โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (อังกฤษ: Princess Chulabhorn Science High School Buriram) เดิมชื่อ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) (Princess Chulabhorn's College Buriram) เป็นโรงเรียนสหศึกษา รับนักเรียนประเภทประจำ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ปัจจุบันมี ดร.ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ประวัติโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ เป็น 1 ใน 4 โรงเรียนที่กรมสามัญศึกษา (ในขณะนั้น) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 3 รอบ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ลำดับต่อมาทางกรมสามัญศึกษาจึงได้จัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเพิ่มเติมอีก 8 โรงเรียน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โรงเรียนดำเนินการรับนักเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชั้นละ 1 ห้องเรียน เปิดเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2537 ซึ่งในขณะนั้นอาคารเรียน และอาคารประกอบต่างๆ อยู่ระหว่าง ดำเนินการก่อสร้างจึงใช้สถานที่เรียนชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และย้ายมาเรียนที่สถานที่ปัจจุบันเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2538 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 42 ไร่ 19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 24212, 31105, 31106, 31107 จากอดีต ฯพณฯ พรเทพ เตชะไพบูลย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ประจำเขต การศึกษา 11 โดยมี นายอุทัย นิวัตินุวงศ์ รักษาการผู้ดูแลเป็นคนแรก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รับนักเรียนประเภทประจำทั้งหมด โดยรับนักเรียนในพื้นที่บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุรินทร์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ[1] สัญลักษณ์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์นามโรงเรียนนามโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ในแรกจัดตั้งนั้นมีนามว่า โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามโรงเรียนเป็นภาษาไทยใหม่จากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ และเป็นภาษาอังกฤษว่า Princess Chulabhorn's College Buriram ซึ่งนับเป็นพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาประมาณมิได้ต่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์และบรรดาเหล่าโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ต่อมาเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ได้รับยกฐานะเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จึงได้ใช้นามว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) และในวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ได้รับพระอนุญาตเปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ และเป็นภาษาอังกฤษว่า Princess Chulabhorn Science High School Buriram ตราประจำโรงเรียน ตราประจำโรงเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดย ประกอบด้วย อักษร จ และ ภ อยู่ภายใต้ชฎา โดย จภ. มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีด้านล่างเป็นแพรแถบมีข้อความว่า โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียนแคแสด Spathodea campanulata P.Beauv. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-45 ซม. ใบย่อยมี 4-9 คู่ รูปรีถึงรูปไข่ ขอบใบเป็นริ้วเล็กน้อย ปลายใบแหลมและมักจะงุ้มลง มีขนเล็กน้อย มีขนาดยาว 5-12 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ดอกเป็น ช่อตั้ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดงแสด ดอกทยอยบาน ร่วงง่าย ออกดอกราวเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลแบน คล้ายฝัก ปลายแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำ ผลแก่จะแตกเป็นด้านเดียวเมล็ดเล็กแบนมีปีก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด จะเริ่มให้ดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 - 8 ปี สีประจำโรงเรียน
คติพจน์ประจำโรงเรียนปญฺญา ยตฺถํ วิปสฺสติ คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา คำขวัญประจำโรงเรียนรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ พระพุทธรูปประจำโรงเรียนพระพุทธพิทยจุฬาภรณประทาน เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ยกฉัตรเพิ่มโดยชมรมพุทธศาสน์ เพลงประจำโรงเรียนเพลงประจำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ คือ เพลงมาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งประพันธ์คำร้องโดยนายวิชาญ เชาวลิต และประพันธ์ทำนองโดยนายกิตติ ศรีเปารยะ โดยเพลงนี้นั้นได้รับการนำมาใช้ในพิธีสำคัญของโรงเรียนเช่น พิธีวันสถาปนาโรงเรียน พิธีรับหมวกของนักเรียนใหม่ประจำปี พิธีปัจฉิมนิเทศ "แคแสดผลัดช่อ" เป็นต้น หอพักนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ นั้นเป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนต้องอาศัยอยู่ในหอพัก โดยมีรายชื่อที่คล้องจองไพเราะ ความหมายเข้ากับสถานที่ จะเห็นได้ว่า นอกจากโรงเรียนจะมีความโดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์แล้ว ยังมีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยอย่างดีอีกด้วย โดยเรียงตามลำดับการสร้างดังนี้
ทำเนียบผู้บริหาร
ปัจจุบัน ดร.ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และนางสาวสมพิศ ผาดไธสง ,นายฉัตรชัย วิชัยผิน ,นายอภิมุข อภัยศรี และ ว่าที่ร้อยโทปริญญา กางรัมย์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการ ระบบการเรียนการสอนปัจจุบันโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ จัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนสหศึกษา รับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 โดยรับนักเรียนประเภทอยู่ประจำ ซึ่งในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จะแบ่งเป็นระดับชั้นละ 4 ห้องเรียน มีนักเรียน 24 คนต่อห้อง ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะแบ่งเป็นระดับชั้นละ 6 ห้องเรียน มีนักเรียน 24 คนต่อห้องเช่นกัน ซึ่งนักเรียนทุกคนเป็นผู้ได้รับทุนการศึกษาห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวน 84,000 บาทต่อปี เป็นทุนผูกมัด 3 ปี พิธีและประเพณีสำคัญของโรงเรียน
กิจกรรมของโรงเรียน
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|