Share to:

 

อำเภอขุนยวม

อำเภอขุนยวม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khun Yuam
คำขวัญ: 
บัวตองบาน ธารน้ำใส
น้ำใจงาม นามขุนยวม
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอขุนยวม
แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอขุนยวม
พิกัด: 18°50′22″N 97°57′5″E / 18.83944°N 97.95139°E / 18.83944; 97.95139
ประเทศ ไทย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,698.3 ตร.กม. (655.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด23,696 คน
 • ความหนาแน่น13.95 คน/ตร.กม. (36.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 58140
รหัสภูมิศาสตร์5802
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอขุนยวม เลขที่ 889
หมู่ที่ 1 ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ขุนยวม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาและสายน้ำ ประชากรมีเชื้อสายทั้งชาวเขา ไทใหญ่ จีน และพม่า นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดและของภาคเหนือ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอขุนยวมตั้งอยู่บนที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

บ้านขุนยวมมีนามเดิมเป็นภาษาไทยใหญ่ว่า “บ้านกุ๋นยม” แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพวกลัวะ มาก่อนประมาณ 350 ปี ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดทราบจากคำบอกเล่าสืบทอดติดต่อกันมา และสังเกตจากวัดร้างที่มีพระธาตุเจดีย์ซึ่งชำรุดทรุดโทรม และพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน ฝีมือชาวลัวะสร้างไว้หลายสิบองค์ปรากฏอยู่ ลัวะเป็นเชื้อชาติที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น สร้างบ้านเรือนอยู่ที่ไหนก็จะสร้างวัดอารามขึ้นไว้เป็นที่เคารพสักการะ บูชา เช่นเดียวกับชาวไทยใหญ่สันนิษฐานตามหลักฐานที่พบเห็นแล้ว บ้านขุนยวมเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ทั้งนี้โดยคาดคะเนจากหลักฐานวัดร้างที่อยู่ทั้งในและนอกบริเวณเขตสุขาภิบาลประมาณ 15 แห่ง ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้าง โดยเฉพาะทางแถบบริเวณตอนเหนือของหมู่บ้าน

ตามหลักฐานที่สามารถยืนยันได้เมื่อ พ.ศ. 2390 บ้านขุนยวมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีประมาณ 20 หลังคาเรือนเท่านั้น ยังไม่เจริญใหญ่ดังเช่นในปัจจุบัน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นก่อนหมู่บ้านอื่นในเขตอำเภอขุนยวม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพมาจากรัฐฉานของสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า และส่วนมากเป็นผู้มีเชื้อสายไทยใหญ่ เริ่มตั้งหมู่บ้านครั้งแรก จากริมห้วยข้างวัดโพธารามปัจจุบันขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (เจ้าเมือง) แล้วจึงขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบบนภูเขา

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอขุนยวมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[9]
1. ขุนยวม Khun Yuam
6
8,323
2. แม่เงา Mae Ngao
8
3,190
3. เมืองปอน Mueang Pon
10
4,282
4. แม่ยวมน้อย Mae Yuam Noi
8
2,570
5. แม่กิ๊ Mae Ki
5
1,604
6. แม่อูคอ Mae Ukho
6
3,744

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอขุนยวมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลขุนยวม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลขุนยวม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุนยวม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนยวม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลขุนยวม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เงาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองปอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยวมน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กิ๊ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กิ๊ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่อูคอทั้งตำบล

ประชากร

จากการประมาณการประชากรของอำเภอขุนยวมเมื่อ พ.ศ. 2561–2564 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ร้อยละ 75 อาศัยกระจายตัวอยู่พื้นที่ชนบทโดยรอบ รองลงมาเป็นชาวไทใหญ่ อาศัยอยู่ในเขตตัวเมืองและเทศบาล ได้แก่ ตำบลเมืองปอน และตำบลแม่เงา ส่วนชาวม้งพบแหล่งอาศัยอยู่สองหมู่บ้าน คือ บ้านแม่อูคอ และบ้านปางตอง ในตำบลแม่อูคอ[10] ส่วนชาวไทยวนหรือคนเมืองมีจำนวนน้อย อาศัยปะปนกับชาวไทใหญ่ และมีวัฒนธรรมที่ผสมกลมกลืนไปกับชาวไทใหญ่[11] ขณะที่ข้อมูล ประชาชนบนที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2558 ให้ข้อมูลว่า ประชากรราวครึ่งหนึ่งของอำเภอขุนยวมเป็นชาวพื้นราบ คือชาวไทใหญ่ ไทยวน และคนไทยจากภูมิภาคอื่น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นประชาชนบนที่สูง ได้แก่ ชาวกะเหรี่ยง จำนวน 12,152 คน คิดเป็นร้อยละ 95.03 และชาวม้ง จำนวน 635 คน คิดเป็นร้อยละ 4.97 ของประชาชนบนที่สูง[12] ประชากรส่วนใหญ่สื่อสารกันด้วยภาษากะเหรี่ยง โดยเฉพาะตำบลแม่ยวมน้อย มีประชากรใช้ภาษากะเหรี่ยงร้อยละ 98 ของประชากรทั้งตำบล[13]

ประชากรในอำเภอขุนยวมมีทั้งผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์อาศัยอยู่ร่วมกัน[14][15] อย่างเช่น ตำบลแม่อูคอใน พ.ศ. 2563 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 75 และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 25[16] ตำบลแม่ยวมน้อย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 95 และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 5[13] ขณะที่ตำบลแม่กิ๊ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 99 ส่วนประชากรที่เหลือนับถือศาสนาพุทธ[17]

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 198–199. May 15, 1910. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (44 ง): 3438–3439. August 15, 1922.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-70. August 3, 1956.
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอขุนยวมและกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (114 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-31. November 23, 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2865–2868. August 16, 1983.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 51-55. September 12, 1990.
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  9. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  10. บุญส่ง เจริญเด่นสุริน. รายงานผลการปฏิบัติงานนโยบาย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ ประจำปีงบประมาณ 2563. แม่ฮ่องสอน : สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน, 2563. 19 หน้า. หน้า 5.
  11. ข้อมูลทั่วไปอำเภอขุนยวม. [ม.ป.ท.] : จังหวัดแม่ฮ่องสอน, 2564. 62 หน้า. หน้า 12.
  12. สุรพจน์ มงคลเจริญสกุล และจารุวรรณ อุทาปา. กลุ่มชาติพันธุ์และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.]. 88 หน้า. หน้า 63, 69.
  13. 13.0 13.1 "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยวมน้อย. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. ธีรวัฒน์ รังแก้ว (5 สิงหาคม 2565). "ตำบลเมืองปอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วัฒนธรรมอันหลากหลาย คนอยู่กับป่าบนฐานความมั่นคงทางอาหารจากธรรมชาติและวิถีไร่หมุนเวียน (แปลงสุดท้าย) เชื่อมโยงสู่การจัดสวัสดิการอาหาร (ธนาคารข้าว) #เรื่องดีดีที่ชุมชน". สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-17. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. บุญส่ง เจริญเด่นสุริน. รายงานผลการปฏิบัติงานนโยบาย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ ประจำปีงบประมาณ 2563. แม่ฮ่องสอน : สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน, 2563. 19 หน้า. หน้า 9-10.
  17. "ข้อมูลทั่วไป". องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กิ๊. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
Kembali kehalaman sebelumnya