Share to:

 

งูลายสอใหญ่

งูลายสอใหญ่
ในอัสสัม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: Fowlea

(Schneider, 1799)
สปีชีส์: Fowlea piscator
ชื่อทวินาม
Fowlea piscator
(Schneider, 1799)
ชื่อพ้อง[2]
  • Hydrus piscator
    Schneider, 1799
  • Natrix piscator
    Merrem, 1820
  • Tropidonotus quincunciatus
    Schlegel, 1837
  • Tropidonotus piscator
    Boulenger, 1893
  • Nerodia piscator
    Wall, 1921
  • Xenochrophis piscator
    Cox et al., 1998

งูลายสอใหญ่ หรือ งูลายสอบ้าน (อังกฤษ: checkered keelback; ชื่อวิทยาศาสตร์: Fowlea piscator) หรือที่เรียกในชื่อสามัญอีกชื่อหนึ่งว่า Asiatic water snake เป็นสปีชีส์ทั่วไปในวงศ์ย่อย Natricinae ของวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง สปีชีส์นี้เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นในทวีปเอเชีย ซึ่งงูชนิดนี้ไม่มีพิษ

ในรัฐเกรละ
งูลายสอใหญ่กำลังกัดปลาดุก ในกาฐมาณฑุ

คำอธิบาย

หัวกลมรีและส่วนของหัวกว้างกว่าลําคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวเรียว ตาค่อนข้างใหญ่ ลําตัวป้อม หางยาวและส่วนปลายหางเรียว ผิวหนังลําตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็น แผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังมีสัน โดยสันของแผ่นเกล็ดมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลําดับไปทางด้านท้ายของ ลําตัว เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลําตัวในตําแหน่งกึ่งกลางตัวจํานวน 19 เกล็ด เกล็ดท้องจํานวน 132 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจํานวน 80 เกล็ด ลําตัวมีด้านบนของหัวและบนหลังสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว ด้านข้างของหัวมีเส้นสีดําจากด้านล่างของตาลงไปที่เกล็ดขอบปากบนแผ่นที่ 6 และมีเส้นสีดําจากทางด้านท้ายตา (แต่ไม่ติดกับตา) ลงไปที่มุมขากรรไกร ทางด้านท้ายของมุมขากรรไกรมีเส้นสีดําพาดเฉียงขึ้นไปที่ ส่วนบนของท้ายทอย บนหลังและทางด้านบนของหางมีจุดสีดําและจุดสีขาวกระจายปะปนกัน และเรียงตัวในลักษณะที่ประไปทั่วลําตัว คาง ใต้คอ ด้านท้อง และใต้หางสีขาว แต่เกล็ดท้องมี ขอบด้านนอกสีเทาเข้ม และเกล็ดใต้หางมีขอบด้านนอกสีดํา[3]

งูลายสอใหญ่เป็นงูขนาดกลาง แต่สามารถเติบโตเป็นงูขนาดใหญ่ได้ โตเต็มวัยสามารถมีความยาวตั้งแต่ความยาวจากปลายจมูกจนถึงรูทวาร (SVL) ได้ถึง 1.75 เมตร (5.7 ฟุต)[4]

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

ส่วนใหญ่แล้ว งูชนิดนี้จะพยายามยกหัวขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขยายผิวหนังบริเวณคอเพื่อเลียนแบบงูเห่า เพื่อขู่ผู้ที่มาคุกคาม แม้ว่าจะไม่มีพิษต่อมนุษย์ แต่ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและทำให้เกิดการอักเสบหลังถูกกัดได้

งูลายสอใหญ่ อาจสูญเสียหางไปเพื่อเป็นกลไกในการหลบหนี มีรายงานกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากของการทิ้งส่วนของร่างกายตัวเองออกลักษณะนี้ในเวียดนาม[5]

ที่อยู่อาศัย

แหล่งที่อยู่ที่เหมาะสมของงูลายสอใหญ่ คือในหรือใกล้ทะเลสาบหรือแม่น้ำน้ำจืด

Checkered Keelback at Khulna
พบงูลายสอใหญ่ (ในท้องถิ่นเรียกว่า "Joldhora") กำลังว่ายน้ำอยู่ที่ Beel Dakatia เมืองขุลนา ประเทศบังกลาเทศ

