บุญ
ในพระพุทธศาสนา บุญ (บาลี: ปุญฺญ) หรือ บุณย์ (สันสกฤต: ปุณฺย) หมายถึง ความดี[1] ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล[2] ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน[3] ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้[4] วิธีทำบุญในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ระบุวิธีการทำบุญไว้ 3 อย่าง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่[5]
คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาสังคีติสูตร ขยายความเพิ่มอีก 7 ประการ จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10 ได้แก่[6]
เวยยาวัจจมัยและธัมมเทสนามัย จัดเข้าในทานมัย อปจายนมัยและปัตตานุโมทนามัย จัดเข้าในสีลมัย ธัมมัสสวนมัยและทิฏฐุชุกัมม์ จัดเข้าในภาวนามัย ส่วน ปัตติทานมัย จัดเป็นได้ทั้ง ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย คือการให้ส่วนบุญอุทิศส่วนบุญคือทานมัย การบอกบุญชักชวนผู้อื่นให้มาทำบุญให้มาร่วมบุญคือสีลมัย การแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงคือภาวนามัย อ้างอิง
|