ภาพวาด "โมเสสเกรี้ยวโกรธวัวทองคำ" โดยวิลเลียม เบลก (ค.ศ. 1799–1800)
การบูชาเทวรูป (อังกฤษ : idolatry ) เป็นการบูชา รูปเสมือนพระเป็นเจ้า [ 1] [ 2] [ 3] [ 4] ศาสนาอับราฮัม (ศาสนายูดาห์ ศาสนาสะมาริตัน ศาสนาคริสต์ ศาสนาบาไฮ และศาสนาอิสลาม ) อธิบายการบูชาเทวรูปว่าเป็นการเคารพบางสิ่งในฐานะพระเป็นเจ้า นอกเหนือจากพระเป็นเจ้าสูงสุดในศาสนานั้น [ 5] [ 6] ศาสนาเอกเทวนิยม เหล่านี้ถือว่าการบูชาเทวรูปเป็น "การนับถือพระเทียมเท็จ " และถูกสั่งห้ามในคัมภีร์อย่างบัญญัติ 10 ประการ [ 5] ศาสนาเอกเทวนิยมอื่น ๆ มีหลักปฏิบัติที่คล้ายกันนี้[ 7]
ทั้งนี้พระเทียมเท็จเป็นคำเชิงตำหนิที่ศาสนาอับราฮัมใช้หมายถึงเทวรูปหรือเทพในลัทธินอกศาสนา รวมถึงวัตถุเคารพนอกศาสนาอับราฮัม[ 8] ในทางกลับกัน วิญญาณนิยม และพหุเทวนิยม อาจถือว่าเทพของเอกเทวนิยมเป็นเทพเทียมเท็จเช่นกัน เนื่องจากผู้นับถือความเชื่อนี้ไม่เชื่อว่ามีเทพที่มีคุณสมบัติเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ด้านอเทวนิยม เลี่ยงการใช้คำว่าเทพเทียมเท็จ แม้จะไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าก็ตาม ดังนั้นคำว่าพระเทียมเท็จจึงมักจำกัดในหมู่เทวนิยม ผู้เลือกนับถือเทพบางองค์[ 5]
ศาสนาแบบอินเดีย (ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน ) มองว่าเทวรูปหรือมูรติ เป็นสัญลักษณ์ของความสัมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์[ 9] รูปเคารพ ทางจิตวิญญาณ[ 9] [ 10] หรือการแปลงรูปของพระเป็นเจ้า[ 11] มูรติใช้เป็นสิ่งมุ่งเน้นถึงการแสวงหาและบูชาของศาสนิกชน (ภักติ )[ 9] [ 12] [ 10] ขณะที่ศาสนาดั้งเดิมของอียิปต์โบราณ กรีซโบราณ โรมโบราณ แอฟริกา เอเชีย และอเมริกา มีการเคารพเทวรูปมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเทวรูปจะมีความหมายและความสำคัญแตกต่างกันไป[ 8] [ 1] [ 2]
แนวคิดตรงข้ามกับการบูชาเทวรูปคือ การงดบูชารูปเคารพ (aniconism)[ 13] คตินี้สามารถพัฒนาเป็นลัทธิทำลายรูปเคารพ (iconoclasm)[ 14] ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางศาสนาระหว่างผู้ที่มีมุมมองต่อรูปเคารพต่างกัน[ 15] [ 16] นิยามของการบูชาเทวรูปเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงในหมู่ศาสนาอับราฮัมด้วยกัน ตัวอย่างเช่นชาวมุสลิม และชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ประณามการบูชารูปเคารพพระนางมารีย์พรหมจารี ของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ [ 17] [ 18]
การบูชาเทวรูปยังเกี่ยวข้องกับการยอมรับความต่างทางศาสนา เดวิด ฮูม นักปรัชญายุคเรืองปัญญา ชาวสกอตบันทึกว่าการบูชาเทพหลายองค์ของลัทธินอกศาสนาเป็นสิ่งยืนยันความเป็นพหุนิยมทางศาสนา และการยอมรับความต่าง ขณะที่ศาสนาอับราฮัมไม่ยอมรับความต่าง และพยายามละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก ด้วยการบังคับเปลี่ยนศาสนา [ 19] ขณะที่เรจินา ชวาตซ์ นักวิชาการด้านวรรณคดีอังกฤษและศาสนาแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น กล่าวว่าการกล่าวหาว่ารูปเคารพเป็นพระเทียมเท็จ ตามด้วยการทำลายรูปเคารพไม่ต่างอะไรกับการไม่ทนความต่างทางศาสนา [ 20] [ 21]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Moshe Halbertal; Avishai Margalit; Naomi Goldblum (1992). Idolatry . Harvard University Press. pp. 1 –8, 85–86, 146–148. ISBN 978-0-674-44313-6 .
↑ 2.0 2.1 Smart, Ninian (10 November 2020) [26 July 1999]. "Polytheism" . Encyclopædia Britannica . Edinburgh : Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2020. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021 .
↑ DiBernardo, Sabatino (2008). "American Idol(atry): A Religious Profanation". The Journal of Religion and Popular Culture . 19 (1): 1–2. doi :10.3138/jrpc.19.1.001 . , Quote: "Idolatry (...) in the first commandment denotes the notion of worship, adoration, or reverence of an image of God."
↑ Poorthuis, Marcel (2007). "6. Idolatry and the Mirror: Iconoclasm as a Prerequisite for Inter-Human Relations". Iconoclasm and Iconoclash, Chapter 6. Idolatry and the Mirror: Iconoclasm As A Prerequisite For Inter-Human Relations . BRILL Academic. pp. 125–140. doi :10.1163/ej.9789004161955.i-538.53 . ISBN 9789004161955 .
↑ 5.0 5.1 5.2 Angelini, Anna (2021). "Les dieux des autres: entre «démons» et «idoles»". L'imaginaire du démoniaque dans la Septante: Une analyse comparée de la notion de "démon" dans la Septante et dans la Bible Hébraïque . Supplements to the Journal for the Study of Judaism (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 197. Leiden and Boston : Brill Publishers . pp. 184–224. doi :10.1163/9789004468474_008 . ISBN 978-90-04-46847-4 .
↑ Leone, Massimo (Spring 2016). Asif, Agha (บ.ก.). "Smashing Idols: A Paradoxical Semiotics" (PDF) . Signs and Society . Chicago : University of Chicago Press on behalf of the Semiosis Research Center at Hankuk University of Foreign Studies . 4 (1): 30–56. doi :10.1086/684586 . eISSN 2326-4497 . hdl :2318/1561609 . ISSN 2326-4489 . S2CID 53408911 . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2017. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021 .
↑ Wendy Doniger (1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions . Merriam-Webster. p. 497 . ISBN 978-0-87779-044-0 .
↑ 8.0 8.1 Frohn, Elke Sophie; Lützenkirchen, H.-Georg (2007). "Idol". ใน von Stuckrad, Kocku (บ.ก.). The Brill Dictionary of Religion . Leiden and Boston : Brill Publishers . doi :10.1163/1872-5287_bdr_SIM_00041 . ISBN 9789004124332 .
↑ 9.0 9.1 9.2 Jeaneane D. Fowler (1996), Hinduism: Beliefs and Practices, Sussex Academic Press, ISBN 978-1-898723-60-8 , pages 41–45
↑ 10.0 10.1 Karel Werner (1995), Love Divine: Studies in Bhakti and Devotional Mysticism, Routledge, ISBN 978-0700702350 , pages 45-46; John Cort (2011), Jains in the World, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-979664-9 , pages 80–85
↑ Klaus Klostermaier (2010), A Survey of Hinduism , State University of New York Press, ISBN 978-0-7914-7082-4 , pages 264–267
↑ Lindsay Jones, บ.ก. (2005). Gale Encyclopedia of Religion . Vol. 11. Thompson Gale. pp. 7493–7495. ISBN 978-0-02-865980-0 .
↑ Aniconism , Encyclopædia Britannica
↑ Marina Prusac; Kristine Kolrud (2014). Iconoclasm from Antiquity to Modernity . Ashgate. pp. 1–3. ISBN 978-1-4094-7033-5 .
↑ Willem J. van Asselt; Paul Van Geest; Daniela Muller (2007). Iconoclasm and Iconoclash: Struggle for Religious Identity . BRILL Academic. pp. 8–9, 52–60. ISBN 978-90-04-16195-5 .
↑ André Wink (1997). Al-Hind the Making of the Indo-Islamic World . BRILL Academic. pp. 317–324. ISBN 978-90-04-10236-1 .
↑ Barbara Roggema (2009). The Legend of Sergius Bahira: Eastern Christian Apologetics and Apocalyptic in Response to Islam . BRILL Academic. pp. 204–205. ISBN 978-90-04-16730-8 .
↑ Erich Kolig (2012). Conservative Islam: A Cultural Anthropology . Rowman & Littlefield. pp. 71 with footnote 2. ISBN 978-0-7391-7424-1 .
↑ Moshe Halbertal; Donniel Hartman (2007). Monotheism and Violence . Vol. Judaism and the Challenges of Modern Life. Bloomsbury Academic. pp. 105–112. ISBN 978-0-8264-9668-3 .
↑ Regina Schwartz (2016). Loving Justice, Living Shakespeare . Oxford University Press. pp. 32–34. ISBN 978-0-19-251460-8 .
↑ Josh Ellenbogen; Aaron Tugendhaft (2011). Idol Anxiety . Stanford University Press. pp. 29–35, 60–74. ISBN 978-0-8047-8181-7 .
แหล่งข้อมูลอื่น