Share to:

 

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม
Maetha Wittayakom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ท.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
สถาปนา22 เมษายน พ.ศ. 2517
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส51012004
ผู้อำนวยการนายสนั่น สิงห์ไผ่
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน320 คน
สี  ฟ้า   ขาว
คำขวัญประพฤติดี มีวิชา
สามัคคี มีวินัย
เว็บไซต์http://www.maetha.ac.th

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 โรงเรียนแม่ทาวิทยาคมจึงถือเอาวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2517 ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน

เดิมทีโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวต่อมาโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมมาตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของการศึกษาและจำนวนนักเรียนในโรงเรียน ในเนื้อที่ที่ขยายออกไปเป็น 26 ไร่ 2 งาน 46.4 ตารางวา เปิดสอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2517 เดิมชื่อ โรงเรียนแม่ทา ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 เพื่อเป็นโรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอแม่ทา ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-7 สังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จนกระทั่งต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีคำสั่งยกเลิกโรงเรียนแม่ทา และจัดตั้งใหม่ให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้ตั้งชื่อใหม่เป็น โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

โรงเรียนแม่ทาวิทยาคมได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และในปีเดียวกัน ได้มีการเฉลิมฉลองในโอกาสโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม มีอายุครบรอบ 50 ปี และในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการเฉลิมฉลองในโอกาสโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมมีอายุครบรอบ 60 ปี

รายนามครูใหญ่ / อาจารย์ใหญ่ / ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายสุวรรณ สินธุบุญ 1 เมษายน พ.ศ. 2518-10 มีนาคม พ.ศ. 2526
2 นายอนันต์ สุริยะนันท์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2530
3 นายอำนวย อุตตระพยอม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2539
4 นายฉลอง คำพงค์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2543
5 นายเอกชัย รักงาม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551
6 นายสุพล ประสานศรี 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
7 ดร.สมมาตร สนทมิโน 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
8 นางสังวาลย์ วังแจ่ม 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
9 นายกัมพล ธิติกร 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561
10 นายสนั่น สิงห์ไผ่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

อาคาร / สถานที่สำคัญในโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

  • ศาลาพระพุทธ ประดิษฐานพระพุทธวิโมกข์ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่สักการบูชาของบุคลากรในโรงเรียน
  • อาคารอำนวยการ

-ฝ่ายการเงิน

-ฝ่ายบริหาร

-ฝ่ายธุรการ

-ฝ่ายบัญชี

-ห้องเกียรติยศ

  • อาคารศูนย์กีฬาและหอประชุม เป็นอาคารที่จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ เป็นอาคารเรียนวิชาพลานามัย และเป็นอาคารอเนกประสงค์ใช้ในการจัดนิทรรศการต่างๆ
  • อาคารพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน เดิมเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว เป็นที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาท้องถิ่นรวมถึงประวัติศาสตร์ล้านนา การดำรงชีวิต เครื่องไม้เครื่องมือทำกิน / ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรม ปัจจุบันได้มีการรื้อถอนอาคารไม้ดังกล่าวและก่อสร้างปรับปรุงใหม่ให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นให้เป็นอาคารปูนประกอบไม้สองชั้น ก่อสร้างเสร็จสิ้นและทำพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558 มอบให้เป็นสมบัติของทางราชการ

-ชั้นล่าง เป็นโถงสำหรับทำกิจกรรม จัดนิทรรศการ ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ห้องสุขา และพิพิธภัณฑ์หมวดเครื่องใช้ขนาดใหญ่

- ชั้นบน เป็นส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน จัดเป็น 36 หมวดหมู่

อาคารพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม หลังจากรื้อถอนก่อสร้างใหม่ มอบเป็นสมบัติทางราชการเมื่อ 29 มิ.ย. 2558
  • ข่วงดอกเสี้ยว เป็นลานกว้างอเนกประสงค์ ใช้ในการจัดกิจกรรมตามโอกาสต่างๆ
  • สหกรณ์โรงเรียน ขายอุปกรณ์เครื่องเขียน เครื่องแบบนักเรียน อาหารและขนม
  • อาคารคหกรรม เป็นอาคารเรียนวิชาคหกรรม
  • อาคารอุตสาหกรรม เป็นอาคารเรียนวิชาอุตสาหกรรม
  • อาคารเกษตร เป็นอาคารเรียนวิชาเกษตรกรรม ประกอบด้วยตัวอาคารโรงงานและเรือนเพาะชำ
  • อาคารปฏิบัติการดนตรี เป็นอาคารเรียนวิชาศิลปะ ดนตรี
  • โรงอาหาร เป็นอาคารเพดานสูงขนาดใหญ่ เปิดบริการขายอาหารแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
  • อาคาร 1 - อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นแบ่งเป็น

-ชั้นล่าง ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องคอนโทรลรูม ห้องแนะแนวการศึกษา ห้องวิชาการ ห้องอาคารสถานที่ ห้องวิชาการ และฝ่ายงานประชาสัมพันธ์

-ชั้นสอง ประกอบด้วยห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์

-ชั้นสาม ประกอบด้วยห้องเรียนและห้องปฏิบัติการวิชาวิทยาศาสตร์

  • อาคาร 2 - อาคารงานธุรกิจและภาษา เป็นอาคารเรียน 3 ชั้นแบ่งเป็น

-ชั้นล่าง ประกอบด้วยห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสมุด และห้องพยาบาล

-ชั้นสอง ประกอบด้วยห้องเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาจีน

-ชั้นสาม ประกอบด้วยห้องเรียนวิชาสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

  • สวนพฤกษศาสตร์ "ป่าในเมืองเพื่อการศึกษา-กล้ายิ้ม" ประกอบด้วยสวนพรรณไม้ดอกหอม พรรณไม้ในวรรณคดี และพรรณไม้พระราชทานประจำจังหวัด 76 จังหวัด (ยกเว้นจังหวัดบึงกาฬ) โดยการสนับสนุนโครงการจากกรมป่าไม้

กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสี

กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสี จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วง เดือน ธันวาคม - มกราคม ซึ่งเป็นภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษานั้นๆ โดยนักเรียนแต่ละห้องในระดับชั้นปีที่ 1 ของแต่ละช่วงชั้น จะถูกสุ่มคัดเลือกคณะสีให้โดยฝ่ายกิจกรรมนักเรียน เพื่อให้คละนักเรียนในแต่ละแผนการเรียนให้ได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน

  • - โดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเคลียดอันเกิดจากการเรียน อีกทั้งเป็นการออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แล้วยังมีการพัฒนาขึ้นจนถึงมีการแข่งขัน
  • - เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสามารถในการเล่นกีฬา มีร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีระเบียบวินัย และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
  • - เพื่อการแข่งขันภายในและระหว่างประเทศสร้างลักษณะนิสัย ในการเคารพและปฏิบัติตามระเบียบการแข่งขัน เพื่อซึมซับและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม

วันดอกเอื้องบาน

กิจกรรมงานวันดอกเอื้องบาน (ชื่อเดิม : งานเปิดโลกกว้างทางการศึกษา) จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่นักเรียนที่มีทักษะความสามารถในแขนงต่างๆ ได้แสดงความสามารถในทักษะที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ อาทิ ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และการแข่งขันทางวิชาการต่างๆ ภายในงานมีการประกวดโครงงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS)

นอกจากนี้ในแต่ละปีจะมีบุคลากรภายนอกสถานศึกษามาศึกษาดูงานในกิจกรรมวันดอกเอื้องบาน เช่น ผู้ปกครอง คณะครู-นักเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่เดียวกัน เป็นการฝึกให้นักเรียนมีทักษะความกล้าแสดงออก มีวิจารณญาณสุขุมรอบคอบ และฝึกมารยาทที่ดี

คณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

คณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม (Maetha Lamphun folklore group Thailand) เป็นกลุ่มนักเรียน ศิษย์เก่า และครูอาจารย์ส่วนหนึ่งของโรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ซึ่งรวมตัวกันเพื่อการดำรงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านและศิลปะวัฒนธรรมไทย ในนามของวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม โดยการเรียนรู้และเผยแพร่ศิลปะการแสดงพื้นบ้านต่างๆ เช่น การตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนกลายลาย ฟ้อนหริภุญชัย นอกจากนี้ยังประดิษฐ์และปรับปรุงการแสดงชุดใหม่เพื่อสื่อถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านในเขตพื้นที่อำเภอแม่ทา และจังหวัดลำพูน เช่น ฟ้อนเก็บลำไย และฟ้อนตรีกาลล้านนา

คณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม ยังเคยได้รับเกียรติจากดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ ประธานสภาวัฒนธรรมพื้นบ้านโลก (CIOFF) ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการนำศิลปะการแสดงพื้นบ้านของล้านนาและของไทยไปแสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมในต่างประเทศรวม 4 ครั้ง

  1. พ.ศ. 2550 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
  2. พ.ศ. 2551 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ณ กรุงมอสโก และเมืองสำคัญอีก 6 เมือง สหพันธรัฐรัสเซีย
  3. พ.ศ. 2554 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ในงานการแสดงเต้นรำนานาชาติ ณ เมืองโชนัน สาธารณรัฐเกาหลี
  4. พ.ศ. 2556 แสดงเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม ณ กรุงอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี

รายชื่อศิลปะการแสดงโดยคณะนักดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านวงช่อเอื้อง โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

การแสดงพื้นบ้านดั้งเดิม

การแสดงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่

  • ฟ้อนกุบกำเบ้อ - ระบำหมวกจักสานลายผีเสื้อ ประยุกต์จากการแสดงของไทยใหญ่ (กุบ=หมวก,กำเบ้อ=ผีเสื้อ)
  • ฟ้อนตรีกาลล้านนา - สื่อถึงวิถีชีวิตของคนลำพูนในสามฤดูกาล
  • ฟ้อนเก็บลำไย - สื่อถึงวิถีชีวิตของคนลำพูนซึ่งมีลำไยเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
  • ฟ้อนเตวะอวยชัย - เป็นการรำอวยพรในโอกาสต่างๆ สื่อถึงเทพเทวาที่อวยชัยให้พรแก่แขกเหรื่อในงาน
  • ฟ้อนปกากะญอเก็บหน่อไม้ - สื่อถึงวิถีชีวิตชาวปกากะญอในลำพูน

ระบำสี่ภาค

  • รำดึงครกดึงสาก - ภาคอีสาน
  • รำกลองยาว - ภาคกลาง
  • ระบำกะลา - ภาคใต้

ระบำโบราณคดี

  • ระบำลพบุรี - แสดงในงานวันดอกเอื้องบาน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม พ.ศ. 2554
  • ระบำศรีวิชัย - แสดงในงานวันดอกเอื้องบาน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม พ.ศ. 2555
  • ระบำศรีชัยสิงห์ - แสดงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลทาสบชัย
  • ระบำทวาราวดี - (ใช้เฉพาะท่ารำ เรียงลำดับตามต้นฉบับของกรมศิลปากร) แสดงประกอบการแสดงสื่อผสมเรื่อง "ประวัติพระนางจามเทวี ตอน ครองเมือง" เนื่องในงานฤดูหนาวและงานพระนางจามเทวีประจำปี จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ เวทีกลางสนามกีฬาจังหวัดลำพูน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya