Share to:

 

การปฏิวัติโรมาเนีย

การปฏิวัติโรมาเนีย
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1989
ผู้ชุมนุมประท้วงบนถนนมาเกรู ในบูคาเรสต์
วันที่16 ธันวาคม – 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989
สถานที่โรมาเนีย
อารัด, บราชอฟ, บูคาเรสต์, ตือร์กอวิชเต, ตีมีชออารา และเมืองอื่น ๆ
ผลโค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์ในโรมาเนีย
การจับกุมและประหารชีวิตนีกอลาเอและเอเลนา ชาวูเชสกู
คู่ขัดแย้ง

โรมาเนีย ฝ่ายรัฐบาล

ผู้นำ
ผู้ชุมนุม (ไม่มีแกนนำผู้ชุมนุม)
สมาชิกกลุ่มแนวปลดเปลื้องแห่งชาติ
ความเสียหาย
เสียชีวิต689[2]–1,290 ราย[3]
บาดเจ็บ3,321 คน[1]

การปฏิวัติโรมาเนีย (โรมาเนีย: Revoluția Română) เป็นเหตุการณ์การก่อจลาจลและการประท้วงในโรมาเนีย เดือนธันวาคม ค.ศ. 1989 นี่เป็นเหตุการณ์หนึ่งในการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ของสนธิสัญญาวอร์ซอ การปฏิวัติโรมาเนียเริ่มต้นที่เมืองตีมีชออาราและหลังจากนั้นได้ขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ในท้ายที่สุดได้ส่งผลให้เกิดการโค่นล้มอำนาจที่รุนแรงและการประหารชีวิตประธานาธิบดีโรมาเนีย นีกอลาเอ ชาวูเชสกู ที่ดำรงตำแหน่งมาเป็นระยะเวลานาน และนำไปสู่จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย เป็นการขับไล่ระบอบคอมมิวนิสต์ครั้งสุดท้ายในกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอในระหว่างเหตุการณ์ปี ค.ศ. 1989 และเป็นที่เดียวที่ทำการล้มล้างรัฐบาลของประเทศและส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตทั้งผู้นำและผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนมาก

การจลาจลและการก่อความรุนแรงตามท้องถนนและการฆาตกรรมในหลายเมืองของโรมาเนียเป็นช่วงเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ ได้ทำให้ผู้นำเผด็จการคอมมิวนิสต์โรมาเนียละทิ้งอำนาจและหลบหนีออกจากกรุงบูคาเรสต์พร้อมภริยาของเขา รองประธานาธิบดี เอเลนา ชาวูเชสกู แต่ได้ถูกจับกุมที่เมืองตือร์กอวิชเต ทั้งสองพยายามที่จะต่อสู้คดีในการพิจารณาคดีที่นำโดยศาลทหารในข้อหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การทำลายเศรษฐกิจของชาติและการใช้อำนาจทางการทหารต่อชาวโรมาเนียโดยมิชอบ ทั้งสองได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงในทุกข้อกล่าวหา และถูกตัดสินประหารชีวิตในทันทีในวันคริสต์มาส ค.ศ. 1989 ทำให้ทั้งสองกลายเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกตัดสินประหารชีวิตในโรมาเนีย

ในการปฏิวัติ ประชาชน 1,104 คน เสียชีวิต โดยประกอบด้วย 162 คน ที่ออกมาประท้วงในช่วงวันที่ 16 ถึง 22 ธันวาคม และนำไปสู่การสิ้นสุดของระบอบชาวูเชสกู และอีก 942 คน เสียชีวิตในการจลาจลก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจโดยกลุ่มโครงสร้างทางการเมืองใหม่ คือ แนวร่วมไถ่ชาติ (National Salvation Front) การเสียชีวิตส่วนมากมักเกิดขึ้นที่ตีมีชออารา, บูคาเรสต์, ซีบิว และอารัด จำนวนผู้บาดเจ็บมีถึง 3,352 คน โดย 1,107 คน เกิดขึ้นในช่วงที่ชาวูเชสกูยังคงอยู่ในอำนาจ และอีก 2,245 คน เกิดขึ้นหลังจากกลุ่มแนวปลดเปลื้องแห่งชาติเข้ายึดอำนาจแล้ว

อ้างอิง

  1. Marius Ignătescu (21 March 2009). "Revoluția din 1989 și ultimele zile de comunism". Descoperă.org (ภาษาโรมาเนีย).
  2. 2014 Europa World Year Book, p. 3758, ISBN 978-1857437140
  3. Valentin Marin (2010). "Martirii Revoluției în date statistice" (PDF). Caietele Revoluției (ภาษาโรมาเนีย). Bucharest: Editura Institutului Revoluției Române din Decembrie 1989. ISSN 1841-6683. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 15 April 2018.
Kembali kehalaman sebelumnya