Share to:

 

ลัทธินิกสัน

ลัทธินิกสัน (หรืออาจรู้จักในชื่อ ลัทธิกวม) แพร่หลายในการประชุมสื่อในกวมเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน เขาประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจะคาดหวังว่าพันธมิตรของตนจะสามารถดูแลการป้องกันทางทหารของตนเอง ยกเว้นในบางกรณีที่สหรัฐจะช่วยเหลือในการป้องกันเมื่อได้รับการร้องขอ ลัทธิดังกล่าวให้เหตุผลสำหรับการแสวงหาสันติภาพผ่านทางความร่วมมือกับพันธมิตรของสหรัฐ

ในคำพูดของนิกสัน (กล่าวต่อเนชันออนเดอะวอร์ในเวียดนาม 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969):[1]

  • อย่างแรก สหรัฐอเมริกาจะรักษาข้อผูกมัดในสนธิสัญญาที่ตนทำไว้
  • อย่างที่สอง เราจะเป็นโล่กำบังให้หากอำนาจนิวเคลียร์คุกคามต่อเสรีภาพของชาติที่เป็นพันธมิตรกับเราหรือชาติซึ่งความอยู่รอดได้รับพิจารณาว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของเรา
  • อย่างที่สาม ในกรณีซึ่งเกี่ยวพันกับการรุกรานรูปแบบอื่น เราจะให้ความช่วยเหลือทางทหารและทางเศรษฐกิจเมื่อได้รับการร้องขอตามข้อผูกมัดของสนธิสัญญาของเรา แต่เราจะมุ่งไปเฉพาะชาติที่ได้รับการคุกคามโดยตรงเพื่อที่จะรับผิดชอบในการเพิ่มกำลังคนให้กับการป้องกันประเทศ

ลัทธิดังกล่าวได้ปรับใช้โดยการบริหารของนิกสันในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย โดยให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิหร่านและซาอุดิอาระเบียเพื่อที่ว่าพันธมิตรของสหรัฐเหล่นี้จะยอมรับความรับผิดชอบในการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค[2]

อ้างอิง

  1. Richard M. Nixon (November 3, 1969). "President Nixon's Speech on "Vietnamization"" (reprint).
  2. Beinart, Peter (2007-01-04). "Return of the Nixon Doctrine". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-26. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25.

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya