คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[1] – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) โดยภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยรวบรวมเสียงพรรคการเมือง 19 พรรค และพรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาเป็นเวลา 5 ปี 1 เดือน แล้ว เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[2]
แม้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเศรษฐา ทวีสินเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[3][4] และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในวันที่ 1 กันยายนปีเดียวกัน[5] แต่ในทางพฤตินัยคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รักษาการในตำแหน่งไปจนถึงวันที่ 4 กันยายน ก่อนคณะรัฐมนตรีชุดถัดไปจะถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันถัดมา[6][7]
ประวัติ
ก่อนมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายน 2562 มีข่าวการแย่งชิงตำแหน่งภายในพรรคพลังประชารัฐ โดยสมาชิกกลุ่มสามมิตรบางส่วน ได้แก่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัยแถลงยืนยันว่าตนต้องได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีตามโผในวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งหากไม่ตรงก็จะแสดงจุดยืนอีกครั้ง และมีข่าวกลุ่มสามมิตรพยายามเสนอญัตติขับไล่สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ออกจากตำแหน่ง เพราะ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของพรรคและของรัฐบาลเป็นอย่างสูง ... ไม่ยึดโยงกับ ส.ส. ในพรรค ไม่เห็นหัว ส.ส. ในพรรคแม้แต่คนเดียว ... ท่านทำให้พรรคเราแตกแยก"[8] ก่อนที่ต่อมากลุ่มสามมิตรจะยอมล้มข้อเรียกร้องของตนเองและยอมรับให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดสรรคณะรัฐมนตรี[9] โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าจะมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจาก อุตตม สาวนายน เป็นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[10]
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่[11] โดยสมาชิกคณะรัฐมนตรีมาจากพรรคพลังประชารัฐ 18 คน (โควตาประยุทธ์ 7 คน, โควตากลางของพรรค 3 คน, โควตา กปปส. 2 คน, โควตากลุ่มสามมิตร 2 คน และโควตากลุ่มอื่น ๆ 4 คน) พรรคประชาธิปัตย์ 7 คน ภูมิใจไทย 7 คน ชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมพลังประชาชาติไทย 1 คน และชาติพัฒนา 1 คน ซึ่งการจัดสรรจำนวนดังกล่าวมาจากสัดส่วน ส.ส. 3–7 คนต่อรัฐมนตรี 1 ตำแหน่ง ในจำนวนนี้มี 4 คนที่อยู่ระหว่างพิจารณาวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. จากกรณีถือครองหุ้นบริษัทสื่อโดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายสาธิต ปิตุเตชะ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ[12][13]
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:45 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จำนวน 36 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[14][15]
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 15:00 น. มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ในราชกิจจานุเบกษา[16]
รายชื่อรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง |
|
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี |
|
ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง |
|
แต่งตั้งเพิ่ม |
|
เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
|
รัฐมนตรีลอย |
|
ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น |
|
ออกจากตำแหน่ง
|
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/1
รัฐมนตรีจำนวน 6 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 (1 ราย), วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 (3 ราย) และวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 (2 ราย) ดังนี้[19][20]
ลาออกวันที่ 15 กรกฎาคม 2563
ลาออกวันที่ 16 กรกฎาคม 2563
ลาออกวันที่ 21 กรกฎาคม 2563
คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/2 [21]
แต่งตั้งเพิ่ม
ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/2
รัฐมนตรีจำนวน 1 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 2 กันยายน 2563[22]
ลาออกวันที่ 2 กันยายน 2563
คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/3 [23]
แต่งตั้งเพิ่ม
ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/3
ศาลอาญามีคำพิพากษาให้รัฐมนตรี 3 ราย จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง ส่งผลให้ทั้งสามพ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีทันที[24]
พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรี ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/4 [25]
โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/4
รัฐมนตรีจำนวน 2 ราย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี มีผลวันที่ 8 กันยายน 2564[26] รัฐมนตรี จำนวน 1 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 5 กันยายน 2565[27]
ถูกปรับออกจากตำแหน่ง
ลาออกวันที่ 5 กันยายน 2565
คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/5 [28]
แต่งตั้งเพิ่ม
ภายหลังคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2/5
ศาลฎีกามีคำพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองรัฐมนตรี จำนวน 1 ราย ส่งผลให้พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ถูกสั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่[29] และรัฐมนตรี จำนวน 4 ราย ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลวันที่ 5 กันยายน 2565 (1 ราย)[30] วันที่ 18 มกราคม 2566 (1 ราย)[31] และวันที่ 17 มีนาคม 2566 (2 ราย)[32]
พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรี ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2565
ลาออกวันที่ 5 กันยายน 2565
ลาออกวันที่ 18 มกราคม 2566
ลาออกวันที่ 17 มีนาคม 2566
ฉายา
พ.ศ. 2562
เป็นการตั้งฉายารัฐบาล, รัฐมนตรี และวาทะแห่งปีโดยผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลครั้งแรกในรอบ 6 ปี[33]
ฉายารัฐบาล : รัฐเชียงกง
ฉายารัฐมนตรี :
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : อิเหนาเมาหมัด
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี : พี่ใหญ่สายเอ็นฯ
- สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี : ชายน้อยประชารัฐ
- วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี : ศรีธนญชัยรอดช่อง
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : รัฐอิสระ
- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : สารหนู
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : โอ๋ แซ่รื้อ
- วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : สัปเหร่อออนท็อป
- ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : เทามนัส
- มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : มาดามแบนเก้อ
วาทะแห่งปี : "อย่าเพิ่งเบื่อผมก็แล้วกัน ยังไงผมก็อยู่อีกนานพอสมควร" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ฉายารัฐบาล : VERY "กู้"
ฉายารัฐมนตรี :
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : ตู่ไม่รู้ล้ม
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี : ป้อมไม่รู้โรย
- วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี : ไฮเตอร์ เซอร์วิส
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : เช้าสายบ่ายเคลม
- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : ทินเนอร์
- ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : หวีดดับ
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : ศักดิ์สบายสายเขียว
- พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : พังPORN
- สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : ค้างคลัง
- นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน : แชมป์ไตรกีฬา
วาทะแห่งปี : "ไม่ออก.. แล้วผมทำผิดอะไรหรือ" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ฉายารัฐบาล : ยื้อยุทธ์
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : ชำรุดยุทธ์โทรม
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี : รองช้ำ
- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : ว้ากซีน
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายกฯ บางโพล
- สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : มหาเฉื่อย 4D
- สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : สุชาติ ชมเก่ง
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : สายขม นมชมพู
- พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา : ดีลล่มระดับโลก
วาทะแห่งปี : "นะจ๊ะ" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ฉายารัฐบาล : หน้ากากคนดี
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี : แปดเปื้อน
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี : ลองนายกฯ
- วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี : เครื่องจักรซักล้าง
- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : ภูมิใจดูดพูดแล้วดอย
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ : ประกันไรได้
- ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : ลุ่มๆ ดอนๆ
- สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : Powerblank
- พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : หน้าชัด หลังเบลอ
- สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : รมต.แรงลิ้น
- ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : วันทอง 2 ป.
