Share to:

 

จีเอ็มเอ็ม มีเดีย

บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)
ชื่อเดิมบริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
อุตสาหกรรมสื่อ
ก่อตั้ง8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532; 35 ปีก่อน (2532-02-08)
สำนักงานใหญ่ชั้น 38 อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส เลขที่ 50 ซอยสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา, ,
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์สถานีวิทยุ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
บริษัทแม่จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง
บริษัทในเครือเอ-ไทม์ มีเดีย
เว็บไซต์atime.live

บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: GMM Media Public Company Limited; ชื่อย่อ: GMMM) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจสื่อเป็นหลัก โดยปัจจุบันเน้นธุรกิจวิทยุกระจายเสียงเป็นส่วนใหญ่ โดยให้บริการสถานีวิทยุ 3 สถานีหลัก คือ กรีนเวฟ อีเอฟเอ็ม และ ชิล ออนไลน์ เดิมชื่อ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด (ต่อมาเป็นชื่อบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม มีเดีย ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากบริษัท มาสเตอร์แพลน จำกัด) และเคยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2545–2552 ปัจจุบันถูกโอนย้ายเป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ในเครือเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ กิจการร่วมค้าของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และมี ถกลเกียรติ วีรวรรณ เป็นประธานกรรมการ, เดียว วรตั้งตระกูล เป็นรองประธานกรรมการ และ สมโรจน์ วสุพงศ์โสธร เป็นกรรมการผู้จัดการ[1]

ประวัติ

จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ก่อตั้งขึ้นในชื่อ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท มีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อผลิตและรับจ้างผลิตรายการทางสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่าง ๆ โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตรายการวิทยุ ก่อนจะขยายบริการมาสร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อทั้งวิทยุและโทรทัศน์

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 เอ-ไทม์ มีเดีย ได้ดำเนินการแยกกลุ่มธุรกิจสื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ออกจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มาอยู่ในเครือของตน จากนั้นได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 กันยายน ก่อนทำการระดมทุนสาธารณะด้วยการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน ในชื่อย่อหลักทรัพย์ GMMM เมื่อวันที่ 14 และ 15 พฤศจิกายน และเริ่มจดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน[2]

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ. 2552 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับโครงสร้าง โดยยุบรวมกิจการของจีเอ็มเอ็ม มีเดีย กลับมาดูแลเต็มรูปแบบอีกครั้ง[3] และเพิกถอนหลักทรัพย์ GMMM ออกจากการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พร้อมกับนำหุ้นเพิ่มทุนของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้าซื้อขายแทนในวันเดียวกัน[4]

บริษัทย่อย

ปัจจุบัน

ปัจจุบันจีเอ็มเอ็ม มีเดีย มีบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการวิทยุให้กับสถานีวิทยุทุกสถานีของจีเอ็มเอ็ม มีเดีย

อดีต

อ้างอิง

  1. "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""GMMM"เตรียมเทรด22พ.ย." ผู้จัดการรายวัน. 13 พฤศจิกายน 2002. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "อากู๋จ่อร่วมทุนกลุ่มมีเดียอเมริกา ถอนจีเอ็มเอ็มมีเดียออกตลาดหุ้น". ผู้จัดการออนไลน์. 15 สิงหาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ตลท.สั่งเพิกถอนหุ้น GMMM ตั้งแต่ 19 ก.พ.52 หลังปรับโครงสร้างตามขั้นตอน". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 11 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2024 – โดยทาง RYT9.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya