Share to:

 

กลุ่มเพื่อนเนวิน

กลุ่มฅนบุรีรัมย์
กลุ่มเพื่อนเนวิน
ผู้ก่อตั้งเนวิน ชิดชอบ
หัวหน้าอนุชิต เหลืองชัยศรี
ก่อนหน้าพรรคไทยรักไทย
อุดมการณ์ประชานิยม และ ท้องถิ่นนิยม
จุดยืนขวากลาง

กลุ่มเพื่อนเนวิน เป็นกลุ่มแยกการเมืองที่ก่อตั้งโดยเนวิน ชิดชอบ นอกจากนี้ ยังเป็นชื่อกลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่นของ จังหวัดบุรีรัมย์ อีกด้วย

เนวิน ชิดชอบ หัวหน้ากลุ่มเพื่อนเนวิน

สภาผู้แทนราษฎร

กลุ่มเพื่อนเนวินมีพลังในการต่อรองทางการเมืองสูงมากภายในพรรคพลังประชาชน จนแกนนำของกลุ่มอย่างเนวินถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน แก๊งออฟโฟร์ ซึ่งกุมบังเหียนของพรรค และกลุ่มเพื่อนเนวินเป็นกลุ่มที่ร่วมสนับสนุนให้ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชาชนอีกด้วย โดยสื่อมวลชนได้ลงข้อมูลไว้ว่า ในช่วงแรกๆ นั้น กลุ่มเพื่อนเนวินมีสมาชิกถึง 100 กว่าคน ต่อมาเกิดปัญหาภายในกลุ่ม จนแยกไปตั้งกลุ่มอีสานพัฒนา ทำให้ในขณะนั้นมีสมาชิกเหลือทั้งหมด 72 คน

และภายหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูก ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ยุบพรรคในปลายปี พ.ศ. 2551 กลุ่มเพื่อนเนวินเป็นกลุ่มสำคัญที่ผลักดันให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จาก พรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ[1] จนเกิดวลีทางการเมืองขึ้นมาว่า "มันจบแล้วครับนาย"[2] โดยต่อมาสมาชิกกลุ่มนี้อยู่ในสังกัด พรรคภูมิใจไทย ร่วมกับสมาชิก พรรคมัชฌิมาธิปไตย เดิมของ สมศักดิ์ เทพสุทิน[3]

สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวิน (72)

ผู้นำกลุ่ม

รายชื่อ สส.ในกลุ่มที่ดำรงตำแหน่งในสภาขณะนั้น (23)

สมาชิกทุกคนในที่นี้ (ยกเว้น ชัย ชิดชอบ ประธานสภาในขณะนั้น) ลงมติเห็นชอบสนับสนุน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

  1. เฉลิมชาติ การุญ สส.สกลนคร
  2. ชัย ชิดชอบ สส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 4 (เสียชีวิต 24 มกราคม พ.ศ. 2563)[4]
  3. เชิดชัย วิเชียรวรรณ สส.อุดรธานี
  4. ทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤาชัย สส.สกลนคร
  5. บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ สส.นครราชสีมา
  6. ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ สส.ขอนแก่น
  7. ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล สส.บุรีรัมย์
  8. ปัญญา ศรีปัญญา สส.ขอนแก่น
  9. พัฒนา สังขทรัพย์ สส.เลย
  10. เพิ่มพูน ทองศรี สส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 4
  11. ภิรมย์ พลวิเศษ สส.นครราชสีมา
  12. มนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ สส.บุรีรัมย์
  13. มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ สส.นนทบุรี
  14. ยรรยง ร่วมพัฒนา สส.สุรินทร์
  15. รังสิกร ทิมาตฤกะ สส.บุรีรัมย์
  16. เลิศศักดิ์ ทัศนเศรษฐ สส.สุรินทร์
  17. วิเชียร อุดมศักดิ์ สส.อำนาจเจริญ
  18. วีระ รักความสุข สส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 (เสียชีวิต 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552)[5]
  19. ศุภชัย โพธิ์สุ สส.นครพนม อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2
  20. สนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์
  21. สันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรี
  22. สุชาติ โชคชัยวัฒนากร สส.มหาสารคาม
  23. โสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์

รายชื่อสมาชิกในกลุ่มที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่ง สส. (2)

  1. ศุภชัย ใจสมุทร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  2. ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรองนายกรัฐมนตรี

รายชื่อสมาชิกในกลุ่มที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองใน คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 (5)

  1. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง อดีตโฆษกพรรคพลังประชาชน
  2. ทรงศักดิ์ ทองศรี อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  3. ธีระชัย แสนแก้ว อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  4. บุญลือ ประเสริฐโสภา อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  5. สุทิน คลังแสง สส.มหาสารคาม[6]

อดีตสมาชิก (1)

  1. สุพล ฟองงาม สส.อุบลราชธานี (ย้ายไปพรรคเพื่อไทย ภายหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ)

การเมืองท้องถิ่น

นอกจากเป็นกลุ่มการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว กลุ่มเพื่อนเนวินก็ถูกนำมาใช้เป็นชื่อกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย

ใน การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2551 กลุ่มเพื่อนเนวินได้ส่ง กรุณา ชิดชอบ ภรรยาของเนวิน ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งนายก อบจ.[7] ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น กรุณาได้รับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2555

ใน การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 กลุ่มเพื่อนเนวินได้ส่งผู้สมัครนายก อบจ. และผู้สมัคร ส.อบจ. โดยกลุ่มได้ส่ง ภูษิต เล็กอุดากร หลานชายของเนวิน เป็นผู้สมัครตำแหน่งนายก อบจ. แทนกรุณา ชิดชอบ เนื่องจากกรุณาตัดสินใจไม่ลงสมัครในรอบนี้ โดยเธอได้กล่าวว่า หลังจากที่ตนเป็นนายก อบจ.บุรีรัมย์ มากว่า 10 ปีแล้ว ก็อยากจะส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่บ้าง ทั้งมั่นใจว่า ผลงานที่ผ่านมาทั้งของตัวเอง และทีม ส.จ.ที่ทำงานเพื่อประชาชนมาตลอดจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร[8] ภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ภูษิตได้รับคะแนนทั้งสิ้น 439,547 คะแนน ทิ้งห่างคะแนนของลำดับสองไปกว่าสามแสนคะแนน[9]

ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2564 กลุ่มเพื่อนเนวินได้ส่งผู้สมัครเช่นกัน โดยในการเลือกตั้งครั้งนั้น สุพจน์ สวัสดิพุทรา อดีตนายกเทศมนตรีตำบลอิสาณในกลุ่ม ชนะอุชษณีย์ ชิดชอบ อดีต สว. บุรีรัมย์ และเป็นพี่สาวของเนวิน ซึ่งพื้นที่ตำบลอีสาณนั้นเป็นพื้นที่สำคัญของตระกูลชิดชอบ[10] ทว่า ยุทธชัย พงศ์พณิช อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ซึ่งลงสมัครตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ พ่ายแพ้ให้กับ สกล ไกรรณภูมิ อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ในนามกลุ่มรักษ์บุรีรัมย์ และเคยร่วมกลุ่มเพื่อนเนวินมาก่อนด้วย ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกจับตามองว่าเป็นความพ่ายแพ้ที่เหนือความคาดหมาย[11]

ในปี พ.ศ. 2567 กลุ่มเพื่อนเนวินเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มฅนบุรีรัมย์ โดยเคลื่อนไหวในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครบุรีรัมย์ และสมาชิกสภาเทศบาลนครบุรีรัมย์ พ.ศ. 2567 โดยกลุ่มได้ส่ง อนุชิต เหลืองชัยศรี หัวหน้ากลุ่มฅนบุรีรัมย์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมสมาชิกสภาเทศบาลนครบุรีรัมย์ของกลุ่ม โดยอนุชิตได้รับเลือกตั้ง[12]

เมื่อวาระของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหมดลง กลุ่มฅนบุรีรัมย์ได้สนับสนุน ภูษิต เล็กอุดากร ลงสมัครอีกสมัย[13]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2551 กรุณา ชิดชอบ 270,388[14]  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2555 416,086 66.86%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2563 ภูษิต เล็กอุดากร 439,547 64.34%  สำเร็จ ได้รับเลือกตั้ง
2568

การเปลี่ยนขั้วทางการเมือง

หลังสมัคร สุนทรเวชพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จากการสัมภาษณ์ของ ศุภชัย ใจสมุทร อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ความว่า[15]

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ สมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ติดต่อ เนวิน ชิดชอบ ว่า ขอให้แจ้งกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังประชาชนว่า ให้สนับสนุนสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป เนวินจึงแจ้งกับ สส. พรรค และให้มีการติดต่อไปหาสมัครให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยสมัครตอบตกลงในอีก 3 วันต่อมา[16]

วันที่ 12 กันยายน เมื่อถึงเวลาประชุมสภา ซึ่งจะมีการตกลงให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง กลับมีแต่ สส. พรรคพลังประชาชนกลุ่มเพื่อนเนวิน และพรรคประชาธิปัตย์มาประชุม ไม่มี สส. พรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ เลย ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ไม่สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนั้นได้[17] โดยมีการกล่าวอีกว่า ในวันนั้นได้มีบุคคลไปประสานกับพรรคร่วมรัฐบาลว่า อย่าได้ไปสภา ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ หลังจากนั้น การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551 พรรคพลังประชาชนเสนอชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน โดยศุภชัยกล่าวถึงความรู้สึกในขณะนั้นว่า เป็นเหมือนการหักหลังสมัคร สุนทรเวช

เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ และให้ สส. ในพรรคย้ายไปยังพรรคเพื่อไทย และให้ลงมติสนับสนุนให้ ประชา พรหมนอก ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนวินตัดสินใจไม่เข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย และไปร่วมกับอดีต สส. กลุ่มมัชฌิมา จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย เพื่อสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน หลังจากนั้นก็ได้มีความพยายามที่จะติดต่อเนวินให้พา สส. กลุ่มเพื่อนเนวิน กลับมาอยู่กับพรรคเพื่อไทย แต่ปรากฏว่านายเนวินไม่รับโทรศัพท์จากแกนนำของพรรคเพื่อไทย เป็นเหตุให้ ทักษิณ ชินวัตร ต้องโทรศัพท์ถึงเนวินเพื่อเจรจาด้วยตัวเอง พร้อมกลับต่อว่านายเนวินว่าไม่สำนึกในบุญคุณ แต่นายเนวินยังยืนกรานว่าจะอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์

ศุภชัย โพธิ์สุ สส. นครพนม กลุ่มเพื่อนเนวิน อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ระหว่างที่ทักษิณสนทนากับเนวินอยู่นั้น ปรากฏว่าเนวินมีสีหน้าไม่สู้ดี โดยพูดเพียงสั้นๆ ว่า “ทุกอย่างจบแล้วครับนาย”[18]

หลังจากยิ่งลักษณ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมเป็นพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาเริ่มมีกระแสข่าวว่าพรรคภูมิใจไทยทั้งกลุ่มมัชฌิมาที่นำโดย สมศักดิ์ เทพสุทิน และกลุ่มเพื่อนเนวิน มีท่าทีต้องการที่จะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย กระทั่งในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 พรรคภูมิใจไทย ประกาศไม่ร่วมอภิปรายกับพรรคฝ่ายค้าน และลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรี โดยกลุ่มมัชฌิมาได้ลงมติไว้วางใจ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, เฉลิม อยู่บำรุง, สุกำพล สุวรรณทัต, และ ชัจจ์ กุลดิลก ส่วน สส.กลุ่มเพื่อนเนวินไว้วางใจแค่ยิ่งลักษณ์ งดออกเสียงในส่วนของเฉลิมกับสุกำพล และลงมติไม่ไว้วางใจชัจจ์[19]

การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในปี พ.ศ. 2566

แม้จะมีความขัดแย้งมานานร่วมสิบปี รวมถึงเคยถูกโจมตีด้วยการจัดการปราศรัย "ไล่หนูตีงูเห่า" ที่จังหวัดศรีสะเกษเมื่อปี พ.ศ. 2565[20] แต่ในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในปี พ.ศ. 2566 หลังจากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้วยกเลิกบันทึกความเข้าใจที่ทำกับพรรคก้าวไกลในฉบับแรก พรรคเพื่อไทยได้เชิญให้พรรคภูมิใจไทยมาร่วมรัฐบาลเป็นพรรคแรก จึงทำให้รวมเสียงกับพรรคเพื่อไทยได้ 212 เสียง โดยชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ได้ระบุว่า การปราศรัย "ไล่หนูตีงูเห่า" เป็นการรณรงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง[21]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "เพื่อนเนวินลั่น "ถอยเป็นหมา เดินหน้าเพื่อชาติ"". ประชาไท. 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "มันจบแล้วครับนาย มาจากไหน ย้อนดูที่มาวลีดังที่ถูกนำมาใช้เป็นแฮชแท็กในโลกออนไลน์อีกครั้ง". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-03.
  3. "111 ร่วมเปิดตัวพรรคภูมิใจไทย - "บุญจง" ปัดปูทางดัน "เนวิน" สู่เก้าอี้นายกฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2023-08-06.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ""ปู่ชัย" ชัย ชิดชอบ ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว วัย 92 ปี ที่บ้านพัก จ.บุรีรัมย์". www.thairath.co.th. 2020-01-24.
  5. "มะเร็งคร่าชีวิต"วีระ รักความสุข"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-01.
  6. "ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ยอมรับพปช.อาจต้องหารือกันใหม่หากสภาฯ". ryt9.com.
  7. ""ชิดชอบ" แตกหัก! "ยี้ห้อย" ส่งเมียฟัด "พี่เขย-พี่สาว" เปิดศึกชิงนายก อบจ". mgronline.com. 2007-10-12.
  8. "มั่นใจ "ชิดชอบ" ชนะใจ ปชช.! "ป้าต่าย" พลิกไม่ลงสมัคร ส่งหลาน "เนวิน" ลงชิงเก้าอี้นายก อบจ.บุรีรัมย์ แทน". mgronline.com. 2020-11-07.
  9. "'บุรีรัมย์' เนวินสุดแกร่ง! หลานชายคว้าเก้าอี้นายกอบจ. ชนะขาดกว่า 3.7 แสนคะแนน". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  10. "ศึกสายเลือด"ชิดชอบ" ชิงนายกเล็กตำบลอิสาณวัดบารมี"เนวิน"". thansettakij. 2021-03-27.
  11. "เปิดเบื้องหลัง..."กลุ่มเพื่อนเนวิน" พ่ายศึกเลือกตั้งนายกเล็กบุรีรัมย์ ขณะ "พี่สาวเนวิน" แพ้ที่ ทต.อิสาณ". mgronline.com. 2021-03-29.
  12. ""เสี่ยชิต" นำโด่ง นับคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครบุรีรัมย์ กลุ่มคนบุรีรัมย์ ผงาด ส.ท." www.thairath.co.th. 2024-12-15.
  13. ""ภูษิต" หลานเนวิน ลง "นายก อบจ.บุรีรัมย์" รับทำไม่ได้ หลังเห็นนโยบายคู่แข่ง". www.thairath.co.th. 2024-12-24.
  14. "ดราม่า สว.พี่สาว "เนวิน" ก็แค่ "ชิดชอบ" ที่แท้คู่ปรปักษ์ศึกสายเลือด". www.komchadluek.net. 2024-06-11.
  15. "ฉากสุดท้ายของ สมัคร สุนทรเวช อาสาทักษิณจนตัวตาย". mgronline.com. 2009-11-25.
  16. ""หมอเลี้ยบ"เรียกประชุม พปช.ด่วนเย็นนี้หลัง"สมัคร"ตอบรับเสนอชื่อนายกฯ". ryt9.com.
  17. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 (เป็นพิเศษ) วันที่ 12 กันยายน 2551
  18. ""แม้ว" ฉุนขาด! ดิ้นพล่านหมดอำนาจจูง "เนวิน" อัดยับไม่สำนึกบุญคุณ". mgronline.com. 2008-12-09.
  19. ""ภูมิใจไทย" แบไต๋ ทอดสะพานร่วมรบ". mgronline.com. 2012-11-29.
  20. "เพื่อไทย ยกทัพตีงูเห่า ศรีสะเกษ ณัฐวุฒิ – อุ๊งอิ๊ง วอนเลือกพรรคยกจังหวัด". ประชาชาติธุรกิจ. 18 มิถุนายน 2022. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "เพื่อไทย จับมือ ภูมิใจไทย ประกาศร่วมรัฐบาล เตรียมเดินสายหาพรรคร่วมอื่น ภายในสัปดาห์นี้". plus.thairath.co.th.
Kembali kehalaman sebelumnya