Share to:

 

สมาคมมวยโลก

สมาคมมวยโลก
อังกฤษ: World Boxing Association
สเปน : Asociación Mundial de Boxeo
ชื่อย่อWBA
คําขวัญSimply the pioneers.
ก่อตั้งพ.ศ. 2464 (อายุ 104 ปี) ในนามสมาคมมวยแห่งชาติสหรัฐ (National Boxing Association : NBA)
23 สิงหาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี) ในนามสมาคมมวยโลก (World Boxing Association : WBA)​
ประเภทสถาบันไม่แสวงหาผลกำไร
สํานักงานใหญ่ปานามาซิตี, ประเทศปานามา
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
ภาษาทางการ
อังกฤษ
สเปน
หัวหน้าฮิลเบร์โต เมนโดซา ยูนิออร์
เว็บไซต์www.wbaboxing.com

สำหรับ WBA ความหมายอื่น ดูที่: สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมวิชอัลเบียน

สมาคมมวยโลก (อังกฤษ: World Boxing Association , ตัวย่อ: WBA; สเปน: Asociación Mundial de Boxeo , ตัวย่อ: AMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก

ประวัติ

สมาคมมวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยการขยายโครงสร้างสถาบันออกมาจากสมาคมมวยแห่งชาติ (National Boxing Association – NBA) เดิมของสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งเป็นบุคคลในวงการมวยชาวอเมริกันและต่อมาจึงมีชาติในสมาชิกกลุ่มลาตินอเมริกาเข้าร่วมด้วยอีกหลายชาติ ประธานสมาคมมวยโลกคนแรกคือ "ชาร์ลส์ พี ลาร์สัน" ชาวอเมริกัน เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2506

ปัจจุบัน สมาคมมวยโลก เป็นอีกหนึ่งสถาบันมวยสากลที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานและได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มี "ฮิลเบร์โต เฮซุส เมนโดซา ยูนิออร์" ชาวเวเนซุเอลาเป็นประธานคนปัจจุบัน เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2559

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่สถาบันเริ่มแรกอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนมาอยู่ที่กรุงปานามาซิตี ประเทศปานามา แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่สถาบันไปที่การากัส เวเนซุเอลา จนถึงมกราคม พ.ศ. 2550 ได้ย้ายที่ตั้งสถาบันมาอยู่ที่กรุงปานามาซิตีจนถึงปัจจุบัน[1]

เข็มขัดแชมป์โลกสมาคมมวยโลก

สมาคมมวยโลกกับประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยและทวีปเอเชีย สมาคมมวยโลกมีสถาบันที่ให้การยอมรับ คือ สมาคมมวยแห่งทวีปเอเชีย (Pan Pacific and Asia Boxing Association – PABA) (ปัจจุบันได้แยกสมาคมเป็น WBA ASIA) และสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (Oriental and Pacific Boxing Federation – OPBF) มีนักมวยไทยเคยเป็นแชมป์โลกของสถาบันนี้มาแล้วหลายคน ได้แก่ โผน กิ่งเพชร , ชาติชาย เชี่ยวน้อย , เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย, เขาทราย แกแล็คซี่ , เขาค้อ แกแล็คซี่ , ชนะ ป.เปาอินทร์ , ดาวรุ่ง ชูวัฒนะ , แสน ส.เพลินจิต , วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น , หยกไทย ศิษย์ อ. , พิชิต ช.ศิริวัฒน์ , สงคราม ป.เปาอินทร์ (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล) , ศรพิชัย พิษณุราชันย์ , ยอดดำรงค์ ศิษย์ยอดธง , ยอดสนั่น 3เคแบตเตอรี่ , สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์ , เด่นเก้าแสน เก้าวิชิต , พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม , ขวัญไทย ศิษย์หมอเส็ง, พรสวรรค์ ป.ประมุข , เทพฤทธิ์ สิงห์วังชา , น็อคเอาท์ ซีพีเฟรชมาร์ท , ไผ่ผารบ ก่อเกียรติยิม (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล) , คมพยัคฆ์ ป.ประมุข (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล) , ยอดมงคล ว.แสงเทพ (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล) , และ แสตมป์ ศิษย์หมอเส็ง (เป็นเพียงแค่แชมป์เฉพาะกาล) และในต้นปี พ.ศ. 2555 ได้ยกย่องให้ เขาทราย แกแล็คซี่ เป็นสุดยอดแชมป์โลก หรือ แชมป์โลกตลอดกาล ในรุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท หรือซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์)[2]

ซูเปอร์แชมป์

สมาคมมวยโลก เป็นสถาบันที่มีซูเปอร์แชมป์ โดยนักมวยที่เป็นซูเปอร์แชมป์นั้นจะเป็นแชมป์โลกที่ป้องกันตำแหน่งได้เกิน 5 ครั้ง จะถูกยกให้เป็นซูเปอร์แชมป์ ขณะที่แชมป์โลกตัวจริงในรุ่นนั้นก็จะว่างลง จึงต้องมีการชกเพื่อหาตัวผู้เป็นแชมป์ หรือแม้กระทั่งนักมวยที่ครองแชมป์โลกของสถาบันอื่นที่ได้รับการยอมรับในระดับเดียวกัน เช่น สภามวยโลก (WBC) หรือสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ก็อาจได้รับการสถาปนาให้เป็นซูเปอร์แชมป์ของสมาคมมวยโลกได้เช่นเดียวกัน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแชมป์ของสมาคมมวยโลกแต่อย่างใด[3]

ซึ่งเรื่องนี้ ได้ก่อให้เกิดความสับสนและวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรสำหรับแฟนมวยและสื่อมวลชน ที่ทำให้ในแต่ละรุ่นมีแชมป์โลกพร้อมกันถึง 2-3 คน เพียงแค่สถาบันเดียว คือแชมป์โลก, แชมป์เฉพาะกาล, ซูเปอร์แชมป์[4]โดยทั้งนี้ยังไม่นับถึงแชมป์ของสถาบันอื่น อย่าง WBC ที่มีทั้งแชมป์เข็มขัดเงิน และแชมป์เข็มขัดเพชร[5][6] (ซึ่งบางครั้งแชมป์เหล่านี้อาจถูกเรียกในชื่อต่างกันออกไป เช่น แชมป์หนึ่งเดียว, แชมป์เกียรติยศ, แชมป์ปราศจากข้อโต้แย้ง[7][8][9]) โดยนักมวยที่ได้รับตำแหน่งซูเปอร์แชมป์ เช่น คริส จอห์น, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์, อันเซลโม โมเรโน, โรมัน กอนซาเลซ หรือทากาชิ อูจิยามะ เป็นต้น[10]

แชมป์โลกตลอดกาล

ในต้นปี พ.ศ. 2555 สมาคมมวยโลกได้ทำการคัดเลือกนักมวยที่เคยเป็นแชมป์โลกในแต่ละรุ่นของสถาบัน เพื่อที่หาผู้ที่เป็นสุดยอดแชมป์โลกจริง ๆ ซึ่งได้แก่[11]

โดยมีการประกาศเกียรติคุณขึ้นที่สำนักงานใหญ่สมาคมมวยโลก กรุงปานามาซิตี ประเทศปานามา

อ้างอิง

  1. "WORLD BOXING ASSOCIATION History". WBA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-05. สืบค้นเมื่อ 2011-08-20.
  2. "บทสัมภาษณ์". ไทยรัฐ.
  3. นันทิวัชรินทร์, ลักษมณ์ (2013-10-22). "แชมป์นี้ที่ยังงงๆ ของ "แวฮามะ"". ผู้จัดการออนไลน์.[ลิงก์เสีย]
  4. คนชอบมวย (2015-11-10). "ว่าด้วยเรื่อง ซูปเปอร์แชมป์ของ WBA". pantown.com.
  5. โจโจ้ (2014-05-18). "ใหญ่เท่ากัน". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
  6. เบียร์ บ้านสมเด็จ? (2009-07-01). "มวยโลกวิกฤต..เมื่อมีแชมป์โลกพร้อมกันถึง2+3 ต่อคนต่อรุ่น..?". thairec.
  7. "Super championships guidelines". WBA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-11-14.
  8. "WBA Super Championships". WBA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  9. "Official Ratings as of September 2008" (PDF). WBA. September 2008. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 31, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-14.
  10. Gabriel F. Cordero (November 30, 2012). ""Chocolatito" is the latest WBA super champion". Fightnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-02. สืบค้นเมื่อ 2012-11-30.
  11. "WBAชู'เขาทราย'แชมป์โลกตลอดกาลซูเปอร์ฟลายเวต". innnews.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya