Share to:

 

ชาติชาย เชี่ยวน้อย

ชาติชาย เชี่ยวน้อย
เกิดนริศ เชี่ยวน้อย
10 ตุลาคม พ.ศ. 2485
อำเภอปทุมวัน
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2561 (75 ปี)
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เขตคันนายาว
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ปอดบวม
ชื่ออื่นมาร์ซีอาโนน้อยแห่งเอเชีย
มารีซีอาโนแห่งตะวันออก
สัญชาติไทย
ส่วนสูง1.65 เมตร
น้ำหนัก51 กิโลกรัม
ช่วงระยะ166 เซนติเมตร
ท่ายืนออร์โทด็อกซ์
มาจากจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
ผู้ฝึกสอนบุญธรรม เชาว์สนิท
ช่วงปีพ.ศ. 2502–2518
สถิติมวยสากล
คะแนนรวม82
ชนะ61
โดยการน็อก36
แพ้18
โดยการน็อก5
เสมอ3
ข้อมูลอื่น
คู่สมรสสิรินทร เชี่ยวน้อย
สถิติมวยสากล จากบ็อกเรค

ชาติชาย เชี่ยวน้อย หรือเป็นที่รู้จักว่า ชาติชาย แหลมฟ้าผ่า หรือชื่อจริง นริศ เชี่ยวน้อย (10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 – 21 มกราคม พ.ศ. 2561) เป็นนักมวยสากลอาชีพชาวไทย แชมป์โลก WBCและแชมป์โลก WBAในรุ่นฟลายเวท เขาคว้าแชมป์ WBC (แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท) สองครั้งติดต่อกัน และ WBA แชมป์เปี้ยนชีพ หนึ่งครั้งก่อนที่จะสละสิทธิ์ในที่สุด

ในปีต่อมา เขาสนับสนุนการเปิดตัวระดับอาชีพของ มาซาโอะ โอบะ หลานชายของเขาเมื่ออายุ 36 ปี นักมวยชาวญี่ปุ่นและแชมป์ชาวไทยในเวลาต่อมา,Soh Ohba

วัยเด็ก

ชาติชายมีชื่อจริงว่า นริศ เชี่ยวน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 ที่ย่านหัวลำโพง อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของ ร้อยตำรวจตรี สุจิต และนางรักสอาด เชี่ยวน้อย ในจำนวนพี่น้อง 9 คน ฐานะครอบครัวของชาติชายนับว่ายากจน หลังจบ ป.4 จากโรงเรียนวัดเครือวัลย์แล้ว ชาติชายต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน โดยชาติชายชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี ที่ค่ายมวย "ลูกวังเดิม" หลังวัดใหม่พิเรนทร์ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี โดยการชกครั้งแรกของชาติชายชนะน็อกยก 2 ได้เงินรางวัล 50 บาท โดยใช้ชื่อว่า "ธนูน้อย ลูกวังเดิม"[1]

เริ่มชกมวย

จากนั้นจึงได้ย้ายค่ายมาอยู่กับ หม่อมหลวงสุทัศน์ สุประดิษฐ์ เจ้าของค่าย "แหลมฟ้าผ่า" จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ชาติชาย แหลมฟ้าผ่า" โดยชื่อชาติชายนั้น มาจากชื่อของ "ชาติชาย รัตนสิทธิ์" อดีตนักมวยไทยชื่อดัง และจากชื่อนี้เองที่ได้สร้างประสบการณ์และชื่อเสียงให้กับชาติชาย ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "ชาติชาย เชี่ยวน้อย" ตามนามสกุลตัวเอง ในเวลาต่อมา โดยได้ตระเวนชกไปทั่วทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 50 ไฟท์ รวมทั้งเอาชนะคะแนน ซันวาตอเร่ เบอรูนนี่ แชมป์โลกชาวอิตาลี ผู้ได้แชมป์จากโผน กิ่งเพชร ในการชกนอกรอบด้วย สร้างความมั่นใจอย่างมาก จากนั้นจึงได้ขึ้นชิงแชมป์โลกกับ วอลเตอร์ แม็คโกแวน นักมวยชาวอังกฤษ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก โดยชาติชายสามารถชนะทีเคโอไปได้ในยกที่ 9

แชมป์โลกคนที่สอง

ชาติชาย เชี่ยวน้อย หลังแขวนนวม

ชาติชาย นับได้ว่าเป็นแชมป์โลกคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของแฟนมวยและบุคคลร่วมสมัยตลอดกาลไม่แพ้ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกคนแรก หรือแชมป์โลกคนอื่น ๆ เลย โดยชาติชายเป็นแชมป์ถึง 3 สมัย ครองแชมป์ทั้งสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) รวมถึงเดอะริง (The Ring) มีไฟท์ในความทรงจำหลายไฟท์ เช่น การป้องกันตำแหน่งกับ พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ เจ้าของฉายา เสือหมัดซ้าย นักมวยชาวไทยด้วยกันเอง ที่เรียกว่าเป็น ศึกสายเลือด ครั้งแรกของวงการมวยไทย การผลัดแพ้ - ชนะ แอฟเฟรน ทอร์เรส นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่แฟนมวยชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า ไอ้แมงป่อง หรือการชกกับ มาซาโอะ โอบะ นักมวยอันตรายชาวญี่ปุ่น รวมถึงการชกกับ เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย นักมวยชาวไทยระดับแชมป์โลกอีกคน โดยชาติชายได้มีโอกาสชกต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลายต่อหลายครั้ง และมีพระกรุณาต่อชาติชายอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงตรึงอยู่ในความทรงจำของชาติชายตราบจนปัจจุบัน

ชีวิตส่วนตัว

ชาติชาย เชี่ยวน้อย เป็นนักมวยรูปร่างเล็ก แต่มีจิตใจที่กล้าหาญ ไม่กลัวใคร เป็นมวยในสไตล์ไฟเตอร์ เดินหน้าไม่มีหยุด ชกสนุก เดินทางไปชกทั่วโลก มีสถิติการชกมากมาย จนนับได้ว่าเป็นแชมป์โลกที่มีสถิติการชกมากที่สุดของไทยตราบจนปัจจุบัน จนได้รับฉายาจากแน็ต แฟลชเชอร์ บรรณาธิการนิตยสารเดอะริง ว่า มาร์ซีอาโนน้อยแห่งเอเชีย (มาจาก รอคกี มาร์ซีอาโน แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทผิวขาว ชาวอเมริกันร่วมสมัย) ที่ขากางเกงของชาติชายเมื่อขึ้นชก จะปักอักษรคำว่า BOY ไว้เสมอ โดยเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนแรกคือ จรัลโรจน์ เชี่ยวน้อย รวมถึงคำว่า BLE ด้วย ซึ่งเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนที่สอง คือ สัญชัย เชี่ยวน้อย แต่กางเกงแบบหลังนี้ไม่ค่อยเป็นที่คุ้นเคยเหมือนแบบแรก

ชาติชาย เป็นนักมวยที่ตระเวนชกไปทั่วโลก ไปในหลายประเทศ ทั้งที่กัมพูชา, ญี่ปุ่น หรือนิคารากัว จึงมีสถิติการชกที่มากมาย และทำให้เป็นนักมวยที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยเป็นคนที่ชื่นชอบเสวนาและคบหากับชาวต่างชาติ ชาติชายโดยปกติแล้ว เป็นนักมวยที่ประสบปัญหาการลดน้ำหนักตัวเป็นอย่างมากในการชกแต่ละครั้ง ในบางครั้งเคยลดเกือบถึง 20 กิโลกรัม จนหลายครั้งเจ้าตัวเกิดความเครียด จนทำร้ายตัวเองด้วยการใช้ศีรษะโขกกับฝาผนังบ้าน หรือแม้กระทั่งกระโดดจากเฟอร์นิเจอร์แล้วทิ้งศีรษะลงฟาดกับพื้นก็มี เหล่านี้แม้กระทั่งครอบครัวก็ไม่อาจจะช่วยอะไรได้[1]

หลังแขวนนวม ชาติชาย มีชีวิตความเป็นอยู่สุขสบายตามอัตภาพ ชาติชายมีภรรยา คือ นางสิรินทร (ชื่อเล่น: อู๊ด) ที่สมรสอยู่กินกันก่อนที่ชาติชายจะได้แชมป์โลก ทั้งคู่มีลูกและหลานด้วยกันหลายคน มีฐานะมั่นคงจากหยาดเหยื่อแรงกายเมื่อครั้งสมัยรุ่งโรจน์ มีที่ดินหลายไร่และบ้านหลายหลัง ทั้งที่จังหวัดปทุมธานี, นครนายก และเชียงใหม่ ที่เจ้าตัวซื้อไว้สมัยที่ยังเป็นแชมป์โลก ปัจจุบัน ชาติชายได้ล้มป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จากโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นผลมาจากการชกมวย โดยป่วยมานานก่อนจะทรุดหนักลงตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2555 โดยเข้า ๆ ออก ๆ รักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯหลายครั้ง ที่สุด ชาติชายต้องย้ายมาอยู่ที่บ้านที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยบ้านที่เชียงใหม่ต้องประกาศขายเนื่องจากต้องการเงินมาเป็นค่ารักษาในแต่ละเดือนซึ่งต้องใช้จ่ายกว่า 50,000 บาท โดยมีภรรยาและอนุตรา (ชื่อเล่น: บี) ลูกสาว พร้อมกับลูกเขย ผู้เป็นสามีของอนุตราเป็นผู้ดูแล[2]

ชาติชายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ด้วยภาวะปอดติดเชื้อ สิริอายุได้ 76 ปี [3]

Soh Ohba,นักมวยชาวญี่ปุ่น Soh ได้รับการสนับสนุนมากมายเมื่อเขาเปิดตัวอาชีพในประเทศไทยเมื่ออายุ 36 ปี

เกียรติประวัติ

สถิติการชก (เฉพาะที่ไปชกต่างประเทศ)

ชาติชายเป็นนักมวยสากลชาวไทยที่ออกไปชกต่างแดนหลายครั้งทั้งชกป้องกันแชมป์และชกนอกรอบ เท่าที่บันทึกได้มีดังต่อไปนี้[5]

  • พ.ศ. 2502 เสมอ สละกัมพุช (ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา) ที่ กรุงพนมเปญ
  • พ.ศ. 2502 ชนะน็อค ยก 2 ยู่ สำอาง (กัมพูชา) ที่ พนมเปญ
  • พ.ศ. 2502 ชนะคะแนน วันโพธิ์ (กัมพูชา) ที่ พนมเปญ
  • 2 กันยายน พ.ศ. 2503 ชนะน็อค มาซาโนบุ กันบายาชิ (ญี่ปุ่น) ยก 8 ที่ โตเกียว
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2503 ชนะน็อค อัตสึโยชิ ฟูกูโมโตะ (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ชนะคะแนน โยชิคัตสึ ฟูจิกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ชนะคะแนน มาซาโอะ โอกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 4 มกราคม พ.ศ. 2504 แพ้คะแนน มิตสุโนริ เซกิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 19 เมษายน พ.ศ. 2504 ชนะน็อค คัตสึโยชิ อมาด้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โตเกียว
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ชนะน็อค อีด้า บาชิโอะ (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2504 แพ้คะแนน อกิร่า โอกูจิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ชนะน็อค มาซาคัตสึ กูโรกิ (ญี่ปุ่น) ยก 7 ที่ โอซาก้า
  • 17 สิงหาคม พ.ศ. 2504 แพ้คะแนน ฮารูโกะ สกาโมโต้ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2504 ชนะน็อค ฮิโรยูกิ โอกาวา (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ชนะน็อค เบบี้ เอสปิโนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 6 ที่ เซบู
  • 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชนะคะแนน ฟรีโม ฟามีโร่ (ฟิลิปปินส์) ที่ กรุงมะนิลา (ชิงแชมป์ภาคฯรุ่นฟลายเวท)
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2505 แพ้คะแนน ฮิโรยูกิ เอบิฮาร่า (ญี่ปุ่น) ที่ กรุงโตเกียว
  • 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ชนะน็อค เซซากิ ไซโต้ (ญี่ปุ่น) ยก 8 ที่ โตเกียว
  • 7 มิถุนายน พ.ศ. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โอซาก้า (ป้องกันแชมป์ภาคฯรุ่นฟลายเวท)
  • 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ชนะคะแนน ทาดาโอะ กาวามูระ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506 เสมอ คัตสุมิ ยามากามิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ชนะคะแนน ยูจิ อิชิยาม่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2507 ชนะน็อค แพ็ต กอนซาเลซ (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ เซบู
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ชนะคะแนน รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ที่ มะนิลา
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ชนะน็อค ลิตเติล พาราเมา (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ มะนิลา
  • 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 แพ้คะแนน เบอร์นาโด้ คาราบัลโล่ (ฟิลิปปินส์)
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2508 ชนะน็อค รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ เกซอน ซิตี้
  • 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ชนะน็อค รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 3 ที่ มะนิลา
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ชนะน็อค เชอร์รี่ มอนตาโน (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ มะนิลา
  • 22 สิงหาคม พ.ศ. 2508 แพ้คะแนน ฮาจิเม ทาโรอูระ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2510 ชนะน็อค ยก 7 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (สหราชอาณาจักร) ที่ กรุงลอนดอน อังกฤษ บางแห่งว่าชนะคะแนน ? (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2511 ชนะน็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 13 ที่ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2511 แพ้คะแนน ราตอง โมจิก้า (ธงของประเทศนิการากัว นิการากัว) ที่ กรุงมานากัว
  • 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 แพ้น็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 8 ที่ กรุงเม็กซิโก ซิตี้ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2516 แพ้น็อค ยก 12 มาซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ที่ กรุงโตเกียว (ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
  • 29 มกราคม พ.ศ. 2517 แพ้คะแนน เฟอร์นันโด คาบาเนลล่า (ฟิลิปปินส์) ที่ ฮาวาย
  • 27 เมษายน พ.ศ. 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์วิต (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ ซูริก, สวิตฯ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2517 แพ้น็อค ซูซูมุ ฮานากาต้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โยโกฮาม่า (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2518 แพ้น็อค ยก 6 โรดอลโฟ ฟรานซิส (ธงของประเทศปานามา ปานามา) ที่ กรุงปานามา ซิตี้

เชิงอรรถ

  1. บางแห่งว่าชนะคะแนน ?

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 วีรบุรุษยอดนักชก มาซีอาโนแห่งเอเชีย ชาติชาย เชี่ยวน้อย, "มวยสยาม EXTRA" (มีนาคม 2556) โดย สยามสปอร์ต
  2. หน้า 18 ต่อข่าวกีฬาหน้า 17, ญาติวอนช่วย ชาติชาย นอนป่วยนาน 3 ปี ประกาศขายบ้าน !. คมชัดลึกกีฬาปีที่ 15 ฉบับที่ 5354: วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  3. สิ้นลม”ชาติชาย เชี่ยวน้อย”ตำนานแชมป์โลกคนที่2ชาวไทย !!, ข่าวสดออนไลน์
  4. เทปการชกของ ชาติชาย เชี่ยวน้อย กับ แอฟเฟรน ทอร์เรส.
  5. เกี่ยรติตระกูล ใจไทย. ชาติชาย เชี่ยวน้อย แชมป์โลกเจ้าน้ำตาหมัดภูผาหิน.กทม.ดอกหญ้า.2545

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya