โรงเรียนนางรอง |
---|
Nangrong School |
|
, |
ข้อมูล |
---|
ชื่ออื่น | น.ร. / NR |
---|
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรัฐบาล |
---|
คติพจน์ | ประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้ อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (บัณฑิตย่อมฝึกตน) |
---|
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
---|
ก่อตั้ง | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี) |
---|
เขตการศึกษา | เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 |
---|
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
---|
รหัส | 1031260863 |
---|
ผู้อำนวยการ | นายอุดม นามสวัสดิ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
---|
รองผู้อำนวยการ | นายอุดม นามสวัสดิ์ นางมนัญชยา แกกูล นางสาวปาริชาติ สุดตาชาติ |
---|
จำนวนนักเรียน | 3,395 คน (พ.ศ. 2567) |
---|
ชั้นเรียน | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
---|
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเขมร |
---|
ห้องเรียน | ชั้นละ 15 ห้อง รวม 90 ห้อง |
---|
สี | เหลือง-แดง |
---|
เพลง | มาร์ชนางรอง[1] |
---|
เบอร์โทรศัพท์ | 044-631383 |
---|
แฟกซ์ | 044-632298 |
---|
ต้นไม้ | อินทนิล |
---|
ดอกไม้ | การเวก (พืช) |
---|
เว็บไซต์ | www.nangrong.ac.th |
---|
โรงเรียนนางรอง เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (บุรีรัมย์) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอนางรอง ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันมี นายอุดม นามสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ และในปัจจุบันอำเภอนางรองมี โรงเรียนนางรองพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเพิ่มขึ้นอีกแห่ง โรงเรียนนางรองจึงมีสถานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอคู่กับโรงเรียนนางรองพิทยาคม คนในพื้นที่จึงนิยมเรียกชื่อโรงเรียนนางรองว่า "นางรองใน" ส่วนโรงเรียนนางรองพิทยาคมเรียกว่า "นางรองนอก" ตามสภาพพื้นที่ที่ตั้งของโรงเรียนทั้งสองแห่งโดยยึดหลักตาม พื้นที่ เทศบาลเมืองนางรอง เป็นเกณฑ์
ประวัติ
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอดีต
ที่ตั้งโรงเรียนนางรองในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษา (ป.4-ป.5 เก่า) มีอาคารเก่า 1 หลัง ซึ่งได้ยุบโรงเรียนไปนานแล้ว ที่ดินแบ่งออกเป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 เป็นที่ดินของราชพัสดุ อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินของประถมศึกษา ที่ดินทั้ง 2 แปลง มีเนื้อที่ติดต่อกันเมื่อทางราชการอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนรัฐบาล จึงได้ปลูกสร้างตัวอาคารเรียนในที่ดินดังกล่าวด้วยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างจริง 147,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) เป็นอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว ตามแบบแปลนของโรงเรียนประจำอำเภอรุ่นแรก สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2492
โรงเรียนนางรอง ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 จัดตั้งขึ้นโดยการอนุมัติของทางราชการตามหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 18071/2491 ลงวันที่ 1 กันยายน 2491 เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทสามัญ มี ชื่อเรียกเมื่อตั้งโรงเรียนว่า “โรงเรียนประจำอำเภอนางรอง” ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2492 ได้เรียกชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนนางรอง” ตามหนังสือคณะกรรมการอำเภอนางรอง ที่ 3186/2492 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2492 เรื่องการขนานนามโรงเรียน
เหตุผลที่จัดตั้ง
โรงเรียนนางรองเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของอำเภอนางรอง จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองความต้องการของชุมชน เนื่องจากอำเภอนางรองเป็นอำเภอขนาดใหญ่ ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี สถานที่เรียนเดิมรับนักเรียนได้จำกัดและไปศึกษาที่อื่นไม่สะดวก ซึ่งทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ก็มีเพียงโรงเรียนเดียวคือ โรงเรียนประจำจังหวัด "โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม" จึงเสนอเรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ และได้รับการอนุมัติตามหนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ 118017/2491 ลงวันที่ 1 กันยายน 2491 จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนางรองขึ้นเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอนางรองเป็นครั้งแรก โดยถือว่าเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งที่ 2 ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจัดตั้งบริเวณป่าโจดข้างวัดป่าเรไร
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอดีต
ที่ตั้งโรงเรียนนางรองในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษา (ป.4-ป.5 เก่า) มีอาคารเก่า 1 หลัง ซึ่งได้ยุบโรงเรียนไปนานแล้ว ที่ดินแบ่งออกเป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 เป็นที่ดินของราชพัสดุ อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินของประถมศึกษา ที่ดินทั้ง 2 แปลง มีเนื้อที่ติดต่อกันเมื่อทางราชการอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนรัฐบาล จึงได้ปลูกสร้างตัวอาคารเรียนในที่ดินดังกล่าวด้วยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างจริง 147,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) เป็นอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว ตามแบบแปลนของโรงเรียนประจำอำเภอรุ่นแรก สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2492 โรงเรียนนางรอง ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ในระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 35 คน เป็นนักเรียนชาย 27 คน นักเรียนหญิง 8 คน มีครู 1 คน คือ นายสุรพล กมลชัย ซึ่งนับเป็นครูคนแรกของโรงเรียน แต่เนื่องจากอาคารเรียนอยู่ระหว่างปลูกสร้าง จึงใช้ศาลาการเปรียญวัดป่าเรไรเป็นที่เรียนชั่วคราว ประมาณ 15 วัน เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จ จึงย้ายจากอาคารเรียนชั่วคราววัดป่าไรไร มาเรียนอาคารถาวร พร้อมกับให้นักเรียนโรงเรียนราษฎ์อำนวยวิทย์ประชาการ (ซึ่งใช้ศาลาโรงธรรมวัดกลางนางรองเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว) มาเรียนที่อาคารถาวรด้วยกันทั้งหมดเพื่อขอแรงครูช่วยสอนบางวิชาและขอแรงนักเรียนช่วยงานโยธา และสร้างความสามัคคี โรงเรียนนางรองพัฒนาการเรียนการสอนตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เมื่อล่วงเวลามาถึงประมาณปี พ.ศ. 2500 โรงเรียนอำนวยวิทย์จึงได้ยุบเลิกร่วมเป็นโรงเรียนนางรองเพียงแห่งเดียว และได้พัฒนาด้านอาคารสถานที่เพิ่มมากขึ้น ภายใต้การนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการถึง 14 ท่าน ตลอดระยะเวลาเปิดทำการเรียนการสอนได้มีการขยายชั้นเรียนตามลำดับจนถึงปัจจุบันมีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ระดับชั้นละ 15 ห้อง รวม 90 ห้อง ปัจจุบันมี นายมานัส เวียงวิเศษ เป็นผู้อำนวยการ ปีการศึกษา 2562-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) อีกทั้งได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษเพิ่มเติม โรงเรียนนางรองเปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โดยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รวมเวลาจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน 73 ปี โรงเรียนนางรองได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งได้รับยกฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ นับเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกประจำอำเภอนางรอง และเป็นโรงเรียนแนวหน้าแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ครบรอบ 73 ปีการสถาปนาโรงเรียนในปี พ.ศ. 2565
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่ |
รายนามผู้บริหาร |
ตำแหน่ง |
ช่วงเวลา
|
1 |
นายสเริง วัฒนสุข |
ครูใหญ่ |
พ.ศ. 2493-2500
|
2 |
นายเสถียร โพธิ์พิพัฒน์ |
อาจารย์ใหญ่ |
พ.ศ. 2500-2503
|
3 |
นายสุภณ กมลชัย |
อาจารย์ใหญ่ |
พ.ศ. 2503-2520
|
4 |
นายกิตติ ศรีเพชรพงษ์ |
อำนวยการ |
พ.ศ. 2520-2523
|
5 |
นายพีรพันธุ์ ฉกรรจ์ศิลป์ |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2523-2530
|
6 |
นายไสว คงนันทะ |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2530-2533
|
7 |
นายบุญช่วย บุญญะภานุพล |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2533-2536
|
8 |
นายประกิจ แมนประโคน |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2536-2543
|
9 |
นายดำรง กรเกศกมล |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2543-2551
|
10 |
นายวิชัย อำไธสง |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2551-2553
|
11 |
นายปัณณทัต วิวัตรชัย |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2554-2558
|
12 |
นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2558-2560
|
13 |
นายสรายุทธ เสลารักษ์ |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2560-2562
|
14 |
นายมานัส เวียงวิเศษ |
ผู้อำนวยการ |
พ.ศ. 2562 - 2567
|
15
|
|
ผู้อำนวยการ
|
2567-ปัจจุบัน
|
สัญลักษณ์
- ตราสัญลักษณ์
ตราประจำโรงเรียนนางรอง เป็นตราชฎาเปล่งรัศมี ครอบสัญลักณ์ "อุณาโลม"(เวียนขวา) ตามดติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บนอักษรย่อ "นร" ในธงปลายพริ้วมีคติธรรมว่า "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" ซึ่งแปลว่า "บัณฑิตย่อมฝึกตน"
- สีธงประจำโรงเรียน
ธงประจำโรงเรียนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นสีเหลือง ครื่งล่างเป็นสีแดง
- ความหมายของสีประจำโรงเรียน
- สีเหลือง หมายถึง มีคุณธรรมและรักความสงบ
- สีแดง หมายถึง ความรักบ้านเกิดเมืองนอน
- ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน
ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ อินทนิล
ดอกไม้ประจำโรงเรียนคือ การเวก (พืช)
- ปรัชญา
"ผู้มีความสุข ย่อมสร้างผลงานที่ดีงาม" (เก่า)
"ปัญญาทำให้เกิดนักปราชญ์ ความฉลาดเป็นผลจากการศึกษา" (ใหม่)
- คติธรรม
"อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกตน)
- คำขวัญ
"ประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้"
- อัตลักษณ์
"มีคุณธรรม นำความรู้ สู่สากล"
- เอกลักษณ์
สืบสานศิลปะ และวัฒนธรรม
สถานที่ภายใน
- โดมอเนกประสงค์ จัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีเคารพธงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพิธีอื่น ๆ รวมทั้งใช้ฝึกกีฬาของนักเรียน
- อาคาร 1 หรือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงาน สำนักงานต่าง ๆ
- อาคาร 2 เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่ง จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะนาฏศิลป์และดนตรีไทย ยังมีห้องปฏิบัติการ
- อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและห้องศูนย์สื่อการศึกษา
- อาคาร 5 เป็นอาคาร 7 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางเคมี ชั้นล่างมีสหกรณ์ร้านค้าและห้องประชุมคณาจารย์กับห้องประชุมสมาคมผู้ปกครองนักเรียน ยังมีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ม.ต้น) และห้องดาราศาสตร์ในชั้น 2 และในชั้น 5 จัดเป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ
- อาคาร 6 เป็นอาคาร 4 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเขมร, ภาษาจีน) และห้องดนตรีสากลห้องโยธวาทิต และชั้น 1 เป็นห้องเกียรติยศจัดแสดงรางวัลผลงานวิชาการและทักษะ และเป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ ยังมีห้อง IEP ชั้น 2
- อาคาร 7 เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การเกษตร
- อาคาร 8 หรือ อาคารอุตสาหกรรม เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
- อาคาร 9 หรือ อาคารชั่วคราว เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- อาคารคหกรรมอาหาร เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
- ศูนย์อาหาร มีร้าน 24 ร้าน อยู่ข้างโดมทางทิศตะวันออก และข้างหอประชุมการเวกทางทิศเหนือ
- หอประชุมการเวก อยู่ทิศเหนือของสนามฟุตบอล หรือทางทิศตะวันตกของสวนลานเสาธงใหญ่
- หอสมุด หรือ ศูนย์วิทยบริการ อยู่ทางทิศตะวันตกของอาคาร 2
- เรือนแนะแนว หรือ อาคารศิษย์เก่านางรอง-อำนวยวิทย์ อยู่ข้างอาคาร 3 ทางทิศตะวันออก
- เรือนพยาบาล หรือ อาคารศิษย์เก่านางรอง-อำนวยวิทย์ อยู่หลังอาคารสภานักเรียน
- อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือ ศูนย์ไทยบริดจสโตน อยู่หลังอาคาร 2
- ธนาคารออมสินสาขาโรงเรียนนางรอง อยู่หลังอาคาร 2
- อาคารสภานักเรียน อยู่ข้างธนาคาร
- สวนเสาธงใหญ่ ตั้งอยู่หน้าอาคาร 1 เป็นสวนพิธีการใช้ประกอบพิธีการหน้าเสาธงในอดีตและพิธีการในวันปิยมหาราช วันลูกเสือ เป็นต้น โดยมีลักษณะการจัดองค์ประกอบซ้ายขวาสมมาตรกัน ประกอบด้วยเสาธงชาติขนาดใหญ่อยู่บนแท่นหินอ่อนตรงกลางสวน ด้านหลังมีเสาธงชาติประเทศอาเซียน ด้านหน้าเสาธงประกอบด้วยซุ้มพระพุทธรูป และโพเดียมหินอ่อนประดับตราสัญลักษณ์โรงเรียน ซ้ายขวาของเสาธงชาติ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 และมีสระบัวพร้อมประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินณ์ อยู่ด้านหลังของพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้งสอง อีกทั้งทั่วบริเวณจัดเป็นสวนย่อมสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา
- ลานสัตบรรณ เป็นลานกิจกรรมและพักผ่อน อยู่ระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 3
- ลานปาล์ม เป็นลานกิจกรรมและพักผ่อน อยู่ข้างอาคาร 2 ทางทิศตะวันออก
- เรือนการเวก เรือน 1 และ 2 อยู่หน้าอาคาร 1 เรือน 3 อยู่หลังอาคาร 1 และเรือน 4 อยู่หลังอาคาร 3
- เรือนเพาะชำและแปลงเกษตร อยู่หลังอาคาร7
- เรือนเกษตรและแปลงเกษตร อยู่ข้างอาคาร7
- สวนวรรณคดี ประดิษฐานอนุสาวรีย์สุนทรภู่ รวมทั้งจัดแสดงรูปปั้นนางยักษ์ผีเสือสมุทร พระอภัยมณี และนางเงือก ตั้งอยู่ในสระน้ำจำลองแทนมหาสมุทร อยู่หน้าอาคาร 2
- สวนวิทยาศาสตร์ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปปั้นนักวิทยาศาสตร์อันดับโลก เช่น "เซอร์ไอแซกนิวตัน" "หลุยส์ปาสเตอร์" "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" เป็นต้น อยู่หน้าอาคาร 5
- สนามกีฬา ประกอบด้วย สนามฟุตบอลร่วมลู่วิ่ง, สนามเปตอง, สนามวอลเลย์บอลรวมเซปักตะกร้อกลางแจ้ง 1 และ 2, สนามบาสเกตบอลกลางแจ้ง, สนามบาสเกตบอลในร่ม 1 และ 2 (โดมอเนกประสงค์)
- โรงยิม ใช้เป็นสนามเทเบิลเทนนิส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหอประชุมร่มการเวก
- โดมอเนกประสงค์ใหม่ ใช้เป็นสนามบาสเกตบอล ตั้งอยู่หน้าอาคาร 5
- มินิมาร์ท เป็นร้านสะดวกซื้อ ตั้งอยู่หน้าอาคาร 4
แผนการเรียน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนนางรอง
14°37′42″N 102°47′27″E / 14.628321°N 102.790949°E / 14.628321; 102.790949
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ |
---|
|
สหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ | สหวิทยาเขตกระสัง |
|
|
|
| สหวิทยาเขตนางรอง | สหวิทยาเขตประโคนชัย |
|
|
|
| สหวิทยาเขตพุทไธสง | สหวิทยาเขตละหานทราย |
|
|
|
| สหวิทยาเขตลำปลายมาศ | สหวิทยาเขตสตึก |
|
|
|
| |
|
|
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|