Share to:

 

จังหวัดสุมาตราตะวันตก

จังหวัดสุมาตราตะวันตก

Provinsi Sumatera Barat (อินโดนีเซีย)
สถานที่สำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก
  • ซ้ายบนสุด : ท่าอากาศยานนานาชาติมีนังกาเบา
  • ซ้ายถัดลงมา : ที่ทำการรัฐบาลท้องถิ่นในปาดัง
  • ขวาบนสุด : หอนาฬิกาจัมกาดัง
  • ซ้ายกลาง : รูมะฮ์กาดัง บ้านไม้แบบดั้งเดิม
  • ขวากลาง : หุบเขางาไอเซียโระก์ในบูกิตติงงี
  • ล่างสุด : ทะเลสาบมานินเจา
ธงของจังหวัดสุมาตราตะวันตก
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดสุมาตราตะวันตก
ตรา
คำขวัญ: 
Tuah Sakato (มีนังกาเบา)
(ความรุ่งเรืองที่รวมเป็นหนึ่งเดียว)
ที่ตั้งจังหวัดสุมาตราตะวันตกในประเทศอินโดนีเซีย
ที่ตั้งจังหวัดสุมาตราตะวันตกในประเทศอินโดนีเซีย
พิกัด: 1°00′S 100°30′E / 1.000°S 100.500°E / -1.000; 100.500
ประเทศ อินโดนีเซีย
เมืองหลักปาดัง
การปกครอง
 • ผู้ว่าการจังหวัดอีร์วัน ปรายิตโน (PKS)
 • รองผู้ว่าการจังหวัดมุสลิม กาซิม
พื้นที่
 • ทั้งหมด42,012.89 ตร.กม. (16,221.27 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ค.ศ. 2014)
 • ทั้งหมด5,098,790 คน
 • ความหนาแน่น120 คน/ตร.กม. (310 คน/ตร.ไมล์)
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์มินังกาเบา (ร้อยละ 88), บาตัก (ร้อยละ 4), ชวา (ร้อยละ 4), เมินตาไว (ร้อยละ 1), อื่น ๆ (ร้อยละ 3)[1]
 • ศาสนาศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 97.4), ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 2.2), ศาสนาฮินดู (ร้อยละ 0.35), ศาสนาพุทธ (ร้อยละ 0.06)
 • ศาสนาภาษาอินโดนีเซีย, ภาษามีนังกาเบา, ภาษาเมินตาไว
เขตเวลาWIB (UTC+7)
เว็บไซต์www.sumbarprov.go.id

สุมาตราตะวันตก หรือ ซูมาเตอราบารัต (อินโดนีเซีย: Sumatera Barat) หรือเรียกอย่างย่อว่า ซุมบาร์ (Sumbar) เป็นจังหวัดทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ประชากรในปี ค.ศ. 2010 มี 4,846,909 คน และในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 มีประชากร 5,098,790 คน มีเมืองหลักคือปาดัง และมีอาณาเขตครอบคลุมถึงเกาะเมินตาไว

จังหวัดสุมาตราตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุมาตราเหนือทางทิศเหนือ จังหวัดรีเยาและจังหวัดจัมบีทางทิศตะวันออก และจังหวัดเบิงกูลูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

สุมาตราตะวันตกประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมีนังกาเบาเป็นหลัก สัญลักษณ์ประจำจังหวัดจึงเป็นภาพของหลังคาบ้านทรงโค้งซ้อนกันในบ้านพื้นเมืองมีนังกาเบาที่เรียกว่า รูมะฮ์กาดัง

หน่วยการบริหาร

พื้นที่จังหวัดอาเจะฮ์แบ่งออกเป็น 12 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 7 นครหรือโกตา และ 179 ตำบลหรือเกอจามาตัน[2][3]

อำเภอ
นคร

อ้างอิง

  1. Indonesia's Population: Ethnicity and Religion in a Changing Political Landscape. Institute of Southeast Asian Studies. 2003.
  2. Statistik Indonesia 2021 (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. 2021-02-26. pp. 45–47. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
  3. "Peraturan Kepala Badan Pusat Statistik Nomor 120 Tahun 2020 Tentang Klasifikasi Desa Perkotaan dan Perdesaan di Indonesia Tahun 2020" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya