คิโนะคูนิยะ
ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ (ญี่ปุ่น: 紀伊國屋書店; โรมาจิ: Kinokuniya Shoten; ราชบัณฑิตยสภา: คิโนกูนิยะ โชเต็ง) คือร้านหนังสือสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) โดยโมอิจิ ทานาเบะ เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับ ขายถ่านและไม้ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง คิโนะคูนิยะได้ผันตัวเองมาเป็นร้านหนังสือ ที่มีสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่นกว่า 72 สาขา และ 30 สาขาทั่วโลก โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่เขตชินจูกุ โตเกียว ประวัติ
สาขานอกประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันคิโนะคูนิยะมีสาขานอกประเทศญี่ปุ่นจำนวนทั้งหมด 25 สาขา ได้แก่ [1]
คิโนะคูนิยะในประเทศไทยร้านหนังสือคิโนะคูนิยะได้เปิดให้บริการในประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 บริหารงานโดย บริษัท คิโนะคูนิยะ บุ๊คสโตร์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาแรกตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ (เดิมคือ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์) ซึ่งเปิดพร้อมกับห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ทางคิโนะคูนิยะได้ขยายสาขาที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม กลุ่มเป้าหมายที่อยู่อาศัยชาวญี่ปุ่น และในปี พ.ศ. 2548 เปิดสาขาที่ 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นสาขาแรกที่มีร้านกาแฟ มุมแสดงผลงานศิลปะ และหนังสือภาษาจีน จะไม่มีหนังสือภาษาญี่ปุ่น โดยสาขานี้เน้นกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวชาวจีน ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 สาขาที่ 2 ย้ายมายังศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ในปี พ.ศ. 2563 ทางห้างสรรพสินค้าอิเซตัน ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม เป็นต้นไป เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าพื้นที่กับเซ็นทรัลพัฒนา ทางร้านหนังสือคิโนะคูนิยะสาขาแรกได้ย้ายร้านมาอยู่ที่ชั้น 5 ในส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โซนซี เป็นการชั่วคราว[2] ร้านคิโนะคูนิยะ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ ได้ย้ายกลับมาบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งเดิม ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 30 ปี การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ โซนหนังสือและของสะสมเกี่ยวกับการ์ตูนและเกม เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 เมษายน[3] และโซนหนังสือทั่วไปพร้อมร้านกาแฟ ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม[4] ปีถัดมาสาขาสยามพารากอนได้ดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยยังเปิดดำเนินการตามปกติ ทั้งนี้ ส่วนที่ปรับปรุงใหม่เปิดให้บริการเฟสแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[5] และเปิดให้บริการโฉมใหม่อย่างเต็มรูปแบบในเดือนถัดมา[6] โลโก้คำว่า คิโนะคูนิยะ แปลว่า ร้านหนังสือแห่งแคว้นคิอิ ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดโอซากะ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ คิโนะคูนิยะ
|