Share to:

 

ชายแดนพม่า–ไทย

ชายแดนพม่า–ไทย
จุดชมวิวฐานปฏิบัติการดอยช้างมูบ จ.เชียงราย ชายแดนไทย-พม่า
ข้อมูลจำเพาะ
พรมแดนระหว่างธงของประเทศพม่า พม่า  ไทย
ความยาว2,401–2,416 กิโลเมตร
ประวัติ
มีผลตั้งแต่8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411
การเข้าปกครองพม่าของอังกฤษ
พรมแดนปัจจุบันพ.ศ. 2534
สนธิสัญญา • อนุสัญญาสยาม-อังกฤษ พ.ศ. 2411
 • สนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ พ.ศ. 2426
 • พิธีสาร พ.ศ. 2437
 • หนังสือความตกลงว่าด้วย เขตแดนระหว่างพม่า (เชียงตุง) กับสยาม พ.ศ. 2474
 • หนังสือแลกเปลี่ยน พ.ศ. 2477
 • บันทึกความเข้าใจ พ.ศ. 2534

ชายแดนพม่า–ไทย เป็นพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมีทั้งทั้งบนบก และทางทะเล มีความยาวประมาณ 2,401[a] – 2,416[b] กิโลเมตร โดยประเทศไทยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเส้นเขตแดน ส่วนประเทศพม่าอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของเส้นเขตแดน

จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับพรมแดนพม่าประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง

ความเป็นมา

ในอดีตนั้นประเทศไทยและประเทศพม่ามีอาณาเขตที่ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีการกำหนดเส้นเขตแดนตามรูปแบบสมัยใหม่ จึงมีการกำหนดเขตแดนกันในรูปแบบของการต่อสู้ระหว่างอาณาจักรเพื่อครอบครองพื้นที่ดินแดนต่าง ๆ บนเขตแดนไทยและพม่าในปัจจุบัน จนกระทั้งการเข้ามาของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่ต้องการดินแดนอาณานิคมต่อจากอินเดียในปี พ.ศ. 2367[1] ทำให้พม่าเกิดสงครามติดพันกับอังกฤษ สงครามและการแย่งชิงดินแดนระหว่างไทยกับพม่าจึงยุติไปโดยปริยาย

ในปี พ.ศ. 2411 หลังจากที่อังกฤษเข้าปกครองประเทศพม่า อังกฤษได้ลงนามในอนุสัญญาสยาม - อังกฤษ กำหนดแนวเขตแดนระหว่างกันตั้งแต่สบเมย คือแม่น้ำเมยไหลลงแม่น้ำสาละวิน ลงไปจนถึงปากแม่น้ำกระบุรีที่จรดทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 กำหนดเป็นหลักเขตที่ทำจากกองหินหรือบากรอยบนต้นไม้ใหญ่ไว้เป็นหลักสังเกต[1]

สำหรับเส้นเขตแดนเหนือตั้งแต่สบเมยขึ้นไป แต่เดิมอังกฤษได้เคยทำหนังสือสัญญาเมื่อปี พ.ศ. 2377 กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ และได้ปักปันเขตแดนตามลำน้ำสาละวินเมื่อปี พ.ศ. 2392 แต่หนังสือสัญญาดังกล่าวไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาลไทยขณะนั้น จึงได้มีการทำอนุสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมา เรียกกันว่า สัญญาเชียงใหม่ หรือหนังสือสัญญากัลกัตตา[2] เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2417 เพื่อยอมรับระหว่างไทยกับอังกฤษว่าแม่น้ำสาละวินเป็นเขตแดนระหว่างกัน[2] และมีการทำอนุสัญญาอีกครั้งฉบับที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2426 โดยข้อตกลงยังคงเหมือนเดิม คือแม่น้ำสาละวินเป็นเส้นเขตแดน[1]