วาทะแห่งปี : "เกลียดหรือไม่เกลียดก็ช่างคุณเถอะ เพราะผมไม่รู้อยู่แล้ว" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
อ้างอิง
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งรัฐมนตรี [คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 62]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 มิถุนายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-28. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562.
- ↑ "1st LD: Srettha Thavisin elected as Thailand's new prime minister - China.org.cn". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2023-08-22.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ เศรษฐา เป็นนายกฯคนที่ 30 เตรียมอันเชิญพระบรมราชโองการ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
- ↑ "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ ""วิษณุ" คาดไทม์ไลน์ "ครม.ใหม่" ทำหน้าที่ช่วงปลายเดือน ก.ย." Thai PBS.
- ↑ ""ครม.เศรษฐา" ถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้ว - ถ่ายรูปหมู่ทำเนียบฯ". Thai PBS.
- ↑ พลังประชารัฐ : สามมิตร ไล่ สนธิรัตน์ พ้นเลขาฯ ชี้ "เป็นภัยความมั่นคงของพรรค”
- ↑ พลังประชารัฐ : สามมิตร “ไม่งอแง” เลิกเขย่าโผ ครม. ล้มแผนไล่ สนธิรัตน์
- ↑ ประยุทธ์ ส่อทิ้ง “เปรมโมเดล” ยึด “สฤษดิ์สไตล์”
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
- ↑ "ประยุทธ์ 2/1 : โปรดเกล้าฯ ครม. แล้ว". บีบีซีไทย. 10 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.
- ↑ "ด่วนที่สุด! มติศาลรธน.รับคำร้อง 32 ส.ส.-ตีตก 9 คนปมถือหุ้นสื่อ". แนวหน้า. 26 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.
- ↑ "ในหลวง" พระราชทานกำลังใจ ทรงแนะให้ครม.ใหม่แก้ปัญหาให้ตรงจุด
- ↑ ในหลวง พระราชทานพร ครม.ใหม่ มีกำลังใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง
- ↑ "ในหลวง" มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกา "ยุบสภา"
- ↑ เปิดรายชื่อ ครม.ประยุทธ์ 2/1
- ↑ คณะรัฐมนตรีใหม่ เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ – ประชุมนัดแรกทันที
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30.
- ↑ "สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี 21 กรกฎาคม 2563". รัฐบาลไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-21. สืบค้นเมื่อ 2563-07-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 180 ง, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-09-01. สืบค้นเมื่อ 2563-09-01.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 232 ง, 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563
- ↑ "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138 ตอนพิเศษ 65 ง, หน้า 1-2 23 มีนาคม พ.ศ. 2564
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 13 ตอนพิเศษ 212 ง, 9 กันยายน พ.ศ. 2564
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 208 ง, 6 กันยายน พ.ศ. 2565
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 278 ง, หน้า 1-2 30 มีนาคม พ.ศ. 2565
- ↑ ศาลสั่งตัดสิทธิ์การเมือง 10 ปี กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช. ศธ. ภูมิใจไทย คดีที่ดิน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 208 ง, 6 กันยายน พ.ศ. 2565
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 140 ตอนพิเศษ 16 ง, 23 มกราคม พ.ศ. 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 140 ตอนพิเศษ 67 ง, 21 มีนาคม พ.ศ. 2566
- ↑ "รวมฉายารัฐบาล รัฐมนตรี และ วาทะแห่งปี ประจำปี 2562". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-11-16.
- ↑ ""ฉายานายกฯ ประยุทธ์ "ตู่ไม่รู้ล้ม" กับ รัฐบาล "VERY "กู้""". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-11-16.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "ฉายารัฐบาล 2564: สื่อทำเนียบตั้งฉายารัฐบาล "ยื้อยุทธ์" ส่วนนายกฯ "ชำรุดยุทธ์โทรม"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-12-27.
- ↑ "สื่อทำเนียบตั้งฉายารัฐบาล 2565 "หน้ากากคนดี" ส่วนนายกฯ ได้ฉายา "แปดเปื้อน"". BBC News ไทย. 2022-12-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
พ.ศ. 2475–2500 | | |
---|
พ.ศ. 2500–2526 | |
---|
พ.ศ. 2526–2550 | |
---|
พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน | |
---|