Share to:

 

ช่วงอายุกูจางเจียน

ช่วงอายุกูจางเจียน
~500.5 – ~497 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2551[2]
ชื่อเดิมหินช่วงอายุแคมเบรียน 7
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
เสนอครั้งแรกโดยชานชีและคณะ 2550[3]
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์เลโจปเก เลวิกาตา
ขอบล่าง GSSPแหล่งหลัวอีซี เมืองหลัวอีซี จังหวัดกู่จ้าง มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
28°43′12″N 109°57′53″E / 28.7200°N 109.9647°E / 28.7200; 109.9647
การอนุมัติ GSSP2551[4]
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส
ขอบบน GSSPแหล่งไผบี้ เมืองไผบี้ อำเภอกู่จ้าง มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
28°23′22″N 109°31′33″E / 28.3895°N 109.5257°E / 28.3895; 109.5257
การอนุมัติ GSSP2546[5]

28°43′12″N 109°57′53″E / 28.7200°N 109.9647°E / 28.7200; 109.9647

กูจางเจียน (อังกฤษ: Guzhangian) เป็นหินช่วงอายุสุดท้ายของหินสมัยเมียวลิงเจียน ในยุคแคมเบรียน โดยอยู่ถัดจากหินช่วงอายุดรูเมียน และมาก่อนหินช่วงอายุไผเบียน ของหินสมัยฝูหรงเจียน จุดเริ่มต้นของหินช่วงอายุกูจางเจียนถูกกำหนดโดยการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์เลโจปเก เลวิกาตา (Lejopyge laevigata) เมื่อประมาณ 500.5 ล้านปีก่อน[6] ขณะที่ขอบเขตระหว่างช่วงอายุกูจางเจียนและช่วงอายุไผเบียนถูกกำหนดโดยการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์กลิปตาโนสตุส เรติคูเลตุส (Glyptagnostus reticulatus) เมื่อประมาณ 497 ล้านปีก่อน[5]

ชื่อ "กูจางเจียน" มีที่มาจากอำเภอกู่จ้าง มณฑลหูหนาน ประเทศจีน

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลกถูกกำหนดในหมวดหินฮว่าเฉียวในมณฑลหูหนาน[2] ฐานที่แม่นยำของช่วงอายุกูจางเจียนเป็นชั้นหินปูนที่อยู่สูง 121.3 เมตรจากฐานหมวดหินฮว่าเฉียว (花桥组) ที่แหล่งหลัวอีซี (28°43′12″N 109°57′53″E / 28.7200°N 109.9647°E / 28.7200; 109.9647) ซึ่งเป็นจุดที่พบซากดึกดำบรรพ์ของเลโจปเก เลวิกาตา (Lejopyge laevigata) เป็นครั้งแรก[6]

บรรพภูมิศาสตร์

ในช่วงอายุกูจางเจียน คาดการณ์ว่าระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์อยู่ที่ 370,180 ± 1,220 กิโลเมตร (เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 384,000 กิโลเมตร) ความยาวของวันบนโลกในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 21.58 ชั่วโมง[7]

เหตุการณ์สำคัญ

การแผ่กระจายของสปีชีส์เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายของช่วงอายุดรูเมียนจนถึงช่วงกลางของช่วงอายุกูจางเจียน การสูญพันธุ์เริ่มขึ้นในช่วงกลางของช่วงอายุกูจางเจียนและดำเนินไปเป็นเวลา 3 ล้านปีจนถึงช่วงกลางของช่วงอายุไผเบียน เป็นผลให้ความหลากหลายของสปีชีส์ลดลงถึง 45% สามารถสืบค้นสองระยะของการสูญพันธุ์ได้ในตะกอนบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน: ระยะแรกซึ่งมีการลดลงของสปีชีส์เล็กน้อย ใช้เวลาประมาณ 1.8 ล้านปี; ระยะที่สองซึ่งมีการลดลงของความหลากหลายที่มากขึ้น ใช้เวลาประมาณ 1.2 ล้านปี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุไผเบียน หลังจากการสูญพันธุ์ ความหลากหลายของสปีชีส์กลับสู่ระดับเดิม[8] จากช่วงอายุกูจางเจียนถึงช่วงอายุเจียงชานเนียน มหาสมุทรประสบกับการลดลงของปริมาณออกซิเจนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่ก้นมหาสมุทร กระบวนการนี้และเหตุการณ์ SPICE ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้น่าจะเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์[8]

อ้างอิง

  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. 2.0 2.1 Peng, Shanchi; Babcock, Loren; Zuo, Jingxun; Lin, Huanling; Zhu, Xuejian; Yang, Xianfeng; Robison, Richard; Qi, Yuping; Bagnoli, Gabriella; Chen, Yong’an (March 2009). "The Global Boundary Stratotype Section and Point (GSSP) of the Guzhangian Stage (Cambrian) in the Wuling Mountains, Northwestern Hunan, China" (PDF). Episodes. 32 (1): 41–55. doi:10.18814/epiiugs/2009/v32i1/006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-20. สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
  3. Shanchi, Peng; Babcock, Loren; Jingxun, Zuo; Huanling, Lin; Xuejian, Zhu; Xianfeng, Yang; Robison, Richard; Yuping, Qi; Bagnoli, Gabriella; Yong’an, Chen. "PROPOSED GLOBAL STANDARD STRATOTYPE-SECTION AND POINT FOR THE GUZHANGIAN STAGE (CAMBRIAN)" (PDF). International Subcommission on Cretaceous Stratigraphy. International Subcommission on Cambrian Stratigraphy. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
  4. Peng, Shanchi; Babcock, Loren; Zuo, Jingxun; Lin, Huanling; Zhu, Xuejian; Yang, Xianfeng; Robison, Richard; Qi, Yuping; Bagnoli, Gabriella; Chen, Yong’an (March 2009). "The Global Boundary Stratotype Section and Point (GSSP) of the Guzhangian Stage (Cambrian) in the Wuling Mountains, Northwestern Hunan, China". Episodes. 32 (1): 41–55. doi:10.18814/epiiugs/2009/v32i1/006. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  5. 5.0 5.1 Peng, S. C.; Babcock, L. E.; Robison, R. A.; Lin, H. L.; Rees, M. N.; Saltzman, M. R. (2004). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) of the Furongian Series and Paibian Stage (Cambrian)" (PDF). Lethaia. 37 (4): 365–379. Bibcode:2004Letha..37..365P. doi:10.1080/00241160410002081. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
  6. 6.0 6.1 "GSSP for Guzhangian Stage". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
  7. Jichuang Fang, Fang Qiang, Shihong Zhang, Haiyan Li, Huaichun Wu, Meinan Shi, Tianshui Yang, Liwan Cao (2020). "Cyclostratigraphy of the global stratotype section and point (GSSP) of the basal Guzhangian Stage of the Cambrian Period". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology. 540: 109530. Bibcode:2020PPP...54009530F. doi:10.1016/j.palaeo.2019.109530.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Yiying Deng, Junxuan Fan, Shengchao Yang, Yukun Shi, Zhengbo Lu, Huiqing Xu, Zongyuan Sun, Fangqi Zhao, Zhangshuai Hou (2023). "No Furongian Biodiversity Gap: Evidence from South China". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology (ภาษาอังกฤษ). 618 (1): 111492. Bibcode:2023PPP...61811492D. doi:10.1016/j.palaeo.2023.111492.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya