ดัชนีการพัฒนามนุษย์
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: Human Development Index) หรือ เอชดีไอ (HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2553 รายงานการพัฒนามนุษย์ได้ริเริ่มดัชนีการพัฒนามนุษย์ปรับปรุงด้วยความไม่เท่าเทียมหรือ "ไอเอชดีไอ" (Inequality-adjusted Human Development Index; IHDI) ในขณะที่ดัชนีแบบเดิมยังถือว่ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่ โดยกล่าวว่า "ไอเอชดีไอคือดัชนีที่สะท้อนระดับการพัฒนามนุษย์ที่แท้จริง (เนื่องจากพิจารณาความไม่เท่าเทียมในสังคมด้วย)" และ "อาจมองได้ว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์แบบเดิมคือศักยภาพในการพัฒนามนุษย์ (ดัชนีไอเอชดีไอสูงสุดที่เป็นได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่สังคมมีความเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์)" ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลัก ๆ ได้แก่
ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะได้รับการจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรีของแคนาดา) เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐกิจ) หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก อย่างไรก็ดี องค์การสหประชาชาติยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วย โดยการใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์ (Human Poverty Index) ในปัจจุบันประเทศไทยได้รับการจัดเป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก จากข้อมูลใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเผยแพร่รายงานในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ[1] ดัชนีการพัฒนามนุษย์ พ.ศ. 2564โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้เผยแพร่รายงานการพัฒนามนุษย์ พ.ศ. 2565 ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 และได้คำนวณคะแนนสำหรับดัชนีการพัฒนามนุษย์จากประมาณการข้อมูลสำหรับ พ.ศ. 2564 ตารางด้านล่างต่อไปนี้คือกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนามนุษย์ "สูงมาก" จำนวน 66 ลำดับ[2][3]
ประเทศไทยประเทศไทยได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับ "สูงมาก" ซึ่งสถิติคะแนนย้อนหลัง (สำหรับการประเมินใน พ.ศ. 2564) เป็นดังต่อไปนี้
อ้างอิง
|