อาหาร

งูลายสอใหญ่จะกินปลาขนาดเล็กและกบน้ำเป็นหลัก

การสืบพันธุ์

งูลายสอใหญ่เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ จำนวนไข่ในแต่ละครอก โดยปกติจะอยู่ที่ 30 ถึง 70 ฟอง แต่บางครั้งอาจมีเพียง 4 ฟองหรือมากถึง 100 ฟองก็ได้ ขนาดของไข่ก็เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ไข่แต่ละฟองอาจมีความยาว 1.5 ถึง 4 เซนติเมตร (0.59 ถึง 1.57 นิ้ว) ตัวเมียจะคอยเฝ้าดูแลไข่จนกระทั่งไข่ฟักออกมา ลูกฟักแต่ละตัวจะยาวประมาณ 11 เซนติเมตร (4.3 นิ้ว)[4]

ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์

งูลายสอใหญ่สามารถพบได้ในประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศปากีสถาน, ประเทศศรีลังกา, ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศเนปาล, ประเทศไทย, ประเทศลาว, ประเทศกัมพูชา, ประเทศเวียดนาม, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศจีน (ในมณฑลเจ้อเจียง, มณฑลเจียงซี, มณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลไหหลำ, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และมณฑลยูนนาน), ประเทศไต้หวัน, ประเทศออสเตรเลีย, และประเทศอินโดนีเซีย (บนเกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว และเกาะเซเลบีสหรือซูลาเวซี)

ตัวอย่างที่ตั้งชนิด: "อินเดียตะวันออก"

ชนิดย่อย

  • F. p. melanzostus (Gravenhorst, 1807) – ประเทศอินโดนีเซีย (บนเกาะบอร์เนียว [?], เกาะชวา, เกาะซูลาเวซี [?]; เกาะสุมาตรา) และประเทศอินเดีย (หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์)
  • F. p. piscator (Schneider, 1799) – ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศภูฏาน, ประเทศอินเดีย, ประเทศเมียนมาร์, ประเทศปากีสถาน, ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมถึงไหหลำ), ประเทศศรีลังกา, ประเทศไต้หวัน และประเทศไทย

หมายเหตุ : เครื่องหมายสามชื่อ (ชื่อที่ประกอบด้วย 3 คำ) ในวงเล็บแสดงว่าสกุลย่อยนี้ได้รับการอธิบายไว้ครั้งแรกในสกุลอื่นที่ไม่ใช่สกุล Fowlea

ชนิดย่อย F. p. melanzostus ได้รับการยกระดับสถานะเป็นชนิด Fowlea melanzostus โดยอินดรานีล ดาส ในปี ค.ศ. 1996

แกลเลอรี่สำหรับการระบุลักษณะเฉพาะ

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

  1. Stuart, B.L., Wogan, G., Thy, N., Nguyen, T.Q., Vogel, G., Srinivasulu, C., Srinivasulu, B., Shankar, G., Mohapatra, P., Thakur, S. & Papenfuss, T. (2021). "Fowlea asperrimus". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2021: e.T172646A1358305. สืบค้นเมื่อ 15 January 2021.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. ชนิด Xenochrophis piscator ที่ The Reptile Database . www.reptile-database.org.
  3. Boulenger GA (1890).
  4. 4.0 4.1 Das I (2002).
  5. Ananjeva NB, Orlov NL (1994).

ดูเพิ่มเติม

  • Boulenger GA (1893). Catalogue of the Snakes in the .Volume I., Containing the Families ... Colubridæ Aglyphæ, part. London: Trustees of the British Museum (Natural History). (Taylor and Francis, printers). xiii + 448 pp. + Plates I-XXVIII. (Tropidonotus piscator, pp. 230–232).
  • Dutt, Kalma (1970). "Chromosome Variation in Two Populations of Xenochrophis piscator Schn. from North and South India (Serpentes, Colubridae)". Cytologia 35: 455–464.
  • Schneider JG (1799). Historiae Amphibiorum naturalis et literariae. Fasciculus Primus, continens Ranas, Calamitas, Bufones, Salamandras et Hydros. Jena: F. Frommann. xiii + 264 pp. + corrigenda + Plate I. (Hydrus piscator, new species, pp. 247–248). (in Latin).
  • Smith MA (1943). The Fauna of British India, Ceylon and Burma, Including the Whole of the Indo-Chinese Sub-region. Amphibia and Reptilia. Vol. III.—Serpentes. London: Secretary of State for India. (Taylor and Francis, printers). xii + 583 pp. (Tropidonotus piscator, pp. 293–296, Figures 95–96).
Kembali kehalaman sebelumnya