หลังจากนั้นอังกฤษได้มีกรณีพิพาทและอ้างสิทธิ์เหนือเมืองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เพื่อเก็บผลประโยชน์ในส่วนของภาษีและทรัพยากรป่าไม้ ในช่วงปี พ.ศ. 2428 - 2438[1]

หลังจากนั้นทั้งสองประเทศได้จัดส่งคณะข้าหลวงออกไปสำรวจเส้นเขตแดน ซึ่งอังกฤษได้สั่งการให้รองกงสุลอังกฤษประจำเชียงใหม่นำคณะออกไปสำรวจพื้นที่เมื่อปี พ.ศ. 2433 และได้เสนอรายงานพร้อมแผนที่แนวเขตแดนต่อรัฐบาลออังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 โดยฝ่ายไทยได้ส่งคณะข้าหลวงออกไปสำรวจในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับอังกฤษ และอังกฤษได้เสนอเส้นเขตแดนดังกล่าวให้กับรัฐบาลไทย (สยาม) ผ่านกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ขั้นแรกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ[1] เสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่เห็นด้วย จึงแจ้งให้ราชทูตไทยประจำลอนดอนเจรจาเรื่องดังกล่าวกับรัฐบาลอังกฤษ

เขตแดนของไทยระหว่าง พ.ศ. 2485–2489 หลังผนวกดินแดนที่เรียกว่าสหรัฐไทยเดิม (สีม่วงอ่อน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ

ต่อมาได้มีการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษอินเดีย และมีการเจรจาอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ในที่สุดจึงตกลงกันได้ โดยฝ่ายอังกฤษยอมยกเมืองเชียงแขงหรือเมืองสิงห์ และหัวเมืองฝั่งตะวันตกของเมืองเชียงแสนให้ฝ่ายไทย และมีการปักปันเขตแดน ประกอบด้วยหลักเขตแดนจำนวน 12 หลัก และทำแผนที่แนบไว้ 1 ชุด โดยลงนามในปฏิญญา (พิธีสาสฉบับ)[3] เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2437[1]

จากนั้นเมื่ออังกฤษเข้าปกครองประเทศพม่า และฝรั่งเศสเข้าปกครองอินโดจีนสำเร็จ ทั้งสองประเทศจึงยอมให้ประเทศไทย (สยามในขณะนั้น) เป็นรัฐเอกราช ที่มีสถานะเป็นรัฐกันชนระหว่างดินแดนอาณานิคมทั้งสองประเทศ ในปฏิญญาอังกฤษ–ฝรั่งเศส (Anglo-French Declaration 1896) ในปี พ.ศ. 2439[4]

เมื่อเวลาผ่านไป ได้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้นในปี พ.ศ. 2472 ในภาคเหนือ ทำให้เส้นทางน้ำเปลี่ยนทิศทาง และเกิดเกาะแก่งต่าง ๆ จึงได้มีการเรียกเพื่อหารือกันระหว่างสองประเทศ คือข้าหลวงเมืองเชียงรายและกงสุลอังกฤษประจำเมืองเชียงตุง ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 และได้มีการเสนอให้เปลี่ยนเส้นเขตแดน จากกึ่งกลางลำน้ำให้เป็นร่องน้ำลึกของลำน้ำ และได้ทำหนังสือแลกเปลี่ยนกันเพื่อรับหลักการดังกล่าว ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2474[1] และ 14 มีนาคม พ.ศ. 2475[1] ชื่อว่าหนังสือความตกลงว่าด้วย เขตแดนระหว่างพม่า (เชียงตุง) กับสยาม[2] ซึ่งนอกจากนี้ได้ใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดนขยายไปถึงแม่น้ำปากจั่นในปี พ.ศ. 2477[1] และแม่น้ำรวกในปี พ.ศ. 2483[1][2] เช่นกัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ผนวกดินแดนของพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย คือสหรัฐไทยเดิม ในปี พ.ศ. 2485 ตามข้อตกลงกับประเทศญี่ปุ่น โดยไทยจะต้องยกกำลังเข้าไปโจมตีคืนมาเองจากประเทศอังกฤษ ซึ่งกองทัพอังกฤษได้ถอยทัพและมอบให้กองทัพจีนรักษาการณ์[5] ก่อนต้องคืนดินแดนดังกล่าวให้กับสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2489 หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ตามความตกลงสมบูรณ์แบบ

ในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับแนวเขตแดนช่วงแม่น้ำสาย และแม่น้ำรวก[6] เพื่อกำหนดแนวเส้นเขตแดนตามร่องน้ำลึกให้มีความเข้าใจตรงกัน เนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยกำหนดเป็นเขตแดนคงที่ตามการสำรวจร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2531 แม้แม่น้ำจะเปลี่ยนทิศทางอย่างไรก็ตาม ก็ให้ถือตามแนวเส้นนี้ ซึ่งลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2534[1]

แนวพรมแดน

แนวพรมแดนพม่า–ไทยตามที่ได้มีการทำหนังสือสัญญาขึ้นระหว่างสยาม (ไทย) กับอังกฤษ[2] และตามข้อตกลงอื่น ๆ ประกอบไปด้วย

  • เริ่มต้นจากสามเหลี่ยมทองคำในจังหวัดเชียงราย ลากตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำรวกและแม่น้ำสายไปทางตะวันตก ในจังหวัดเชียงราย ความยาว 59 กิโลเมตร
  • ต่อเนื่องด้วยสันปันน้ำของทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัยเหนือ ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ความยาว 632 กิโลเมตร
  • จากนั้นเป็นเส้นแนวยาวตามแม่น้ำสาละวิน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ความยาว 127 กิโลเมตร
  • ต่อเนื่องด้วยแม่น้ำเมย ความยาว 345 กิโลเมตร แนวสองฝั่งของห้วยวาเลย์ ความยาว 44 กิโลเมตร ในจังหวัดตาก
  • แนวสันปันน้ำของทิวเขาถนนธงชัยกลาง ความยาว 127 กิโลเมตร และแนวเส้นตรง ความยาว 63 กิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดตาก และกาญจนบุรี
  • สันปันน้ำของเทือกเขาตะนาวศรี ความยาว 865 กิโลเมตร ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
  • แนวร่องน้ำลึกของคลองกระ และแม่น้ำกระบุรี ในจังหวัดระนอง ความยาว 139 กิโลเมตร บรรจบทะเลอันดามันในจังหวัดระนอง
  • ต่อเนื่องไปยังพรมแดนทางทะเลเหนือทะเลอันดามัน ซึ่งกำหนดโดยขอตกลงในการกำหนดเขตไหล่ทวีป ไปบรรจบกับจุดสามจุดที่มีพรมแดนของประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศอินเดียซึ่งควบคุมพื้นที่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์[7]
ภาพเทือกเขาแดนลาว มองจากเส้นเขตแดนไทยบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1149 จังหวัดเชียงราย เข้าไปยังฝั่งจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน

เขตการปกครองที่ติดพรมแดน

 พม่า  ไทย
ประเทศลาว
รัฐฉาน  เชียงราย
 เชียงใหม่
 แม่ฮ่องสอน
รัฐกะยา
รัฐกะเหรี่ยง
 ตาก
 กาญจนบุรี
รัฐมอญ
ภาคตะนาวศรี
 ราชบุรี
 เพชรบุรี
 ประจวบคีรีขันธ์
 ชุมพร
 ระนอง
ทะเลอันดามัน

จุดผ่านแดน

จุดผ่านแดนถาวร

ประเทศไทยและประเทศพม่ามีจุดผ่านแดนถาวรจำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบไปด้วย

ลำดับ ไทย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศพม่า หมายเหตุ
ถนน จุดผ่านแดน ถนน จุดผ่านแดน เวลาทำการ[8]
1 ถนนพหลโยธิน จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย, จังหวัดเชียงราย 4 จังหวัดท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน 06.30 - 21.00 ใช้สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำสาย
2 ทล.123 จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย 2, จังหวัดเชียงราย 06.30 - 18.30 ใช้สะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำสาย
3 ทล.12 จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย, จังหวัดตาก จังหวัดเมียวดี, รัฐกะเหรี่ยง 05.30 - 20.30 ใช้สะพานมิตรภาพไทย-พม่าในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำเมย
4 ทล.130 จุดผ่านแดนถาวรแม่สอด 2, จังหวัดตาก 06.30 - 18.30 ใช้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า 2 ในการผ่านแดนข้ามแม่น้ำเมย
5 ทล.3229 จุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ำร้อน, จังหวัดกาญจนบุรี บ้านที่คี่, จังหวัดทวาย, เขตตะนาวศรี 06.00 - 20.00
6 ถนนเพชรเกษม
  • ถนนเฉลิมพระเกียรติ
  • รน.4010
  • รน.ถ. 3004
จุดผ่านแดนถาวรระนอง - เกาะสอง จำนวน 4 ช่องทาง[9] คือ
  1. ท่าเทียบเรือสะพานปลา, ตำบลบางริ้น, อำเภอเมืองระนอง
  2. ท่าเทียบเรือบริษัทอันดามัน คลับ (ท่าเรือแกรนด์อันดามัน), อำเภอเมืองระนอง
  3. ปากน้ำระนอง, ตำบลปากน้ำ, อำเภอเมืองระนอง
  4. ท่าเทียบเรือศุลกากรระนอง, อำเภอเมืองระนอง
จังหวัดเกาะสอง, เขตตะนาวศรี 06.30 - 24.00 เรือข้ามฟากระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยจุดตรวจที่อยู่บริเวณท่าเรือ 4 แห่งในฝั่งไทย

จุดผ่านแดนชั่วคราว

ประเทศไทยและประเทศพม่ามีจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะต่าง ๆ อาทิ การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จะใช้เป็นจุดผ่านแดนในอนาคต การค้าและการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีจุดผ่านแดนชั่วคราว 1 แห่งเปิดทำการ เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว

จุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว

ลำดับ ไทย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศพม่า หมายเหตุ
พื้นที่จุดผ่านแดน พื้นที่จุดผ่านแดน เวลาทำการ
1 ด่านพระเจดีย์สามองค์, อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอพญาตองซู จังหวัดกอกาเล็ก รัฐกะเหรี่ยง เขตตะนาวศรี 08.30 - 18.00 ผ่อนผันให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกได้เฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว

จุดผ่อนปรนการค้า

จุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดผ่อนปรนที่ได้มีการประกาศโดยกระทรวงมหาดไทยเพื่ออนุญาตให้ทำการค้าขายระหว่างประเทศได้ ปัจจุบันมีอยู่ 13 แห่ง[8] ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบไปด้วย

ลำดับ ไทย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศพม่า หมายเหตุ
จังหวัด จุดผ่านแดน จังหวัด จุดผ่านแดน เวลาทำการ[8]
1  เชียงราย จุดผ่อนปรนบ้านปางห้า ท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน เมืองท่าขี้เหล็ก 06.00 - 18.00
2 จุดผ่อนปรนบ้านสายลมจอย
3 จุดผ่อนปรนบ้านเกาะทราย
4 จุดผ่อนปรนท่าดินดำ บ้านดินดำ
5 จุดผ่อนปรนบ้านสบรวก บ้านเมืองพง
6  เชียงใหม่ จุดผ่อนปรนช่องทางกิ่วผาวอก เมืองสาด, รัฐฉาน ปิดทำการด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง[8][10]
7 จุดผ่อนปรนช่องทางหลักแต่ง เมืองเต๊าะ, รัฐฉาน
8  แม่ฮ่องสอน จุดผ่อนปรนช่องทางบ้านห้วยต้นนุ่น ลอยเก่อ, รัฐกะยา บ้านน้ำมาง อำเภอแม่แจ๊ะ [11]
9 จุดผ่อนปรนช่องทางบ้านห้วยผึ้ง รัฐฉาน บ้านหัวเมือง บ้านนามน
10 จุดผ่อนปรนช่องทางบ้านเสาหิน รัฐกะยา บ้านห้วยทราย
11 จุดผ่อนปรนบ้านสามแลบ ผาปูน, รัฐกะเหรี่ยง
12 จุดผ่อนปรนบ้านน้ำเพียงดิน รัฐกะยา อำเภอบ้านใหม่ 08.00 - 16.00
13  ระนอง จุดผ่อนปรนบ้านเขาฝาชี เกาะสอง, เขตตะนาวศรี ตำบลเจ็ดไมล์ อำเภอมะลิวัลย์

จุดผ่อนปรนพิเศษ

จุดผ่อนปรนพิเศษ เป็นจุดผ่อนปรนที่ปัจจุบันยังไม่มีศักยภาพที่จะยกขึ้นเป็นจุดผ่านแดนถาวร แต่มีการประเมินร่วมกันของรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าว่าสามารถเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ในอนาคต จึงเปิดจุดผ่อนปรนพิเศษขึ้นมาก่อนเพื่อไม่ให้เสียโอกาส[12] ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ต้องครบถ้วนเหมือนการเปิดจุดผ่านแดนถาวร แต่สูงกว่าจุดผ่อนปรนการค้า ปัจจุบันมีเพียง 1 แห่ง

ลำดับ ไทย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศพม่า หมายเหตุ
พื้นที่จุดผ่านแดน พื้นที่จุดผ่านแดน เวลาทำการ
1 ด่านสิงขร, บ้านไร่เครา ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านมุด่อง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี 06.30 - 18.30

หมายเหตุ

  1. ตัวเลขจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
  2. ข้อมูลจาก The World Factbook ของสำนักข่าวกรองกลาง รัฐบาลกลางสหรัฐ

อ้างอิง

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 กระทรวงการต่างประเทศ (2019-11-02). "ความเป็นมาของ การแก้ไขปัญหาเขตแดนไทย-พม่า". ศิลปวัฒนธรรม.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". www.saranukromthai.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  3. appsthailand. "ข้อมูลเขตแดน - กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ". treaties.mfa.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  4. Bass (2022-02-26). "ข้อตกลงฉบับประวัติศาสตร์ของอังกฤษและฝรั่งเศส ให้ "สยาม" เป็น "รัฐกันชน"". ศิลปวัฒนธรรม.
  5. "ลุยโคลนไปยึดเชียงตุง สถาปนาเป็น "สหรัฐไทยเดิม"! ชิงดินแดนที่เสียไปในสมัย ร.๔-ร.๕ คืนมาได้ครบ!!". mgronline.com. 2017-08-09.
  6. "พิจารณาให้ความเห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าเกี่ยวกับเขตแดนที่ช่วงแม่น้ำสาย - แม่น้ำรวก". คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัต.
  7. "India–Thailand Maritime Boundary". Sovereign Limits.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน - ตารางจุดผ่านแดนทั่วประเทศ 7 พ.ย. 2562 (ด้านเมียนมา)" (PDF). www.fad.moi.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-14. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  9. "ด่านศุลกากรระนอง - Ranong Customs House". ranong.customs.go.th.
  10. "เวียงแหงขอเปิดช่องหลักแต่งฟื้นศก.ชายแดน". คมชัดลึกออนไลน์. 2011-03-07.
  11. "การค้าชายแดน". www.maehongson.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-26. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  12. "border trade service center > เกี่ยวกับเรา > นิยาม การค้าชายแดน/ผ่านแดน". www.dft.go.th.
Kembali kehalaman sebelumnya