หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล
พันเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (1 มกราคม พ.ศ. 2521) เป็นพระโอรสใน พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประสูติแต่หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ลำดับที่ 2 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เป็นพระอนุวงศ์ที่มีพระชันษาน้อยที่สุดในปัจจุบัน เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าที่มีพระชันษาน้อยที่สุดเป็นลำดับที่ 2 รองจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ อีกทั้งเป็นผู้ถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ปัจจุบันทรงเป็นข้าราชการในพระองค์ ฝ่ายทหาร ตำแหน่งนายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[2] ประวัติและการงานพันเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (พระนามเดิม หม่อมเจ้าปีใหม่ ยุคล) ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2521 เป็นโอรสใน พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประสูติแต่หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ถาวร) เป็นพระนัดดาในพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดา (เหลน) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังเป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ใน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในปัจจุบัน หม่อมเจ้านวพรรษ์ มีขนิษฐาร่วมพระมารดาหนึ่งองค์ คือ ท่านหญิงภานุมา พิพิธโภคา ทั้งนี้หม่อมเจ้านวพรรษ์ยังมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา (น้าชาย) ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และนอกจากนี้ยังเป็นพระอัยกาฝ่ายมารดา หรือ (หลานตา)ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล ทรงเข้ารับราชการทหารในสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยในพระยศว่าที่ร้อยตรี ทรงสำเร็จหลักสูตรการรบแบบจู่โจม รร.ร.ศร. ปีงบประมาณ 2553 และ หลักสูตรส่งทางอากาศ โรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าชุดซุ่มยิงศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย (ศตก.บก.ทท.) โดยทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 128 ในปี พ.ศ. 2555 และสำเร็จหลักสูตรปฏิบัติการต่อต้านก่อการร้าย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยเอก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศทหารเป็นกรณีพิเศษให้ ร้อยเอกหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เป็น พันโท[3][4] กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารราชองครักษ์พิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[5] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์[6][7] และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พันโทหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เป็นข้าราชการในพระองค์ ฝ่ายทหาร ตำแหน่งนายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พันเอก) และพระราชทานยศ พันเอก โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม ชีวิตส่วนพระองค์พันเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เสกสมรสกับ หม่อมอัญวิดา ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สง่าศิลป์) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพิธีเสกสมรสพระราชทาน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง[8] มีธิดาสองคน คือ
ครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ Southern Cross University ประเทศออสเตรเลีย หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา เสด็จกลับมาช่วยงานพระมารดา ในกิจการส่วนองค์และประกอบกรณียกิจแทนพระองค์เป็นครั้งคราว โดยโปรดการปั่นจักรยานเสือภูเขาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันทรงทำธุรกิจเปิดร้าน TANKstore[9] และ Pro Cam-Fis นอกจากนี้ พันเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล ยังโปรดการผจญภัยกับกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เรือใบ, พายเรือคายัคและเซิฟสกี (Kayak & Surfski) และทรงเคยลงแข่งรถมินิมาแล้วหลายครั้ง[10] กรณียกิจหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล ทรงประกอบพระกรณียกิจต่าง ๆ เช่น พ.ศ. 2551 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้รับเกียรติให้อัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ในขบวนพระอิสริยยศ พร้อมด้วยเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ สมาชิกราชสกุลและราชนิกูล ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง และ พระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีกงเต๊กถวายเป็นพระราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณ โปรดให้จัดตามธรรมเนียมจีน 4 เมษายน พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จแทนพระองค์ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการเชิญถ้ำพระบุพโพ ไปขึ้นเกยประดิษฐานบนพระวอวิมานพร้อมหีบเครื่องพระบุพโพ เข้าขบวนเชิญออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อพระราชทานเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยมีหม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เป็นองค์ประธานในพระราชพิธี 9 เมษายน พ.ศ. 2555 ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับเกียรติให้อัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ ในขบวนพระอิสริยยศ พร้อมด้วยเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ สมาชิกราชสกุลและราชนิกูล ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ในงานสวดพระอภิธรรมพระศพสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จเป็นองค์ประธานในการถวายภัตตาหารเพล ในพระพิธีธรรมรับพระราชทานฉันเพลแด่พระภิกษุสงฆ์จากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร 4 รูป ที่สวดพระอภิธรรมพระศพ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม ที่สวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และเป็น 1 ใน 129 คน จาก 100 ราชสกุล ที่ได้เดินในริ้วขบวนฯ ในส่วนของราชสกุล[11] 19 กันยายน พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เสด็จแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสังฆทานและเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ณ ศาลาการเปรียญ วัดพระญาติการาม[12] 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พันโทหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการประทานโล่รางวัล ในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6 ราชภัฏ ราชภักดิ์" ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา[13] พระเกียรติยศ
พระยศทางทหารเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
อ้างอิง
|