เฉลิม อยู่บำรุง
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490) เป็นข้าราชการตำรวจและนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมวลชน ทั้งยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[4] ประวัติร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม อยู่บำรุง เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร้อยตำรวจตรี แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง [5] [6] ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบปราม นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "เหลิม" หรือ "เหลิมดาวเทียม" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเอง ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า "บรรณาธิการเฉลิม"[7] สมรสกับลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ ร้อยตำรวจตรี อาจหาญ อยู่บำรุง[8], ร้อยตำรวจตรี วัน อยู่บำรุง และ พันตำรวจตรี ดวง อยู่บำรุง[9] ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า "ลูกเหลิม" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม และน้องชายที่เป็นตำรวจ พ.ต.ท.จารึก อยู่บำรุง (เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557) ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมือง หลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่งร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า "ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม"[10] ร้อยตำรวจเอกเฉลิม เคยขึ้นเวทีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ที่สนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี[11] บทบาททางการเมืองในช่วงแรกร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีบทบาททางการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมการพยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 และหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ จึงตกเป็นผู้ต้องหามีคำสั่งย้ายเข้ากรมตำรวจในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 และพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524[12]และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ต่อมาจึงได้รับการนิรโทษกรรม[ต้องการอ้างอิง] ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในปี 2526 ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้ง พรรคมวลชน และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะเขตภาษีเจริญและเขตบางบอน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุนหะวัณ[13] มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) ต่อมาปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[14] ภายหลังการรัฐประหารดังกล่าว ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท และต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ โดยเดินทางไปพำนักอยู่ที่ประเทศสวีเดนและประเทศเดนมาร์ก ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย เขาได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[15] ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบพรรคมวลชนรวมเข้ากับ พรรคความหวังใหม่ ของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คดีความของลูกชายร้อยตำรวจเอก ดร. เฉลิม กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุง ร้อยตำรวจตรีวัน อยู่บำรุง และว่าที่ พันตำรวจโทดวง อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง [ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ นายดวงเฉลิม ลูกคนเล็กตกเป็นผู้ต้องหาสังหาร ดาบตำรวจ สุวิชัย รอดวิมุติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ดาบยิ้ม" ในผับกลางโรมแรม ย่านถนนรัชดาภิเษก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544[ต้องการอ้างอิง] โดยหลบหนีไปหลังเกิดเหตุ และมอบตัวหลังจากนั้นกว่าครึ่งปีเขาถูกถอดยศทหารในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ภายหลังจากนั้นนายสมัคร สุนทรเวช ได้คืนยศทางทหารให้ ต่อมาคดีนายดวงเฉลิม มีคำตัดสินของศาลอาญาชั้นต้นให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นายดวงเฉลิมเป็นผู้สังหารดาบยิ้ม ศาลอาญาชั้นต้นจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้สังหารดาบยิ้มเป็นใคร ในปลายปีพ.ศ. 2554 สื่อมวลชนรายงานว่านายวัน อยู่บำรุงได้แสดงเจตนาข่มขู่อาฆาตมาดร้ายนายวัชระ เพชรทองระหว่างที่กำลังลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554[16] เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ลงรับสมัคร ของ พรรคมวลชน โดยได้คะแนนมากเป็นลำดับที่ 4 โดยได้คะแนนเสียงในเขตบางบอนเป็นลำดับที่ 1 ร่วมงานกับพรรคพลังประชาชนบทบาทในช่วงเลือกตั้ง 2550ร้อยตำรวจเอก เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาถึง 233 ที่นั่ง ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมัครได้ให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[17] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมกล่าวว่าเป็นตำแหน่งที่ตนต้องการที่จะดำรงตำแหน่งมากที่สุดด้วย[ต้องการอ้างอิง] แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[18] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขต่อมานายสมัครได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมชายได้เลือกให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[19] แต่ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน,พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จึงส่งผลให้นายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย รองนายกรัฐมนตรีร.ต.อ.เฉลิม ได้ตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีกำกับ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้ตำแหน่งรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีอันดับที่ 1 ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หรือรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1 ภายหลังนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลาออกจากตำแหน่งดังกล่างเนื่องจากมีการชี้มูลความผิดเรื่องที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพล์โดยคณะกรรมการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ[20] จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 2[21] รองจากนายกรัฐมนตรี ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยภายหลังจากมีการยุบพรรคพลังประชาชน ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคต่อไป โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร[22] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6[23] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6[24] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ประธาน ส.ส.ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง[25] เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[26] ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ให้ฉายา ร้อยตำรวจเอก เฉลิมว่า "ดาวดับ" อันเนื่องจากวาทะที่แก้ตัวให้กับการกระทำที่ส่อทุจริตของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ว่า "พันตำรวจโท ทักษิณ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม" ซึ่งได้กลายเป็นวาทะประจำปีด้วย[27] ต่อมาต้นปี พ.ศ. 2553 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้มีวิวาทะกับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วยกันเอง ถึงขนาดตำหนิออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องจากเรื่องการที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่เห็นแตกต่างกันและมีความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการพรรคที่แตกต่างกัน[28][29][30] ซึ่งในปีถัดมา ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ก็ได้เกิดขึ้นอีก จนกระทั่งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้ขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอย่างเป็นทางการ โดยมีกระแสข่าวถึงความไม่พอใจในสมาชิกพรรคบางคนตำหนิบทบาทการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของตัวเอง[31] อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งถัดมา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 พรรคเพื่อไทย รวมถึงได้ส่งบุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง รองนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และบุตรชายได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[32]ในระหว่างดำรงตำแหน่งเลขายืนยันว่าในกลุ่มนปช.ไม่มีชายชุดดำและรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่มีสิทธิสลายการชชุมนุมกลุ่ม นปช. เขาเคยประกาศก่อนหน้าดำรงตำแหน่งว่าจะปลดนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ก็ไม่มีการปลดแต่อย่างใด[33] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[34] โดยมีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และถ่ายภาพหมู่คณะรัฐมนตรีที่ได้รับโปรดเกล้าฯ บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า แต่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ไม่ได้เข้าร่วมถ่ายภาพในครั้งนั้นด้วย รวมทั้งไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยอ้างเหตุผลว่าขอลากิจเพื่อไปตรวจสุขภาพ แต่เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปว่าเป็นการประท้วงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ตำแหน่งนี้กับเขา[35]และปลดจากรองนายกรัฐมนตรี เขาดำรงตำแหน่งผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนแรกของประเทศไทย ที่ดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ไม่ได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็น กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน[36] วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[37] ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
สุขภาพ5 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ร.ต.อ.เฉลิม เข้ารับการผ่าตัดอาการสมองบวม เนื่องจากเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง หลังจากนั้นก็มีกระแสข่าวลือสะพัดว่า ร.ต.อ.เฉลิมได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยอาการสมองบวม แต่ที่จริง การผ่าตัดรักษาอาการป่วยของ ร.ต.อ.เฉลิม สำเร็จด้วยดี จนกระทั่ง ร.ต.อ.เฉลิม สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 10 ตุลาคม[38] และจากการตรวจสอบข้อมูล ยังพบอีกว่า ร.ต.อ.เฉลิมพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ไม่ใช่ โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ ร.ต.อ.เฉลิม พร้อมกับลูกชายคนเล็ก ร.ต.อ.ดวง ได้ออกมาจากโรงพยาบาลพร้อมกัน ด้วยสีหน้าท่าทางยิ้มแยมแจ่มใส ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน "ผมมีเลือดไหลในสมอง 2 ข้าง แต่เลือดไม่ไหลเข้าไปในสมองส่วนที่สำคัญ หมอจึงใช้เครื่องมือเจาะเอาเลือดออก ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น"[39] ต่อมาเขาเกิดอาการช็อกในขณะประชุมร่วมกับคณะทำงานฯ ในวันที่ 21 ตุลาคมของปีเดียว จนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี[40] ต่อมาวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 13.45 นาฬิกา ร.ต.อ.เฉลิม เกิดอาการทรุดลงหลังกลับมาทำงานที่กระทรวงแรงงานได้ 1 สัปดาห์ จากการผ่าตัดอาการเลือดออกใต้เหยื่อหุ้มสมองในระหว่างหารือกับ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงศ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงการจัดประชุมแนวทางป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ห้องทำงานชั้น 6 โดยมีอาการตัวเกร็ง พร้อมนั่งนิ่งไป จนเกือบฟุบลงจากเก้าอี้ ส่งผลให้ทีมงานต้องตัดสินใจ นำตัวร.ต.อ.เฉลิม ส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งที่ยังนั่งอยู่บนเก้าอี้[41] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
ดูเพิ่ม
|