คณะรัฐมนตรี คณะที่ 52 ของไทย (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[1] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 52 ของไทย
ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้[2]
- นายสุขวิช รังสิตพล เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พรรคความหวังใหม่)
- นายอำนวย วีรวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายกร ทัพพะรังสี เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคชาติพัฒนา)
- นายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พรรคกิจสังคม)
- นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรองนายกรัฐมนตรี (พรรคประชากรไทย)
- นายโภคิน พลกุล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคความหวังใหม่)
- นายชิงชัย มงคลธรรม เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคความหวังใหม่)
- นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคความหวังใหม่)
- นายวีระกร คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคความหวังใหม่)
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคชาติพัฒนา)
- นายรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พรรคกิจสังคม)
- พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พรรคความหวังใหม่)
- นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (พรรคความหวังใหม่)
- นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (พรรคความหวังใหม่)
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (พรรคชาติพัฒนา)
- นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พรรคชาติพัฒนา)
- นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พรรคชาติพัฒนา)
- นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคความหวังใหม่)
- นายกริช กงเพชร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคความหวังใหม่)
- นายสำเภา ประจวบเหมาะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคความหวังใหม่)
- นายประวัฒน์ อุตตะโมต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พรรคชาติพัฒนา)
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคชาติพัฒนา)
- นายดิเรก เจริญผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอร่าม โล่ห์วีระ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคความหวังใหม่)
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคกิจสังคม)
- นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พรรคเสรีธรรม)
- นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พรรคความหวังใหม่)
- นายสมพร อัศวเหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พรรคประชากรไทย)
- นายเสนาะ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคความหวังใหม่)
- นายเรืองวิทย์ ลิกค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคความหวังใหม่)
- นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคความหวังใหม่)
- นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคชาติพัฒนา)
- นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคประชากรไทย)
- ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พรรคมวลชน)
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พรรคกิจสังคม)
- นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พรรคความหวังใหม่)
- นายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พรรคความหวังใหม่)
- นายเอกพร รักความสุข เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พรรคความหวังใหม่)
- นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (พรรคประชากรไทย)
- นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (พรรคความหวังใหม่)
- นายสังข์ทอง ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พรรคความหวังใหม่)
- นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พรรคความหวังใหม่)
- นายจำลอง ครุฑขุนทด เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พรรคชาติพัฒนา)
- นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พรรคความหวังใหม่)
- นายสุนทร วิลาวัลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พรรคความหวังใหม่)
- นายสมาน ภุมมะกาญจนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พรรคชาติพัฒนา)
- นายสมภพ อมาตยกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายมนตรี ด่านไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (พรรคความหวังใหม่)
การปรับคณะรัฐมนตรี
- นายอำนวย วีรวรรณ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในวันเดียวกันนี้ได้มีพระบรมราชการโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้[3]
- นายทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้[4]
- นายสุขวิช รังสิตพลพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสังข์ทอง ศรีธเรศ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายจำลอง ครุฑขุนทด พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุนทร วิลาวัลย์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายสมาน ภุมมะกาญจนะ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายชิงชัย มงคลธรรม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายมนตรี ด่านไพบูลย์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายฉัตรชัย เอียสกุล พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มีรัฐมนตรีลาออก ดังนี้
- นายมนตรี พงษ์พานิช ขอลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายวีระกร คำประกอบ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายทนง พิทยะ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายกริช กงเพชร ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสำเภา ประจวบเหมาะ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายดิเรก เจริญผล ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายสมภพ อมาตยกุล ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายฉัตรชัย เอียสกุล ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้[5]
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง
- นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายภูษณ ปรีย์มาโนช เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายสุรศักดิ์ นานานุกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายมารวย ผดุงสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสม จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายพจน์ วิเทตยนตรกิจ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายลิขิต ธีรเวคิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายทศพร มูลศาสตรสาทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายพจน์ สะเพียรชัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายสมชาย เบญจรงคกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
พ.ศ. 2475–2500 | | |
---|
พ.ศ. 2500–2526 | |
---|
พ.ศ. 2526–2550 | |
---|
พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน | |
---|