็น 3 ก้อน คือ อาคารโรงพยาบาลและศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นก้อนใหญ่ที่สุดวางตัวเป็นแนวโค้ง ถัดมาคือ อาคารหอพักผู้ป่วย และกลุ่มบ้านพักเล็ก ๆ ทรงจั่วคือ อาคารสถานพักฟื้นผู้สูงอายุ ทุกส่วนของอาคารมีการเชื่อมโยงกับผืนน้ำอยู่ตลอด อาคารที่โดดเด่นออกมีอีกอาคารคือ หอพระ[3] การออกแบบรายละเอียดคำนึงถึงการออกแบบเพื่อทุกคน ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนทุกประเภทในสังคมสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย[5] อ้างอิง
|