บางขุนเทียน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) ยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางขุนเทียนตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางบอนและเขตจอมทอง มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย คลองวัดสิงห์ คลองสนามชัย คลองวัดกก คลองบัว (คลองตาเปล่ง) และคลองตาสุกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางมด คลองรางแม่น้ำ คลองรางด้วน (คลองสวน) คลองรางกะนก คลองนา และคลองขุนราชพินิจใจ (คลองกง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตกติดต่อกับเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองบางเสาธง แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองสอง คลองแยกพะเนียง คลองตาแม้น คลองแสมดำใต้ และคลองแสมดำเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
อำเภอบางขุนเทียน เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4[2] เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งใน พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดใน พ.ศ. 2508
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ
ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองใน พ.ศ. 2532 และเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางขุนเทียนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย |
อักษรโรมัน |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่
|
5. |
ท่าข้าม |
Tha Kham |
84.712 |
62,677 |
739.88 |
|
7. |
แสมดำ |
Samae Dam |
35.975 |
122,482 |
3,404.64
|
ทั้งหมด |
120.687 |
185,159 |
1,534.21
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตจอมทองและเขตบางบอน
ประชากร
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางขุนเทียน[3]
|
ปี (พ.ศ.) |
ประชากร |
การเพิ่มและการลด
|
2535 |
124,881 |
ไม่ทราบ
|
2536 |
133,500 |
+8,619
|
2537 |
139,096 |
+5,596
|
2538 |
147,646 |
+8,550
|
2539 |
156,437 |
+8,791
|
2540 |
164,570 |
+8,133
|
2541 |
101,728 |
แบ่งเขต
|
2542 |
105,616 |
+3,888
|
2543 |
109,723 |
+4,107
|
2544 |
113,865 |
+4,142
|
2545 |
118,611 |
+4,746
|
2546 |
123,525 |
+4,914
|
2547 |
127,714 |
+4,189
|
2548 |
132,313 |
+4,599
|
2549 |
137,934 |
+5,621
|
2550 |
141,698 |
+3,764
|
2551 |
145,294 |
+3,596
|
2552 |
150,492 |
+5,198
|
2553 |
155,821 |
+5,329
|
2554 |
161,642 |
+5,821
|
2555 |
165,693 |
+4,051
|
2556 |
169,614 |
+3,921
|
2557 |
173,144 |
+3,530
|
2558 |
176,724 |
+3,580
|
2559 |
179,768 |
+3,044
|
2560 |
182,235 |
+2,467
|
2561 |
183,878 |
+1,643
|
2562 |
185,824 |
+1,946
|
2563 |
186,144 |
+320
|
2564 |
184,994 |
-1,150
|
2565 |
184,805 |
-189
|
2566 |
185,159 |
+354
|
การคมนาคม
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ได้แก่
ส่วนถนนสายรองและทางลัด ได้แก่
สถานที่สำคัญ
วัด
แขวงท่าข้าม
แขวงแสมดำ
สถานศึกษา
มหาวิทยาลัย
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนวัดกก
- โรงเรียนวัดกำแพง
- โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
- โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
- โรงเรียนวัดเลา
- โรงเรียนวัดท่าข้าม
- โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล)
- โรงเรียนวัดบัวผัน
|
- โรงเรียนวัดแสมดำ
- โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
- โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
- โรงเรียนวัดบัวผัน
- โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
- โรงเรียนวัดบางกระดี่
- โรงเรียนวัดหัวกระบือ
- โรงเรียนวัดประชาบำรุง
- โรงเรียนวัดประทีปพลีผล (พระครูพิพิธพัฒนโสภณ อุปถัมภ์)
|
โรงพยาบาล
คลอง
- คลองวัดสิงห์
- คลองสนามชัย
- คลองวัดกก
- คลองบางมด
- คลองลำรางขวางต้นโพ (ตาปล่อง)
- คลองบัวหลวง (ถูกถมดินแล้ว)
- คลองราชมนตรี
- คลองบางบอน
- คลองสี่บาท
- คลองรางแก้ว (รางตะเคียน)
- คลองลาดลำภู (รางสะแก)
- คลองสะแกงาม
- คลองเลนเปน
- คลองระหาญ
- คลองแสมดำเหนือ
- คลองแสมดำใต้
- คลองรางแม่น้ำ
- คลองกำพร้า
- คลองโล่ง (คลองประมง)
|
- คลองรางกะนก
- คลองบัว
- คลองพระยาพาย
- คลองลูกวัว
- คลองบางขโมย
- คลองกลางทุ่ง
- คลองหัวกระบือ
- คลองนา
- คลองขุนราชพินิจใจ
- คลองบางเสาธง
- คลองพิทยาลงกรณ์
- คลองตาสุก
- คลอง 1, 2, 3, 4
- คลองแยกพะเนียง
- คลองตาแม้น
- คลองพระยาไชยยศสมบัติ
- คลองลำรางตาเณร
|
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดเลา
- คลองบางมด
- จุดชมลิง
- ชายทะเลบางขุนเทียน
- ชุมชนแสนตอ
- ป่าชายเลน
- พระตำหนักพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)
- พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
- พิพิธภัณฑ์แสดงว่าวไทย
- วัดกก
|
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
แขวง | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
|
---|
|
สถานที่ใกล้เคียงกับเขตบางขุนเทียน |
---|
|
|