ไลโพโปรตีนหนาแน่นสูง (อังกฤษ : High-density lipoprotein ตัวย่อ HDL ) เป็นไลโพโปรตีน หลักชนิดหนึ่งใน 5 ชนิด[ 1]
เป็นอนุภาค ซับซ้อนประกอบด้วยโปรตีน หลายชนิด ซึ่งขนส่งโมเลกุลไขมัน คือลิพิด ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายภายในน้ำ นอกเซลล์
อนุภาคหนึ่ง ๆ ปกติจะมีโปรตีน 80-100 หน่วย
และขนส่งโมเลกุลไขมันได้เป็นร้อย ๆ โมเลกุลต่ออนุภาค
ภาพรวม
อนุภาค HDL แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ 5 กลุ่มตามความหนาแน่นและขนาด (ซึ่งสัมพันธ์กันอย่างผกผัน) ซึ่งก็มีสหสัมพันธ์ กับการเกิดปัญหาหัวใจด้วย
ไม่เหมือนกับไลโพโปรตีนที่ใหญ่กว่าอื่น ๆ ซึ่งส่งโมเลกุลไขมันไปให้เซลล์ อนุภาค HDL จะนำโมเลกุลไขมันออกจากเซลล์ที่ต้องขับโมเลกุลไขมันออก
ลิพิดที่ขนส่งรวมทั้งคอเลสเตอรอล ฟอสโฟลิพิด และไตรกลีเซอไรด์ โดยขนส่งแต่ละอย่างเป็นจำนวนต่าง ๆ กัน
การเพิ่มความเข้มข้น ของอนุภาค HDL สัมพันธ์กับการลดสะสมคราบไขมัน (คราบไขมันบวกเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ atherosclerosis) ที่ผนังภายในหลอดเลือดแดง
ซึ่งสำคัญเพราะคราบไขมันที่สะสมในที่สุดก็จะหลุดออก แล้วก่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือด (vascular disease) อื่น ๆ
อนุภาค HDL บางครั้งเรียกว่า คอเลสเตอรอลแบบดี เพราะมันขนส่งโมเลกุลไขมันออกจากผนังหลอดเลือด ลดการสะสมแมคโครฟาจ (macrophage) และดังนั้นช่วยป้องกันหรือแม้แต่ทุเลาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
อย่างไรก็ดี งานศึกษาหลายงานได้แสดงว่า แม้หนูที่ไร้ HDL ก็ยังสามารถขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังน้ำดี ซึ่งแสดงว่าต้องมีกลไกอื่นเพื่อกำจัดคอเลสเตอรอล[ 2]
การตรวจ
เพราะการวัดค่าอนุภาคโปรตีน HDL และ LDL (low-density lipoprotein) โดยตรงมีค่าใช้จ่ายสูง การตรวจ HDL ในเลือดมักจะวัดค่าทดแทน คือ HDL-C
ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่สัมพันธ์กับอนุภาค ApoA-1 (Apolipoprotein A1)/HDL
ในผู้สุขภาพดี HDL จะขนส่งคอเลสเตอรอลพร้อมกับไขมันชนิดอื่น ๆ ประมาณ 30% ในเลือด[ 3]
นี่มักเทียบกับคอเลสเตอรอลที่สัมพันธ์กับอนุภาค LDL คือ LDL-C ซึ่งเป็นค่าทดแทนค่า LDL ในเลือด
อนุภาค HDL กำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลจากเซลล์ รวมทั้งตะกรันท่อเลือดแดง (atheroma) ที่ผนังหลอดเลือดแดง และขนส่งมันกลับไปยังตับ เพื่อขับออกหรือนำไปใช้ใหม่
ดังนั้น คอเลสเตอรอลที่อนุภาค HDL ขนส่ง คือ HDL-C จึงเรียกว่า คอเลสเตอรอลแบบดี แม้จริง ๆ ก็เป็นคอเลสเตอรอลที่อนุภาค LDL ขนส่งเช่นกัน
ผู้ที่มีระดับ HDL-C สูงกว่ามักจะมีปัญหาโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด น้อยกว่า และผู้ที่มีระดับต่ำกว่า (โดยเฉพาะต่ำกว่า 40 mg/dL หรือ 1 mmol/L) ก็มีโรคหัวใจในอัตราสูงกว่า[ 4]
ระดับ HDL ที่สูงกว่าตามธรรมชาติยังมีสหสัมพันธ์ กับสุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ดีกว่าด้วย[ 5]
แต่ก็ไม่ปรากฏว่าการเพิ่ม HDL จะทำให้ได้ผลทางหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ดีขึ้น[ 6]
คอเลสเตอรอลในเลือดที่เหลือหลังจากนำ HDL ออกก็คือ คอเลสเตอรอลที่ไม่ใช่ HDL (non-HDL cholesterol)
ความเข้มข้นของส่วนนี้ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดตะกรันท่อเลือดแดง เรียกว่า non-HDL-C
ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีกว่า LDL-C เพราะพยากรณ์โรคได้ดีกว่าและคำนวณได้ง่ายกว่า[ 7]
โครงสร้างและหน้าที่
HDL เป็นอนุภาคไลโพโปรตีนที่เล็กสุด
มันหนาแน่นสุดเพราะมีสัดส่วนโปรตีนสูงสุดเทียบกับลิพิด
apolipoprotein[ A]
ที่มันมีมากที่สุดคือ Apolipoprotein A1 (apo A-I) และ Apolipoprotein A2 (apo A-II)[ 8]
ยีน ต่างที่มีน้อยอย่างหนึ่งคือ ApoA-1 Milano ได้พบว่า มีประสิทธิภาพป้องกันและทุเลาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ดีกว่ามาก
ตับสังเคราะห์ไลโพโปรตีนเหล่านี้เป็นคอมเพล็กซ์ที่ประกอบด้วย apolipoprotein และฟอสโฟลิพิด ซึ่งคล้ายอนุภาคไลโพโปรตีนรูปทรงกลมที่ไร้คอเลสเตอรอลแต่ทำให้แบน โดยงานศึกษาปี 2017 ได้เผยแพร่โครงสร้างทางนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ (NMR ) ของอนุภาค[ 9]
คอมเพล็กซ์เช่นนี้สามารถเก็บคอเลสเตอรอลจากเซลล์แล้วพกไว้ในภายใน ผ่านปฏิกิริยากับโปรตีน ATP-binding cassette transporter A1 (ABCA1)[ 10]
เอนไซม์ในน้ำเลือด คือ lecithin-cholesterol acyltransferase (LCAT) สามารถเปลี่ยนคอเลสเตอรอลอิสระให้เป็น cholesteryl ester (ซึ่งเป็นรูปแบบคอเลสเตอรอลที่ไม่ชอบน้ำ ยิ่งกว่า) แล้วแยกใส่เข้าในแกนกลางของอนุภาคไลโพโปรตีน ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ HDL ที่ได้สังเคราะห์ขึ้นใหม่นี้ให้มีรูปทรงกลม
อนุภาค HDL จะเพิ่มขนาดเมื่อไหลเวียนผ่านระบบเลือดแล้วรวมโมเลกุลคอเลสเตอรอลและฟอสโฟลิพิดจากเซลล์และจากไลโพโปรตีนอื่น ๆ เช่นผ่านปฏิกิริยากับโปรตีนขนส่ง ABCG1 (ATP-binding cassette sub-family G member 1) และโปรตีน PLTP (phospholipid transport protein)
HDL ขนคอเลสเตอรอลโดยมากไปยังตับ หรือไปยังอวัยวะสร้างสเตอรอยด์ เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
โดยหน่วยรับ (receptor) HDL เช่น scavenger receptor BI (SR-BI/SCARB1) จะเป็นตัวจับ HDL แล้วอำนวยให้เนื้อเยื่อ/เซลล์ดูดซึม (selective uptake) คอเลสเตอรอลจาก HDL
ในมนุษย์ วิถีที่สำคัญที่สุดไม่ใช่แบบโดยตรง คือจะมีโปรตีน cholesteryl ester transfer protein (CETP) เป็นตัวอำนวย
โปรตีนจะแลกไตรกลีเซอไรด์ของไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL ) กับ cholesteryl ester ของ HDL
ผลก็คือ VLDL จะแปรเป็น LDL ซึ่งหน่วยรับ LDL จะเป็นตัวเอามันออกจากระบบไหลเวียน
ส่วนไตรกลีเซอไรด์ภายใน HDL จะไม่เสถียร คือ เอนไซม์ hepatic lipase จะเป็นตัวทำให้เสื่อม ทำให้ในที่สุดเหลือแต่อนุภาค HDL เล็ก ๆ แล้วเริ่มต้นวัฏจักรการนำคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์ใหม่
ส่วนคอเลสเตอรอลที่ส่งไปยังตับจะขับออกในน้ำดี
ซึ่งก็ขับออกในลำไส้ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมหลังจากเปลี่ยนเป็นกรดน้ำดี (bile acid)
การส่งคอเลสเตอรอลกับ HDL ไปยังต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ สำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมนสเตอรอยด์
ขั้นตอนต่าง ๆ ในเมแทบอลิซึม ของ HDL มีบทบาทขนส่งคอเลสเตอรอลจากแมคโครฟาจอิ่มลิพิดของหลอดเลือดแดงที่สั่งสมคราบไขมัน (คือจากหลอดเลือดแดงที่แข็ง) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า เซลล์โฟม (foam cell) ไปยังตับเพื่อขับออกในน้ำดี
เป็นวิถีที่เรียกว่า reverse cholesterol transport (การขนส่งคอเลสเตอรอลย้อนกลับ) และพิจารณาว่า เป็นหน้าที่ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งของ HDL แบบคลาสสิก
HDL ขนส่งลิพิดและโปรตีนหลายชนิด บางอย่างแม้เข้มข้นน้อยมากแต่ก็มีฤทธิ์ทางชีวภาพมาก
ยกตัวอย่างเช่น HDL พร้อมกับโปรตีนและลิพิดที่มันขนส่งช่วยยับยั้งกระบวนการออกซิเดชัน การอักเสบ การก่อกัมมันต์ของเนื้อเยื่อบุโพรง การจับเป็นก้อน/การจับเป็นลิ่ม (coagulation) และการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด
คุณสมบัติเหล่านี้อาจทำให้ HDL สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ แม้จะยังไม่รู้ว่าคุณสมบัติอะไรสำคัญที่สุด
อนึ่ง HDL รูปแบบย่อย (subfraction) ขนาดเล็กอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า trypanosome lytic factor (TLF) ยังช่วยป้องกันโพรโทซัว ที่เป็นปรสิต คือ Trypanosoma brucei brucei ได้[ 11]
ในปฏิกิริยาที่ทำให้เครียด acute-phase protein และ apolipoprotein[ A] คือ serum amyloid A จะได้การกระตุ้นจาก cytokine คือ interleukin 1 และ interleukin 6 และจาก cortisol ที่เปลือกต่อมหมวกไต (adrenal cortex) ผลิต แล้วส่งรวมกับอนุภาค HDL ไปยังเนื้อเยื่อที่เสียหาย
เมื่อถึงที่อักเสบแล้ว มันก็จะเรียกและก่อกัมมันต์ต่อเม็ดเลือดขาว
ถ้าอักเสบแบบเรื้อรัง การสะสมมันที่เนื้อเยื่อจะปรากฏเป็นแอมีลอยด์ (amyloidosis)
มีการเสนอว่า ความเข้มข้นของอนุภาค HDL ขนาดใหญ่ในเลือด เป็นตัวบ่งชี้ฤทธิ์ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งที่แม่นยำกว่า เทียบกับความเข้มข้นของอนุภาค HDL ทั้งหมด[ 12]
อัตราส่วนของ HDL อนุภาคใหญ่และ HDL โดยรวมจะต่างกันมากระหว่างบุคคล และวัดได้ด้วยการสอบปริมาณไลโพโปรตีน (lipoprotein assay) ที่ซับซ้อนไม่ว่าจะด้วย electrophoresis (การเคลื่อนสู่ขั้วไฟฟ้า) ซึ่งพัฒนาขึ้นดั้งเดิมในคริสต์ทศวรรษ 1970 หรือด้วย NMR spectroscopy ซึ่งพัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990
รูปแบบย่อย (subfraction)
HDL ได้แบ่งเป็นรูปแบบย่อย (subfraction) 5 อย่าง
ตั้งแต่ใหญ่สุด (และมีประสิทธิภาพกำจัดคอเลสเตอรอลมากสุด) จนถึงเล็กสุด (มีประสิทธิภาพน้อยสุด) คือ 2a, 2b, 3a, 3b และ 3c[ 13]
ลิพิดหลัก ๆ ในร่างกายมนุษย์
ลิพิดเป็นกลุ่มสารประกอบที่หลายหลาก ละลายน้ำไม่ค่อยได้ แต่ละลายในตัวทำละลาย ที่ไม่แบ่งขั้วได้
ไตรกลีเซอไรด์ (TG) คอเลสเตอรอล และฟอสโฟลิพิด เป็นลิพิดหลัก ๆ ในร่างกาย
ซึ่งขนส่งเป็นคอมเพล็กซ์ประกอบด้วยลิพิดและโปรตีนที่เรียกว่า ไลโพโปรตีน
ไตรกลีเซอไรด์ (TG) สร้างขึ้นโดยรวมกรีเซอรีนกับกรดไขมัน 3 โมเลกุล
TG เป็นองค์ประกอบหลักของ VLDL และไคโลไมครอน (chylomicron) จึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม
คือเมื่อร่างกายต้องการกรดไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ฮอร์โมนกลูคากอน ก็จะส่งสัญญาณให้ไลเพส (lipase) แตก TG เพื่อปล่อยกรดไขมันอิสระ (FFA )
TG ละลายน้ำไม่ได้ เป็นไขมันไม่แบ่งขั้ว (non-polar)
ไม่ใช่องค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ การสังเคราะห์และการเก็บโดยมากเกิดในตับ และเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue)
FFA และกลีเซอรีนต้องเปลี่ยนเป็นสภาพกัมมันต์ก่อนสังเคราะห์ TG เป็น Acyl-CoA และ glycerol-3-phosphate ตามลำดับ
ชื่อว่า คอเลสเตอรอล มาจากคำกรีกว่า "chole-" (น้ำดี), "stereos" (ของแข็ง) และปัจจัยเติมหลังทางเคมีสำหรับแอลกอฮอล์คือ "ol"
เป็นองค์ประกอบทางโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่จำเป็นเพื่อให้ได้สภาพซึมผ่านได้ (permeability) และความยืดหยุ่นได้/ไหลได้ (fluidity)
นอกจากนั้น ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อผลิตกรดน้ำดี, ฮอร์โมนสเตอรอยด์, และวิตามินดี
แม้คอเลสเตอรอลจะสำคัญและจำเป็น แต่การมีในเลือดสูงก็เป็นตัวบ่งชี้โรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ
ตับผลิตประมาณ 20-25% ของคอเลสเตอรอลในแต่ละวัน
ฟอสโฟลิพิด เป็น TG ที่มีพันธะโคเวเลนต์กับหมู่ฟอสเฟต (phosphate group) ผ่านเอสเทอร์
มีหน้าที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้ง
ควบคุมสภาพซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์
ดำรงรักษากระบวนการขนส่งอิเล็กตรอน (electron transport chain) ในไมโทคอนเดรีย
มีบทบาทในกระบวนการขนส่งคอเลสเตอรอลย้อนกลับ (reverse cholesterol transport) และดังนั้นจึงช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลจากร่างกาย
มีบทบาทสื่อสัญญาณข้ามเยื่อหุ้มเซลล์
เป็นสารซักฟอก (detergent) ช่วยทำให้คอเลสเตอรอลละลายได้ดีขึ้น
ไลโพโปรตีน ประกอบด้วยแกนกลางที่เป็นลิพิดไม่ชอบน้ำ (รวมทั้ง TG และ cholesteryl ester) หุ้มด้วยเปลือกฟอสโฟลิพิดที่แบ่งขั้ว ด้วยคอเลสเตอรอลอิสระ และด้วย apolipoprotein[ A] ที่ชอบน้ำ มี 6 ประเภท ต่างกันโดยสัดส่วนของแกนที่เป็นลิพิดและโดยประเภทของ apoprotein คือ
ไคโลไมครอน (chylomicron)
อนุภาค VLDL-C
อนุภาค IDL-C
อนุภาค LDL-C
อนุภาค HDL-C
Lipoprotein (a) [LP(a)]
Epimodility
ชายมักจะมีระดับ HDL ที่ต่ำกว่าอย่างสังเกตได้เมื่อเทียบกับหญิง โดยมีขนาดเล็กกว่าและบรรจุคอเลสเตอรอลได้น้อยกว่า
ชายยังมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจเนื่องกับโรคหลอดเลือดแดงแข็งที่สูงกว่า
การดื่มแอลกอฮอล์มักเพิ่มระดับ HDL[ 14]
แต่การดื่มแอลกฮอล์พอประมาณก็สัมพันธ์กับอัตราการตายที่ต่ำกว่าเพราะโรคหัวใจและหลอดเลือดและเพราะโรคทั้งหมด
งานศึกษาปี 2012 ยืนยันว่า HDL มีคุณสมบัติเป็นบัฟเฟอร์เพื่อลดสภาวะการจับเป็นลิ่ม/เป็นก้อนเกินของคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 และลดความเสี่ยงสูงของภาวะแทรกซ้อน เพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดในคนไข้เหล่านี้
งานยังแสดงด้วยว่า HDL มีสหสัมพันธ์ ในเชิงลบที่สำคัญกับเวลาการจับลิ่มของเลือด (activated partial thromboplastin time, APTT)[ B] [ 16]
งานศึกษาทางวิทยาการระบาดยังแสดงว่า ระดับ HDL ที่สูง (เกิน 60 mg/dL) ช่วยป้องกันโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เช่น โรคลมเหตุเลือดถูกอุดกั้น (ischemic stroke) และกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด
ส่วน HDL ที่ต่ำ (น้อยกว่า 40 mg/dL ในชาย และน้อยกว่า 50 mg/dL ในหญิง) เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ข้อมูลจากงานศึกษาเด่น คือ Framingham Heart Study แสดงว่า ถ้าค่า LDL อยู่นิ่ง อัตราความเสี่ยงโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า ถ้า HDL เปลี่ยนจากสูงไปเป็นต่ำ
แต่ในนัยกลับกัน เมื่อค่า HDL นิ่ง อัตราความเสี่ยงจะเพิ่ม 3 เท่า เมื่อ LDL เปลี่ยนจากต่ำไปสูง[ 17] [ 18]
เช่น ถ้า HDL อยู่นิ่งที่ 85 mg/dl ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน (coronary artery disease, CAD) จะอยู่ที่ 1/10 ของค่าปกติเมื่อ LDL ต่ำ (100 mg/dl) และยังคงอยู่ที่ 3/10 ของค่าปกติเมื่อ LDL สูง (220 mg/dl)
กล่าวอีกอย่างก็คือ ข้อมูลแสดงนัยว่า HDL เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีกำลังกว่า LDL
เพราะถ้า HDL สูง (85 mg/dl) ความเสี่ยง CAD ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแม้เมื่อ LDL สูง
ดังนั้น การลดระดับ LDL ในบุคคลที่มี HDL สูง แม้จะมีประโยชน์บ้าง แต่ก็เพียงลดความเสี่ยงที่ต่ำอยู่แล้วให้ต่ำมาก
และบุคคลที่แม้มี LDL ต่ำมากก็ยังเสี่ยงสูงกว่าถ้าค่า HDL ไม่สูงพอ[ 19]
ประมาณค่า HDL ด้วยค่าคอเลสเตอรอลที่สัมพันธ์กัน
ห้องปฏิบัติการดั้งเดิมวัดค่า HDL โดยแยกไลโพโปรตีนชนิดอื่น ๆ ออกไม่ว่าจะด้วยการหมุนเหวี่ยงเร็วยิ่งยวด (ultracentrifugation) หรือการทำให้ตกตะกอนด้วยไอออนมีเวเลนซีคู่เช่น Mg2+ แล้วใส่ผลปฏิกิริยาของ cholesterol oxidase เข้ากับปฏิกิริยาของตัวบ่งชี้/ตัววัด
วิธีการที่เป็นมาตรฐานก็ยังใช้เทคนิคเหล่านี้[ 20]
แต่ห้องปฏิบัติการปัจจุบันโดยมากใช้วิธีการวิเคราะห์อัตโนมัติที่ระงับฤทธิ์ของไลโพโปรตีนที่มี apolipoprotein B (apo B) ด้วยสารภูมิต้านทานของ apo B แล้ววัดค่าคอเลสเตอรอลในอนุภาค HDL ที่ไม่ได้ระงับผ่านปฏิกิริยาอาศัยเอนไซม์เพื่อวัดสี (colorimetric enzyme reaction)[ 21]
เทคนิคโครมาโทกราฟี แบบ high-performance liquid chromatography (HPLC) ก็สามารถใช้วัดค่า HDL ได้เช่นกัน[ 22]
แม้รูปแบบย่อย (subfractions) ของ HDL คือแบบ HDL-2C และ HDL-3C ก็วัดได้ด้วย[ 23]
แต่ความสำคัญทางคลินิกของรูปแบบย่อยเหล่านี้ยังไม่ได้ระบุ[ 24]
และการวัดสมรรถภาพการทำปฏิกิริยาของ apo-A แม้จะใช้วัดค่า HDL ได้ แต่ก็เชื่อว่าไม่แม่นยำเท่าวิธีที่กล่าวมาแล้ว
พิสัยที่แนะนำ
สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA ), สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) และโปรแกรมให้การศึกษาเรื่องคอเลสเตอรอลแห่งชาติอเมริกัน (NCEP ) มีคำแนะนำเกี่ยวกับค่า HDL เมื่ออดอาหารกับความเสี่ยงโรคหัวใจ[ 25] [ 26] [ 27]
ระดับ mg /dL
ระดับ mmol /ลิตร
ความหมาย
<40/50 ชาย/หญิง
<1.03
ค่าคอเลสเตอรอลแบบ HDL ต่ำ พิจารณาว่าสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจที่สูงขึ้น
40-59
1.03-1.55
ค่าคอเลสเตอรอลแบบ HDL ระดับกลาง
>59
>1.55
ค่าคอเลสเตอรอลแบบ HDL สูง พิจารณาว่าดีสุดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
LDL ในระดับสูงพร้อมกับ HDL ในระดับต่ำ เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างสำหรับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[ 28]
การวัดความเข้มข้นและขนาด
เพราะเทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายน้อยลงในขณะที่การทดลองทางคลินิกก็ยังแสดงความสำคัญของ HDL อย่างต่อเนื่อง
วิธีการวัดความเข้มข้นและขนาดของ HDL โดยตรงซึ่งมีค่าใช้จ่ายลดลงก็ได้มีเพิ่มมากขึ้น และพิจารณว่า เป็นเรื่องสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงของบุคคลเนื่องกับโรคหลอดเลือดแดงแข็งที่แย่ลงเรื่อย ๆ และเพื่อชี้แนวการรักษา
Electrophoresis (การเคลื่อนสู่ขั้วไฟฟ้า)
เพราะอนุภาค HDL มีประจุไฟฟ้าสุทธิเป็นลบโดยมีความหนาแน่นและขนาดต่าง ๆ การวัดด้วยการหมุนเหวี่ยงเร็วยิ่งยวด (ultracentrifugation) ตามด้วย electrophoresis (การเคลื่อนสู่ขั้วไฟฟ้า) ได้ใช้ตั้งแต่ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อแยกแยะความเข้มข้นของอนุภาค HDL แล้วแยกลุ่มตามขนาดเทียบกับปริมาตรเฉพาะ (specific volume) ของน้ำเลือด
อนุภาค HDL ที่ใหญ่กว่าสามารถขนส่งคอเลสเตอรอลได้มากกว่า
นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ (NMR)
ความเข้มข้นและขนาดของอนุภาคไลโพโปรตีนสามารถประมาณได้ด้วยลักษณะเฉพาะทางนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ (nuclear magnetic resonance)[ 29]
ความเข้มข้นรวมและของ HDL ขนาดใหญ่ที่ดีสุด
งานศึกษาทางการแพทย์ MESA ที่ได้ทุนจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติสหรัฐ (NHLBI ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH ) ได้จัดอัตราการเกิดโรคเป็นเปอร์เซ็นไทล์เทียบกับระดับ HDL รวมในเลือดและกับระดับ HDL ขนาดใหญ่ที่สุดในเลือด[ 30]
อนุภาค HDL รวม
MESA Percentile
อนุภาค HDL รวม (μmol/L)
ความหมาย
>75%
>34.9
อนุภาค HDL มีความเข้มข้นสูงสุด (คือดีสุด) และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดต่ำสุด
50-75%
30.5-34.5
อนุภาค HDL มีความเข้มข้นสูงพอควร (moderately high) และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดพอควร (moderate)
25-50%
26.7-30.5
อนุภาค HDL มีความเข้มข้นต่ำลง และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดเกือบ ๆ สูง (Borderline-High)
0-25%
<26.7
อนุภาค HDL มีความเข้มข้นต่ำสุด และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดสูงสุด
อนุภาค HDL ขนาดใหญ่ (ให้ผลป้องกันดีสุด)
MESA Percentile
อนุภาค HDL ขนาดใหญ่ (μmol/L)
ความหมาย
>75%
>7.3
อนุภาค HDL ขนาดใหญ่มีความเข้มข้นสูงสุด และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดต่ำสุด
50-75%
4.8-7.3
อนุภาค HDL ขนาดใหญ่มีความเข้มข้นสูงพอควร (moderately high) และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดพอควร (moderate)
25-50%
3.1-4.8
อนุภาค HDL ขนาดใหญ่มีความเข้มข้นต่ำกว่า และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดเกือบ ๆ สูง (Borderline-High)
0-25%
<3.1
อนุภาค HDL ขนาดใหญ่มีความเข้มข้นต่ำสุด และมีอัตราการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดสูงสุด
อุบัติการณ์การเกิดเหตุการณ์หลอดเลือดแดงแข็งตามเวลา จะต่ำสุดสำหรับผู้ที่มีทั้งความเข้มข้นของอนุภาค HDL รวมสูงสุด (คือ เปอร์เซ็นไทล์ >75%) และความเข้มข้นของอนุภาค HDL ขนาดใหญ่สูงสุด
ในประเทศบางประเทศ การตรวจเลือดทั่วไปในคลินิกจะให้ค่าวัดหลายอย่างอื่น ๆ รวมทั้งความเข้มข้นของอนุภาค HDL, ความเข้มข้นของอนุภาค LDL ขนาดเล็ก, ความเข้มข้นของไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL ), ค่าประมาณการดื้ออินซูลิน (insulin resistance) และค่าวัดคอเลสเตอรอลทั่วไป
ความจำ
มีการสัมพันธ์ความจำทางภาษา (verbal memory) กับระดับลิพิดในเลือดเมื่ออดอาหาร
ในงานศึกษาที่มีตัวอย่างผู้เข้าร่วมวัยกลางคนจำนวนมาก ระดับคอเลสเตอรอลแบบ HDL ต่ำสัมพันธ์กับความจำไม่ดี และการมีระดับลดลงภายใน 5 ปีที่ติดตาม สัมพันธ์กับความจำที่แย่ลง[ 31]
การเพิ่มระดับ HDL
แม้ระดับ HDL ในเลือดจะมีสหสัมพันธ์กับสุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือด แต่การใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับในเลือดก็ไม่ปรากฏกว่าทำให้สุขภาพดีขึ้น[ 32]
กล่าวอีกอย่างก็คือ การเพิ่มระดับ HDL อาจจะไม่ทำให้สุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือดดีขึ้น[ 6]
เพราะฉะนั้น อาจเป็นไปได้ว่า สุขภาพหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ดีทำให้ระดับ HDL สูง หรือมีปัจจัยที่สามอย่างอื่นที่ทำให้ทั้งสุขภาพดีและระดับ HDL สูง หรือนี่เป็นเรื่องบังเอิญโดยไม่เป็นเหตุผล
อนุภาคไลโพโปรตีนแบบ HDL ที่มี apolipoprotein C3 สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ลดลง[ 33]
อาหารและการออกกำลังกาย
การเปลี่ยนอาหารและการออกกำลังกายอาจมีผลเพิ่มระดับ HDL คือ[ 34]
ไขมันอิ่มตัว โดยมากเพิ่มคอเลสเตอรอลแบบ HDL ในระดับต่าง ๆ แต่ก็เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลรวมและแบบ LDL ด้วย[ 48]
อาหารไขมันสูง, โปรตีนพอควร, และคาร์โบไฮเดรต ต่ำ (เช่น ketogenic diet) อาจทำให้ร่างกายตอบสนองเหมือนกับทานวิตามินบี3 คือลดระดับ LDL และเพิ่ม HDL ดังจะกล่าวต่อไปผ่านการจับคู่ของสารประกอบอินทรีย์ beta-hydroxybutyrate กับหน่วยรับ คือ Niacin receptor 1[ 49]
ยาเสพติด
ระดับ HDL สามารถเพิ่มได้เมื่อเลิกสูบยาเส้น/บุหรี่ [ 40]
หรือเมื่อทานแอลกฮอล์น้อยจนถึงปานกลาง[ 50] [ 51] [ 52] [ 53] [ 54] [ 55]
งานวิเคราะห์ต่าง ๆ แสดงว่า การสูบกัญชา ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันไม่สัมพันธ์กับระดับ HDL-C ที่สูงขึ้น[ 56]
เช่น งานศึกษาในคนไข้ 4,635 คนแสดงว่าการสูบกัญชาไม่มีผลต่อระดับ HDL-C (P=0.78) คือ ค่าเฉลี่ย HDL-C/และค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (standard error) ของผู้ที่ไม่เคยสูบเท่ากับ 53.4/0.4 mg/dL, ของผู้สูบในอดีต 53.9/0.6 mg/dL และของผู้สูบในปัจจุบัน 53.9/0.7 mg/dL[ 56]
ยารักษาโรคและวิตามินบี3
การบำบัดเพื่อเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบ HDL ก็โดยให้ยาไฟเบรต (fibrate) และวิตามินบี3 (ไนอาซิน )
แต่ไฟเบรตก็ไม่มีผลต่อการตายทั่วไปเพราะเหตุทั้งหมด แม้จะมีผลต่อลิพิด[ 57]
ส่วนวิตามินบี3 เพิ่ม HDL โดยยับยั้งเอนไซม์ diacylglycerol acyltransferase 2 ในตับ, ลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์และการหลั่งไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL ) ผ่านหน่วยรับ HM74[ 58]
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า niacin receptor 2 และผ่านหน่วยรับ HM74A/GPR109A หรือเรียกว่า niacin receptor 1[ 49]
วิตามินบี3 ในขนาดที่ให้ผลทางเภสัช (1-3 ก./วัน) จะเพิ่มระดับ HDL ประมาณ 10-30%[ 59]
จึงเป็นสารมีฤทธิ์มากที่สุดเพื่อเพิ่มระดับ HDL[ 60] [ 61]
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ได้แสดงว่า การรักษาด้วยวิตามินบี3 สามารถชะลอโรคหลอดเลือดแดงแข็งและปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดได้อย่างสำคัญ[ 62]
ผลิตภัณฑ์วิตามินบี3 ที่ขายโฆษณาว่า "no-flush" คือไม่มีผลข้างเคียงเป็นหน้าแดง/ตัวแดง จะไม่มีกรดนิโคตินิกอิสระ (free nicotinic acid) จึงไม่มีประสิทธิภาพเพิ่มระดับ HDL เทียบกับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่า "sustained-release" (คือค่อย ๆ ปล่อยยาออกฤทธิ์เป็นระยะยาว) ซึ่งอาจมี แต่สินค้าบางยี่ห้อก็เป็นพิษต่อตับ
ดังนั้น รูปแบบที่แนะนำเพื่อเพิ่ม HDL ก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาคถูกสุดและปล่อยสารออกฤทธิ์ทั้งหมดทันที (immediate-release)[ 63]
ทั้งไฟเบรตและวิตามินบี3 เพิ่มระดับโฮโมซิสตีน (homocysteine) ซึ่งเป็นพิษต่อหลอดเลือดแดง แต่อาจแก้ได้โดยทานวิตามินรวมที่มีวิตามินบีต่าง ๆ สูง[ต้องการอ้างอิง ]
แต่งานทดลองในยุโรปหลายงานที่ตรวจสูตรวิตามินซึ่งนิยมที่สุดพบว่า ผลิตภัณฑ์ลดโฮโมซิสตีน 30% โดยเฉลี่ย แต่ไม่ลดปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดแม้ก็ไม่มีผลเสียด้วย
ส่วนงานศึกษาวิตามินบี3 ปี 2011 ต้องเลิกก่อนกำหนดเพราะคนไข้ที่ทานวิตามินบี3 บวกกับ statin ไม่มีสุขภาพหัวใจที่ดีขึ้น แต่เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้น[ 64]
เพื่อเปรียบเทียบ การใช้ statin มีผลต้านไม่ให้มีระดับ LDL สูง
แต่โดยมากก็ไม่มีผลหรือมีผลน้อยเพื่อเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบ HDL[ 60]
แต่ยาหลายอย่างในกลุ่ม statin รวมทั้ง rosuvastatin และ pitavastatin ก็เพิ่มระดับ HDL อย่างสำคัญ
เพราะ statin มีผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อเจ็บ
คนไข้อาจจำต้องได้ยาขนาดต่ำกว่าเพื่อควบคุมคอเลสเตอรอล[ 65]
ผลิตภัณฑ์ Lovaza ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 , eicosapentaenoic acid ethyl ester และ docosahexaenoic acid ethyl ester พบว่า เพิ่มระดับ HDL-C[ 66]
แต่หลักฐานดีสุดที่มีก็แสดงว่า ไม่มีประโยชน์ไม่ว่าจะในระดับปฐมภูมิหรือทุติยภูมิต่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด
แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐ จะยังไม่ได้อนุมัติ peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) modulator หรือ selective androgen receptor modulator (SARM) คือ GW501516 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ยังทดลองอยู่ (คือยังไม่ให้มนุษย์บริโภค) แต่ก็พบว่ามีผลดีต่อ HDL-C[ 67]
และมีฤทธิ์ต้านหลอดเลือแดงแข็ง (antiatherogenic) ถ้า LDL เป็นปัญหา[ 68]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 1.2 apolipoprotein เป็นโปรตีน ที่ยึดกับลิพิด (คือสารละลายในน้ำมัน เช่น ไขมัน และคอเลสเตอรอล ) โดยกลายเป็นไลโพโปรตีน
มันขนส่งลิพิดผ่านระบบน้ำเหลือง และหลอดเลือด
↑ partial thromboplastin time (PTT) หรือ activated partial thromboplastin time (aPTT หรือ APTT) เป็นการตรวจเวลาการจับลิ่มของเลือด
นอกจากจะตรวจความผิดปกติในการจับลิ่มของเลือดแล้ว[ 15]
PTT ยังใช้ติดตามผลการรักษาด้วยยาเฮพาริน ซึ่งใช้อย่างกว้างขวางเพื่อลดการจับลิ่มเลือด
อ้างอิง
↑ "LDL and HDL: Bad and Good Cholesterol" . Centers for Disease Control and Prevention . CDC. สืบค้นเมื่อ 2017-09-11 .
↑ Betteridge; และคณะ (2008). "Structural requirements for PCSK9-mediated degradation of the low-density lipoprotein receptor" . PNAS . 105 (35): 13045–13050. doi :10.1073/pnas.0806312105 . PMC 2526098 .
↑ "LDL and HDL Cholesterol: What's Bad and What's Good?" . American Heart Association. 2009-07-02. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08 .
↑ Toth, PP (February 2005). "Cardiology patient page. The "good cholesterol": high-density lipoprotein" . Circulation . 111 (5): e89–e91. doi :10.1161/01.CIR.0000154555.07002.CA . PMID 15699268 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Sirtori, Cesare R. (October 2006). "HDL and the progression of atherosclerosis: new insights" . European Heart Journal Supplements .
↑ 6.0 6.1 "NIH stops clinical trial on combination cholesterol treatment" . National Institute of Health . National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI). สืบค้นเมื่อ 2011-06-02 .
↑ Sorrentino, MJ (2011), "Non-HDL-Cholesterol", Hyperlipidemia in Primary Care , pp. 86–87, ISBN 978-1-60327-502-6
↑ Després, Jean-Pierre. "The Atherogenic Triad of New Metabolic Risk Factors: Importance of Waist and Fasting Triglycerides as Screening Tools" . Visceral Adipose Tissue and Cardiometabolic Risk: Does It Really Matter? Part 2 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-06-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08 . [แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง? ]
↑ Bibow, S; และคณะ (2017), "Solution structure of discoidal high-density lipoprotein particles with a shortened apolipoprotein A-I", Nature Structural & Molecular Biology , 24 (6): 187–93, doi :10.1038/nsmb.3345
↑ Huang, CX; Zhang, YL (2013). "The target of regulating the ATP-binding cassette A1 protein (ABCA1) : promoting ABCA1-mediated cholesterol efflux in different cells". Current Pharmaceutical Biotechnology . 14 (6): 623–31. doi :10.2174/138920101131400228 . PMID 24016265 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Stephens, NA; Kieft, R; Macleod, A; Hajduk, SL (December 2012). "Trypanosome resistance to human innate immunity: targeting Achilles' heel" . Trends in Parasitology . 28 (12): 539–45. doi :10.1016/j.pt.2012.09.002 . PMC 4687903 . PMID 23059119 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Kwiterovich, PO (December 2000). "The metabolic pathways of high-density lipoprotein, low-density lipoprotein, and triglycerides: a current review". The American Journal of Cardiology . 86 (12A): 5L–10L. doi :10.1016/S0002-9149(00)01461-2 . PMID 11374859 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "HDL, HDL2, and HDL3 subfractions, and the risk of acute myocardial infarction. A prospective population study in eastern Finnish men" . 1991. PMID 2060089 .
↑ Ruidavets, JB; Ducimetière, P; Arveiler, D; Amouyel, P; Bingham, A; Wagner, A; Cottel, D; Perret, B; Ferrières, J (January 2002). "Types of alcoholic beverages and blood lipids in a French population" . Journal of Epidemiology and Community Health . 56 (1): 24–8. doi :10.1136/jech.56.1.24 . PMC 1732002 . PMID 11801616 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Partial thromboplastin time (PTT)" . MedlinePlus Medical Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-11-27. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01 .
↑ Mard-Soltani, M; Dayer, MR; Shamshirgar-Zadeh, A; Ali-Bahar, H; Nasirbagheban, Z (April 2012). "The Buffering Role of HDL in Balancing the Effects of Hypercoagulable State in Type 2 Diabetes". J Applied sciences . 12 (8): 745–52. doi :10.3923/jas.2012.745.752 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Rahilly-Tierney, CR; Spiro, A; Vokonas, P; Gaziano, JM (April 2011). "Relation between high-density lipoprotein cholesterol and survival to age 85 years in men (from the VA normative aging study)". The American Journal of Cardiology . 107 (8): 1173–7. doi :10.1016/j.amjcard.2010.12.015 . PMID 21296318 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Rubins, HB; Robins, SJ; Collins, D; Nelson, DB; Elam, MB; Schaefer, EJ; Faas, FH; Anderson, JW (2002). "Diabetes, plasma insulin, and cardiovascular disease: subgroup analysis from the Department of Veterans Affairs high-density lipoprotein intervention trial (VA-HIT)". Archives of Internal Medicine . 162 (22): 2597–604. doi :10.1001/archinte.162.22.2597 . PMID 12456232 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Barter, P; Gotto, AM; LaRosa, JC; Maroni, J; Szarek, M; Grundy, SM; Kastelein, JJ; Bittner, V; Fruchart, JC (September 2007). "HDL cholesterol, very low levels of LDL cholesterol, and cardiovascular events". The New England Journal of Medicine . 357 (13): October 1301. doi :10.1056/NEJMoa064278 . PMID 17898099 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "National Reference System for Cholesterol - Cholesterol Reference Method Laboratory Network - HDL Cholesterol Certification Protocol for Manufacturers" (PDF) . CDC. สืบค้นเมื่อ 2013-11-10 .
↑ Warnick, GR; Nauck, M; Rifai, N (September 2001). "Evolution of methods for measurement of HDL-cholesterol: from ultracentrifugation to homogeneous assays" . Clinical Chemistry . 47 (9): 1579–1596. PMID 11514391 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Okazaki, M; Sasamoto, K; Muramatsu, T; Hosaki, S (October 1997). "Evaluation of precipitation and direct methods for HDL-cholesterol assay by HPLC" . Clinical Chemistry . 43 (10): 1885–90. PMID 9342008 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Hirano, T; Nohtomi, K; Koba, S; Muroi, A; Ito, Y (May 2008). "A simple and precise method for measuring HDL-cholesterol subfractions by a single precipitation followed by homogenous HDL-cholesterol assay". Journal of Lipid Research . 49 (5): 1130–6. doi :10.1194/jlr.D700027-JLR200 . PMID 18223297 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Superko, HR; Pendyala, L; Williams, PT; Momary, KM; 3rd, King SB; Garrett, BC (2012). "High-density lipoprotein subclasses and their relationship to cardiovascular disease". Journal of Clinical Lipidology . 6 (6): 496–523. doi :10.1016/j.jacl.2012.03.001 . PMID 23312047 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
"Cholesterol Levels" . American Heart Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-02-08. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14 .
↑
"What Do My Cholesterol Levels Mean?" (PDF) . American Heart Association. September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14 .
↑
"Third Report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III) Executive Summary" (PDF ) . National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI) . National Institutes of Health. May 2001.
↑ ASHWOOD, ER; BURTIS, CA; BRUNS, DE (2008). Tietz fundamentals of clinical chemistry (6th ed.). St. Louis, MO: Saunders Elsevier. p. 415. {{cite book }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Jeyarajah, EJ; Cromwell, WC; Otvos, JD (2006). "Lipoprotein particle analysis by nuclear magnetic resonance spectroscopy" . Clin. Lab. Med . 26 (4): 847–70. doi :10.1016/j.cll.2006.07.006 . PMID 17110242 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ mesa-nhlbi.org
↑ Singh-Manoux, A; Gimeno, D; Kivimaki, M; Brunner, E; Marmot, MG (August 2008). "Low HDL cholesterol is a risk factor for deficit and decline in memory in midlife: the Whitehall II study" . Arteriosclerosis, Thrombosis, and Vascular Biology . 28 (8): 1556–62. doi :10.1161/ATVBAHA.108.163998 . PMC 2581752 . PMID 18591462 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Keene, D; Price, C; Shun-Shin, MJ; Francis, DP (2014-07-18). "Effect on cardiovascular risk of high density lipoprotein targeted drug treatments niacin, fibrates, and CETP inhibitors: meta-analysis of randomised controlled trials including 117,411 patients" . BMJ . 349 : g4379. doi :10.1136/bmj.g4379 . PMC 4103514 . PMID 25038074 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Sacks, FM; Zheng, C; Cohn, JS (2011). "Complexities of plasma apolipoprotein C-III metabolism" . Journal of Lipid Research . 52 (6): 1067–1070. doi :10.1194/jlr.E015701 . PMC 3090227 . PMID 21421846 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Fogoros, Richard N. (2009-09-15). "Raising Your HDL Levels Increasing the GOOD cholesterol" . About.com. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08 .
↑
"Effects of dietary fatty acids and carbohydrates on the ratio of serum total to HDL cholesterol and on serum lipids and apolipoproteins: a meta-analysis of 60 controlled trials" . Ajcn.org. สืบค้นเมื่อ 2015-11-05 .
↑
Ma, Y; Li, Y; Chiriboga, DE; Olendzki, BC; Hebert, JR; Li, W; Leung, K; Hafner, AR; Ockene, IS (April 2006). "Association between carbohydrate intake and serum lipids" . Journal of the American College of Nutrition . 25 (2): 155–163. doi :10.1080/07315724.2006.10719527 . PMC 1479303 . PMID 16582033 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-09-01 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Siri-Tarino, PW; Sun, Q; Hu, FB; Krauss, RM (March 2010). "Saturated fat, carbohydrate, and cardiovascular disease" . The American Journal of Clinical Nutrition . 91 (3): 502–9. doi :10.3945/ajcn.2008.26285 . PMC 2824150 . PMID 20089734 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Krauss, RM; Blanche, PJ; Rawlings, RS; Fernstrom, HS; Williams, PT (May 2006). "Separate effects of reduced carbohydrate intake and weight loss on atherogenic dyslipidemia" . The American Journal of Clinical Nutrition . 83 (5): 1025–1031. PMID 16685042 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Spate-Douglas, T; Keyser, RE (June 1999). "Exercise intensity: its effect on the high-density lipoprotein profile" . Archives of Physical Medicine and Rehabilitation . 80 (6): 691–5. doi :10.1016/S0003-9993(99)90174-0 . PMID 10378497 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 40.0 40.1 Hausenloy, DJ; Yellon, DM (June 2008). "Targeting residual cardiovascular risk: raising high-density lipoprotein cholesterol levels". Heart . 94 (6): 706–14. doi :10.1136/hrt.2007.125401 . PMID 18480348 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rosanoff, A; Seelig, MS (October 2004). "Comparison of mechanism and functional effects of magnesium and statin pharmaceuticals" . Journal of the American College of Nutrition . 23 (5): 501S–505S. doi :10.1080/07315724.2004.10719389 . PMID 15466951 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-08-31. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13 . HMG CoA Reductase is an important enzyme in lipid and cholesterol metabolism, but it is not the only one. The statins act by inhibiting, temporarily, the enzyme, in a dose response relationship whereas the magnesium ion (Mg2+) is an important part of a complex control and regulation of this important pathway. Both lower LDL-C, some statins can raise HDL-C and lower triglycerides, but Mg supplements do both quite reliably. {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Hermansen, K; Dinesen, B; Hoie, LH; Morgenstern, E; Gruenwald, J (2003). "Effects of soy and other natural products on LDL:HDL ratio and other lipid parameters: a literature review". Advances in Therapy . 20 (1): 50–78. doi :10.1007/bf02850119 . PMID 12772818 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "The Power of Fish" . The Cleveland Clinic Heart and Vascular Institute. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08 .
↑ "Vitamins and Supplements Lifestyle Guide - Flaxseed" . WebMD. สืบค้นเมื่อ 2013-08-12 .
↑ Aksoy, N; Aksoy, M; Bagci, C; Gergerlioglu, HS; Celik, H; Herken, E; Yaman, A; Tarakcioglu, M; Soydinc, S; Sari, I; Davutoglu, V (2007). "Pistachio intake increases high density lipoprotein levels and inhibits low-density lipoprotein oxidation in rats" . The Tohoku Journal of Experimental Medicine . 212 (1): 43–48. doi :10.1620/tjem.212.43 . PMID 17464102 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ ) [ลิงก์เสีย ]
↑ Mensink, RP; Zock, PL; Kester, AD; Katan, MB (May 2003). "Effects of dietary fatty acids and carbohydrates on the ratio of serum total to HDL cholesterol and on serum lipids and apolipoproteins: a meta-analysis of 60 controlled trials" . The American Journal of Clinical Nutrition . 77 (5): 1146–55. PMID 12716665 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Trans fat: Avoid this cholesterol double whammy" . Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER). สืบค้นเมื่อ 2010-06-25 .
↑ Thijssen, MA; Mensink, RP (2005). Fatty Acids and Atherosclerotic Risk . Atherosclerosis: Diet and Drugs . Springer. pp. 171–172. CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 49.0 49.1 Soudijn, W; van Wijngaarden, I; Ijzerman, AP (May 2007). "Nicotinic acid receptor subtypes and their ligands". Medicinal Research Reviews . 27 (3): 417–33. doi :10.1002/med.20102 . PMID 17238156 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Baer, DJ; Judd, JT; Clevidence, BA; Muesing, RA; Campbell, WS; Brown, ED; Taylor, PR (March 2002). "Moderate alcohol consumption lowers risk factors for cardiovascular disease in postmenopausal women fed a controlled diet" . The American Journal of Clinical Nutrition . 75 (3): 593–599. doi :10.1093/ajcn/75.3.593 . PMID 11864868 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
van der Gaag, MS; van Tol, A; Vermunt, SH; Scheek, LM; Schaafsma, G; Hendriks, HF (December 2001). "Alcohol consumption stimulates early steps in reverse cholesterol transport". Journal of Lipid Research . 42 (12): 2077–2083. PMID 11734581 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Hendriks, HF; Veenstra, J; van Tol, A; Groener, JE; Schaafsma, G (1998). "Moderate doses of alcoholic beverages with dinner and postprandial high density lipoprotein composition". Alcohol and Alcoholism . 33 (4): 403–410. doi :10.1093/oxfordjournals.alcalc.a008410 . PMID 9719399 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Clevidence, BA; Reichman, ME; Judd, JT; Muesing, RA; Schatzkin, A; Schaefer, EJ; Li, Z; Jenner, J; Brown, CC; Sunkin, M (February 1995). "Effects of alcohol consumption on lipoproteins of premenopausal women. A controlled diet study" . Arteriosclerosis, Thrombosis, and Vascular Biology . 15 (2): 179–184. doi :10.1161/01.ATV.15.2.179 . PMID 7749823 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Cuvelier, I; Steinmetz, J; Mikstacki, T; Siest, G (May 1985). "Variations in total phospholipids and high-density lipoprotein phospholipids in plasma from a general population: reference intervals and influence of xenobiotics" . Clinical Chemistry . 31 (5): 763–766. PMID 3987006 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Brenn, T (September 1986). "The Tromsø heart study: alcoholic beverages and coronary risk factors" . Journal of Epidemiology and Community Health . 40 (3): 249–256. doi :10.1136/jech.40.3.249 . PMC 1052533 . PMID 3772283 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 56.0 56.1 Penner, EA; Buettner, H; Mittleman, MA (July 2013). "The impact of marijuana use on glucose, insulin, and insulin resistance among US adults" . The American Journal of Medicine . 126 (7): 583–9. doi :10.1016/j.amjmed.2013.03.002 . PMID 23684393 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Benatar, JR; Stewart, RA (2007). "Is it time to stop treating dyslipidaemia with fibrates?" . The New Zealand Medical Journal . 120 (1261): U2706. PMID 17853928 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-07-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-29 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Meyers, CD; Kamanna, VS; Kashyap, ML (December 2004). "Niacin therapy in atherosclerosis". Current Opinion in Lipidology . 15 (6): 659–65. doi :10.1097/00041433-200412000-00006 . PMID 15529025 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rader, Daniel J. (2004). "Raising HDL in Clinical Practice" . Raising HDL in Clinical Practice: Clinical Strategies to Elevate HDL . สืบค้นเมื่อ 2009-10-08 .
↑ 60.0 60.1
Brewer, H. Bryan (2005-12-27). "Raising HDL-Cholesterol and Reducing Cardiovascular Risk: An Expert Interview With H. Bryan Brewer, Jr, MD" . สืบค้นเมื่อ 2009-10-08 .
↑
Chapman, MJ; Assmann, G; Fruchart, JC; Shepherd, J; Sirtori, C; HDL-C)), ((European Consensus Panel on (August 2004). "Raising high-density lipoprotein cholesterol with reduction of cardiovascular risk: the role of nicotinic acid--a position paper developed by the European Consensus Panel on HDL-C" . Current Medical Research and Opinion . 20 (8): 1253–68. doi :10.1185/030079904125004402 . PMID 15324528 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Drexel, H. (2006). "Reducing risk by raising HDL-cholesterol: the evidence". European Heart Journal Supplements . 8 : F23. doi :10.1093/eurheartj/sul037 .
↑ Meyers, CD; Carr, MC; Park, S; Brunzell, JD (December 2003). "Varying cost and free nicotinic acid content in over-the-counter niacin preparations for dyslipidemia" . Annals of Internal Medicine . 139 (12): 996–1002. doi :10.7326/0003-4819-139-12-200312160-00009 . PMID 14678919 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Study: Boosting Good Cholesterol With Niacin Did Not Cut Heart Risks : Shots - Health News" . NPR. 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-11-05 .
↑ "When is treatment indicated for high cholesterol level?" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-07-30.
↑ "HIGHLIGHTS OF PRESCRIBING INFORMATION" (PDF) . GlaxoSmithKline. September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2012-03-01. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03 .
↑ Wallace, JM; Schwarz, M; Coward, P; Houze, J; Sawyer, JK; Kelley, KL; Chai, A; Rudel, LL (2005). "Effects of peroxisome proliferator-activated receptor alpha/delta agonists on HDL-cholesterol in vervet monkeys". J Lipid Res . 46 : 1009–16. doi :10.1194/jlr.M500002-JLR200 . PMID 15716581 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Hwang, JS; Ham, SA; Yoo, T; Lee, WJ; Paek, KS; Lee, CH; Seo, HG (2016). "Sirtuin 1 Mediates the Actions of Peroxisome Proliferator-Activated Receptor δ on the Oxidized Low-Density Lipoprotein-Triggered Migration and Proliferation of Vascular Smooth Muscle Cells". Mol Pharmacol . 90 : 522–529. doi :10.1124/mol.116.104679 . PMID 27573670 . {{cite journal }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
แหล่งข้อมูลอื่น