ไดโจเท็นโนไดโจเท็นโน (ญี่ปุ่น: 太上天皇, Daijō Tennō แปลตรงตัวว่า "มหาจักรพรรดิ")[1] หรือเรียกโดยย่อว่า โจโก (ญี่ปุ่น: 上皇, Jōkō)[2] เป็นพระบรมราชอิสริยยศของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่สละราชสมบัติ ตามประมวลกฎหมายไทโฮ ไดโจเท็นโนยังสามารถใช้พระราชอำนาจบางประการของกษัตริย์ได้ การใช้อำนาจเช่นนี้ปรากฏครั้งแรกในสมัยจักรพรรดินีจิโตเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ไดโจเท็นโนที่ผนวชจะได้รับสมัญญาว่า ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) การออกผนวชดังกล่าวประพฤติกันมากในยุคเฮอัง ทั้งนี้ สำนักพระราชวังญี่ปุ่นกำหนดคำแปลภาษาอังกฤษของ โจโก ว่า "Emperor Emeritus"[3] การสละราชบัลลังก์ในสมัยจักรวรรดิญี่ปุ่นจักรพรรดิโคเมและโชกุนพลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รีและกองเรือของเขาซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "เรือดำ" แล่นเข้าสู่ท่าเรือที่เอโดะ (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อโตเกียว) ในเดือนกรกฎาคม 1853 เพร์รีขอให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศเพื่อทำการค้า และเตือนญี่ปุ่นถึงผลที่ตามมาทางทหารหากพวกเขาไม่เห็นด้วย ในช่วงวิกฤติที่เกิดจากการมาถึงของเพอร์รี รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้ปรึกษากับราชสำนักเป็นครั้งแรกในรอบอย่างน้อย 250 ปี และขุนนางของจักรพรรดิโคเมแนะนำว่าควรอนุญาตให้ชาวอเมริกันทำการค้าและแจ้งให้พวกเขาทราบก่อนดำเนินการใด ๆ[4] เมื่อรู้สึกเสียเปรียบต่อมหาอำนาจตะวันตก รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องยอมให้เปิดประเทศทำการค้าและต้องยอมลงนามใน “สนธิสัญญาไม่เสมอภาค” ยอมสละอำนาจทางภาษีและสิทธิพิจารณาคดีชาวต่างชาติในศาลของตนเอง[5] ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|