สำหรับเพลงในซิงเกิลลำดับที่ 3 ของวง CGM48 ดูที่
มะลิ (เพลง)
มะลิ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาในวงศ์มะลิ มีประมาณ 200 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ลักษณะดอกและกลิ่นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดหรือพันธุ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะลิมีทั้งชนิดไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบที่ลำต้นตั้งตรงหรือกางออก หรือเป็นไม้พุ่มและไม้เถา ใบเรียงใบแบบตรงข้ามหรือเรียงใบแบบสลับ สามารถเป็นใบเดี่ยว มีสามใบ หรือเป็นแบบขนนก ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2.5 ซm (0.98 in) มีสีขาวหรือเหลือง บางชนิดมีสีแดงเรื่อ ดอกแบบช่อกระจุก หนึ่งกระจุกมีอย่างน้อยสามดอก บางชนิดเป็นดอกเดี่ยวที่ปลายแขนง แต่ละดอกมี 4 - 9 กลีบดอก มี 2 ช่อง และ 1 - 4 ออวุล มีเกสรเพศผู้ที่มีก้านชูอับเรณูสั้นๆ 2 เกสร ใบประดับรูปแถบหรือรูปไข่ วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง ดอกมีกลิ่นหอม ผลแบบเบอร์รี เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุก[4][5]
จำนวนโครโมโซมพื้นฐานของสกุลคือ 13 สปีชีส์ส่วนมากเป็น diploid (2n=26) อย่างไรก็ตาม ยังมี polyploidy (จำนวนโครโมโซมมากกว่าปกติ) ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะใน Jasminum sambac (2n=39), Jasminum flexile (2n=52), Jasminum primulinum (2n=39), และ Jasminum angustifolium (2n=52)[4]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
มะลิมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในพื้นที่ทวีปเอเชีย, ทวีปแอฟริกา, และออสตราเลเซีย[6] มีประมาณ 200 ชนิด มีเพียงชนิดเดียวที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป[7] มีศูนย์กลางความหลากหลายในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]
แม้ว่าจะไม่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป มะลิหลายชนิดได้ปรับตัวกลายเป็นพืชพื้นถิ่นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น มะลิสเปน (Jasminum grandiflorum) ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอิหร่านและทางตะวันตกของเอเชียใต้ และปัจจุบันได้กลายเป็นพืชท้องถิ่นในคาบสมุทรไอบีเรีย[4]
Jasminum fluminense (บางครั้งถูกเข้าใจผิดเป็นมะลิบราซิล) และ Jasminum dichotomum (Gold Coast Jasmine) เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในรัฐฮาวายและรัฐฟลอริดา[8][9] Jasminum polyanthum เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในประเทศออสเตรเลียเช่นกัน[10]
อนุกรมวิธาน
สปีชีส์ภายใต้สกุล Jasminum จัดอยู่ภายใต้เผ่า Jasmineae ของวงศ์ Oleaceae[4] Jasminum แบ่งเป็น 5 หมู่ ประกอบด้วย Alternifolia, Jasminum, Primulina, Trifoliolata, และ Unifoliolata ชื่อสกุลกลายมาจากคำว่า Yasameen ("ของขวัญจากพระเจ้า") ในภาษาเปอร์เซียมาเป็นภาษาอาหรับและภาษาละติน[11][12][13]
สปีชีส์
ประกอบด้วย:[14]
- J. abyssinicum Hochst. ex DC.
– forest jasmine
- J. adenophyllum Wall.
– bluegrape jasmine, pinwheel jasmine, princess jasmine
- J. angulare Vahl
- J. angustifolium (L.) Willd.
- J. auriculatum Vahl
– Indian hasmine, needle-flower jasmine
- J. azoricum L.
- J. beesianum Forrest & Diels
– red jasmine
- J. dichotomum Vahl
– Gold Coast jasmine
- J. didymum G.Forst.
- J. dispermum Wall.
- J. elegans Knobl.
- J. elongatum (P.J.Bergius) Willd.
- J. floridum Bunge
- J. fluminense Vell.
- J. fruticans L.
- J. grandiflorum L.
– Catalonian jasmine, jasmin odorant, royal jasmine, Spanish jasmine
- J. humile L.
– Italian jasmine, Italian yellow jasmine
- J. anceolarium Roxb.
- J. mesnyi Hance
– Japanese jasmine, primrose jasmine, yellow jasmine
- J. multiflorum (Burm.f.) Andrews
– Indian jasmine, star jasmine, winter jasmine
- J. multipartitum Hochst.
– starry wild jasmine
- J. nervosum Lour.
- J. nobile C.B.Clarke
- J. nudiflorum Lindl.
– winter jasmine
- J. odoratissimum L.
– yellow jasmine
- J. officinale L.
– common jasmine, jasmine, jessamine, poet's jasmine, summer jasmine, white jasmine
- J. parkeri Dunn
– dwarf jasmine
- J. polyanthum Franch.
- J. sambac (L.) Aiton
– Arabian jasmine, Sambac jasmine
- J. simplicifolium G.Forst.
- J. sinense Hemsl.
- J. subhumile W.W.Sm.
- J. subtriplinerve Blume
- J. tortuosum Willd.
- J. urophyllum Hemsl.
ความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและชนชาติ
เนื่องจากมะลิมีหลายพันธุ์ และขึ้นอยู่ในภูมิภาคเอเชีย มะลิจึงมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ ในแถบเอเชียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้
- คนไทยนิยมนำดอกมะลิมาใช้ลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม ตกแต่ง ร้อยเป็นมาลัยบูชาพระ และทำเครื่องหอม นอกจากนี้มะลิยังเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ด้วยมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย[15]
- มะลิ (melati putih) เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย
- มะลิฉัตร หรือ มะลิลา (Arabian jasmine) เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์
อ้างอิง
- ↑ http://botany.si.edu/ing/INGsearch.cfm?searchword=Jasminum
- ↑ http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=116771
- ↑ http://beta.uniprot.org/taxonomy/4147
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 A.K. Singh (2006). Flower Crops: Cultivation and Management. New India Publishing. pp. 193–205. ISBN 978-81-89422-35-6.
- ↑ 5.0 5.1 H. Panda (2005). Cultivation and Utilization of Aromatic Plants. National Institute Of Industrial Research. p. 220. ISBN 978-81-7833-027-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-29.
- ↑ Ernst Schmidt, Mervyn Lötter, & Warren McCleland (2002). Trees and shrubs of Mpumalanga and Kruger National Park. Jacana Media. p. 530. ISBN 978-1-919777-30-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
- ↑ Jasminum @ EFloras.org.
- ↑ "Jasminum fluminense". Natural Resources Conservation Service PLANTS Database. USDA.
- ↑ "Jasminum dichotomum". Natural Resources Conservation Service PLANTS Database. USDA.
- ↑ "Weeds of the Blue Mountains Bushland - Jasminum polyanthum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-29.
- ↑ "jasmine, -in, jessamine, -in", OED
- ↑ "jasmine." Webster's Third New International Dictionary, Unabridged. Merriam-Webster, 2002.
- ↑ Metcalf, 1999, p. 123.
- ↑ GRIN. "Jasminum information from NPGS/GRIN". Taxonomy for Plants. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland: USDA, ARS, National Genetic Resources Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ October 19, 2012.
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 12 08 58". ฟ้าวันใหม่. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น