Share to:

 

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า[1] ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง[2] ในหลักอริยสัจ 4[3]

เหตุการณ์

หลังจากพระโคดมทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมอยู่นานถึง 6 ปี ก็ยังไม่บรรลุ จึงทรงละหนทางนี้[4] แล้วระลึกได้ว่าเมื่อทรงพระเยาว์ได้เคยนั่งสมาธิใต้ต้นหว้า ด้วยความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงได้ปฐมฌานมาตั้งแต่ครั้งนั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยกลับเสวยพระกระยาหาร ทำให้ร่างกายกลับมีพลัง พระทัยเริ่มสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมอีกครั้ง จนได้บรรลุฌานเป็นลำดับจนถึงจตุตถฌาน ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งมั่น อย่างนี้ ก็ทรงบรรลุญาณ 3 แต่ละขั้นในปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ตามลำดับ ในช่วงเวลานี้จึงทรงรู้ว่าอวิชชาถูกกำจัดแล้ว[5] เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6[6]

อริยสัจ 4

ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัมมาสัมพุทธสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะพระองค์ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการตามความเป็นจริง พระองค์จึงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า[7] และในอรหันตสูตร ตรัสว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งในอดีตกาล อนาคตกาล และในปัจจุบันกาล ล้วนตรัสรู้ซึ่งอริยสัจ 4 เดียวกันนี้ตามความเป็นจริง[8]

ลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิอนุตตรธรรม เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จุดญาณทวาร ซึ่งเป็นประตูสู่นิพพาน เนื่องจากพระแม่องค์ธรรมสงสารพระโคดมที่ลำบากบำเพ็ญทุกรกิริยามาหลายปีแต่ยังไม่บรรลุ จึงให้พระทีปังกรพุทธเจ้าจำแลงเป็นดาวประกายพรึกมาเปิดจุดญาณทวารให้ พระโคดมจึงได้ตรัสรู้[9] เป็นลัทธิที่เกิดขึ้นมาใหม่ รวบรวมความเชื่อหลาย ๆ ลัทธิ ปัจจุบันเป็นลัทธิผิดกฎหมายของประเทศจีน

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 459. ISBN 978-616-7073-56-9
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548. 200 หน้า. หน้า 33. ISBN 974-9588-28-2
  3. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), ตรัสรู้, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 10, 2546
  4. พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ 10 (390), พระไตรปิฎก เล่มที่ 32 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 24 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1
  5. โพธิราชกุมารสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
  6. เรื่องเบ็ดเตล็ดของพุทธวงศ์, อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
  7. สัมมาสัมพุทธสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 11 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
  8. อรหันตสูตร, พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 11 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
  9. "การปรากฏของเอกอัครมหาบุรุษของโลก". เอกอนันต์. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
Kembali kehalaman sebelumnya