คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 17 ของไทย (23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490) พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นผู้ลงนามในประกาศ พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา และนายเกษม บุญศรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทยในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
ที่มาของคณะรัฐมนตรีเมื่อปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ประกอบด้วยพรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ และกลุ่มอิสระ ได้เสนอชื่อหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ผลของการซาวเสียงเพื่อสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 113 เสียง มากกว่าคู่แข่งขัน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอ เสนีย์ ปราโมช ซึ่งได้รับคะแนนเพียง 52 คะแนน[1] การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทยคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 56 หน้า 3 การปรับคณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ คือ
จากสะพานทั้งคัน ทั้งนี้ ปรากฏว่ามีเพลิงไหม้เสาสะพานนั้นอยู่ก่อน
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทยคณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่สมควรกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ภายหลังที่ได้มี ญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 อ้างอิง
|