จาตุรงคสันนิบาต (อ่านว่า จาตุรงคะ-) แปลว่า การประชุมพร้อมกันแห่งองค์สี่
จาตุรงคสันนิบาต หมายถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 อย่างในวันเดียวกัน คือเกิดในสมัยพุทธกาลในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาถือกันว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า วันมาฆบูชา เหตุการณ์ 4 อย่าง คือ
- พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
- พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
- พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ
- วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอีกด้วย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548