Share to:

 

โรงเรียนภัทรบพิตร

โรงเรียนภัทรบพิตร
Phattharaborphit School
ที่ตั้ง
แผนที่
137 หมู่ 11 ตำบลเสม็ด
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
ข้อมูล
ชื่ออื่นภ.บ.
ประเภทรัฐ
คติพจน์โรงเรียนภัทรบพิตร
พัฒนา สามัคคี เรียนดี มีวินัย
สุโข ปัญญา ปฏิลาโภ
ผู้มีปัญญา เป็นสุขอย่างประเสริฐ
ศาสนาศาสนาพุทธ
ก่อตั้ง4 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
ผู้ก่อตั้งนายบำรุง สุขบุศย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
นายผดุงศักดิ์ อุดรพิมพ์
ศึกษาธิการจังหวัด
นายกิตติ ณรัฐกิจ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส11310102
ผู้อำนวยการว่าที่พันตรี ดร.สุพจน์ ธนานุกูล
(พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)
จำนวนนักเรียน1,500+ คน
สี 
 
เพลงมาร์ชภัทรบพิตร
เขตพื้นที่การศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
ต้นไม้การเวก (พืช)
ช่วงปีพ.ศ. 2521 - ปัจจุบัน
เว็บไซต์http://www.phatthara.ac.th/

โรงเรียนภัทรบพิตร (อังกฤษ: Phattharaborphit School) เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 3-4) ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดย นายบำรุง สุขบุศย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ในขณะนั้น นายผดุงศักดิ์ อุดรพิมพ์ ศึกษาธิการจังหวัดในขณะนั้น และนายกิตติ ณรัฐกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคมในขณะนั้น ทั้งสามท่านได้ตกลงกันว่าจะจัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งที่ 2 ขึ้น ซึ่งโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดบุรีรัมย์คือ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ในเวลาต่อมา ทั้งสามท่านได้ประสานงานกับกรมสามัญศึกษา และได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนในชื่อ "บุรีรัมย์พิทยาคม 2" แต่เนื่องจากกรมสามัญศึกษาในขณะนั้นไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อนี้ ศึกษาธิการจังหวัดในขณะนั้นจึงได้เสนอชื่อ "ภัทรบพิตร" ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาตั้งเป็นชื่อโรงเรียน ในที่สุดกระทรวงศึกษาธิการก็อนุมัติให้ใช้ชื่อ "ภัทรบพิตร" เป็นชื่อโรงเรียน และแต่งตั้งให้ นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ ครูใหญ่โรงเรียนเมืองแก อำเภอสตึก ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเป็นคนแรก[1][2]

โรงเรียนภัทรบพิตรตั้งอยู่เลขที่ 137 หมู่ 11 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 โดยตั้งอยู่ติดทางหลวงหมายเลข 218 สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย (หลักกิโลเมตรที่ 5) ระยะทางห่างห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 2 กิโลเมตร และในระยะทางที่ใกล้กันนั้นก็เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่บนยอดเขากระโดง ในวนอุทยานเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์[3]

ประวัติ

ประวัติการจัดตั้งโรงเรียน

โรงเรียนภัทรบพิตร ก่อตั้งขึ้นตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 ซึ่งในขณะเดียวกันนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาก็เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดบุรีรัมย์นั้นไม่สามารถรองรับนักเรียนจำนวนมากได้ ดังนั้น นายบำรุง สุขบุศย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายผดุงศักดิ์ อุดรพิมพ์ ศึกษาธิการจังหวัด และนายกิตติ ณรัฐกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จึงร่วมมือกันที่จะจัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งที่ 2 ขึ้น และวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ก็มีการประกาศจัดตั้งโรงเรียน "บุรีรัมย์พิทยาคม 2" ขึ้นมา แต่ทางกรมสามัญศึกษาไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อดังกล่าว ศึกษาธิการจังหวัดจึงได้เสนอชื่อใหม่ภายใต้ชื่อ “ภัทรบพิตร” ไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อตั้งเป็นชื่อโรงเรียน โดย คำว่า "ภัทรบพิตร" และเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 แต่เนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรและอาคารเรียน โรงเรียนภัทรบพิตรจึงได้ฝากนักเรียนกับโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคมและโรงเรียนไตรคามสิทธิศิลป์ ซึ่งจำนวนนักเรียนในขณะนั้นรวมทั้งสิ้น 527 คน คุณครูจำนวน 27 คน และหลังจากนั้น ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2521 โรงเรียนภัทรบพิตรจึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดที่ฝากไว้ไปเรียนยังที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน

โรงเรียนภัทรบพิตร ได้รับการอนุเคราะห์ที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน จากแขวงการทางจังหวัดบุรีรัมย์ กรมทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 85 ไร่ 73 ตารางวา โดยการประสานงานกับกรมทางหลวง ซึ่งมี นายวสันต์ จันทร์บาล นายช่างแขวงการทางจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ดำเนินการ และต่อมาใน พ.ศ. 2544 ได้รับบริจาคเพิ่มอีก 13 ไร่ 2 งาน

ชื่อโรงเรียน

"ภัทรบพิตร" เป็นชื่อโรงเรียนที่อิงมาจากนามของ "พระสุภัทรบพิตร" พระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐปูนขนาดใหญ่หน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานยาว 14 เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยประดิษฐานอยู่บนยอดเขากระโดง ในวนอุทยานเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน[4]

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ พ.ศ. 2521-2532
2 นายประกิจ แมนประโคน พ.ศ. 2532-2536
3 นายเลิศ นพไธสง พ.ศ. 2536-2541
4 นายวิฑูรย์ เชาวน์ศิริ พ.ศ. 2541-2543
5 นายนิคม เจริญศรี พ.ศ. 2543-2546
6 นางสาวสุพัฒตรา เชื่อมชัยตระกูล พ.ศ. 2546-2547
7 นายสมศักดิ์ สุนทรสุข พ.ศ. 2547-2549
8 นายวิฑูรย์ วงศ์อิน พ.ศ. 2549-2551
9 นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง พ.ศ. 2551-2554
9 นายกิตติศักดิ์ วิทยเดช พ.ศ. 2554-2558
10 ว่าที่พันตรี ดร.สุพจน์ ธนานุกูล พ.ศ. 2558-2562

เกียรติประวัติของโรงเรียน

  • ได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษาดีเด่น โรงเรียนขนาดกลางเขตการศึกษา 11 ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2525[5]
  • ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนที่พัฒนาห้องสมุดตามนโยบายของกรมสามัญศึกษาดีเด่นประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2524[6]
  • ได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษาดีเด่น โรงเรียนขนาดกลางเขตการศึกษา 11 ประจำ ปีการศึกษา พ.ศ. 2535[7]
  • ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนที่พัฒนาห้องสมุดและจัดกิจกรรมดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2539[8]
  • ได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[9]

เกียรติประวัติของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน

  • นายสุรศักดิ์ หาญลำยวง และนายคงขจร ทองแม้น ชนะเลิศการแข่งขันโครงการ "พลังยุวชนเพื่อประชาธิปไตย (Teen Power)" ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา โดยการดูแลของครูบรรลุ ช่อชู และครูเอมอร พรมดิราช ครูที่ปรึกษาประจำทีม[10]

    :วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551 พณฯ อีริค จี จอห์น (U.S. Ambassador Eric G. John) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มอบรางวัลให้แก่ นายสุรศักดิ์ หาญลำยวง และนายคงขจร ทองแม้น ผู้ชนะเลิศในประกวดแข่งขันโครงการ "พลังยุวชนเพื่อประชาธิปไตย" ทั้งนี้ในระหว่างพิธีมอบรางวัล เอกอัครราชทูต จอห์น ได้กล่าวแสดงความชื่นชมยินดี และยกย่องการทำกิจกรรมที่เน้นให้ เยาวชนไทยทำอย่างไรถึงจะมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และรางวัลชนะเลิศนั้น ได้รับรางวัลเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จำนวน 2 เครื่อง และของที่ระลึกจำนวนหนึ่งแก่ครูที่ปรึกษาทีม

  • นางสาวทรายจินตนา วุฒาพิทักษ์ นางสาวพรรณี คงพลปาน นางสาวกมลวรรณ ลิ้มอำไพอาภรณ์ นางสาวเฟื่องฟ้า ดนัยรัมย์ และนางสาวสุธารัตน์ จะเชนรัมย์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ พร้อมทุนการศึกษา 20,000 บาท จากโครงการประกวดภาพยนตร์สั้น "คำพ่อสอน" ของมูลนิธิพระดาสบ ในบทภาพยนตร์เรื่อง "มิตรภาพ"[11]
  • นางสาวทรายจินตนา วุฒาพิทักษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 รับรางวัลชนะเลิศโครงการ RSU Digital Design Green Clip และโล่เกียรติยศ พร้อมทุนการศึกษา ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตลอดหลักสูตร 450,000 บาท

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-11.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

14°57′00″N 103°05′26″E / 14.949968°N 103.090693°E / 14.949968; 103.090693

Kembali kehalaman sebelumnya