Share to:

 

ช่วงอายุอูลิวอัน

ช่วงอายุอูลิวอัน
~509 – ~504.5 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2561[2]
ชื่อเดิมหินช่วงอายุแคมเบรียน 5
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
เสนอครั้งแรกโดยจ้าวและคณะ 2561[3]
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์ออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส
ขอบล่าง GSSPอู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน
26°04′51″N 108°24′50″E / 26.0807°N 108.4138°E / 26.0807; 108.4138
การอนุมัติ GSSP2561[2]
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์ไทคาโนสตุส อาตาวุส
ขอบบน GSSPแหล่งดรูเมียน หินดินดานวีลเลอร์ รัฐยูทาห์ สหรัฐ
39°30′42″N 112°59′29″W / 39.5117°N 112.9915°W / 39.5117; -112.9915
การอนุมัติ GSSP2549[4]

หินช่วงอายุอูลิวอัน (อังกฤษ: Wuliuan) เป็นหินช่วงอายุที่ห้าในยุคแคมเบรียน และเป็นหินช่วงอายุแรกของหินสมัยเมียวลิงเจียนในยุคแคมเบรียน ได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการการลำดับชั้นหินสากลในปี พ.ศ. 2561[5] จุดเริ่มต้นถูกกำหนดโดยการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์สปีชีส์ออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส (Oryctocephalus indicus); สิ้นสุดลงด้วยการเริ่มต้นของช่วงอายุดรูเมียน ซึ่งนับด้วยการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์สปีชีส์ไทคาโนสตุส อาตาวุส (Ptychagnostus atavus) ประมาณ 504.5 ล้านปีก่อน[6]

'โกลเดนสไปก์' ซึ่งเป็นสัญลักษณ์กำหนดจุดเริ่มต้นของขั้นนี้ ถูกตอกลงในส่วนของชั้นหินที่เรียกว่าอู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน (乌溜-曾家崖) ในกลุ่มหมวดหินไคหลี่ ใกล้กับเมืองปาหลาง ในภูเขาเมียวหลิง มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน[7]

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก

สามส่วนหินที่ถูกพิจารณาเป็นตัวเลือก GSSP ได้แก่ ส่วนอู่หลิว-เจิ้งเจียหยาน ใกล้เมืองปาหลาง ในมณฑลกุ้ยโจว (ประเทศจีน) ส่วนที่สองอยู่บนภูเขาสปลิต ในรัฐเนวาดา (สหรัฐ)[8] และ "ส่วนแม่น้ำโมโลโด" ตลอดแนวแม่น้ำโมโลโด (สาธารณรัฐซัคคา, รัสเซีย)[9] ส่วนอู่หลิว-เจิ้งเจียหยานเป็นหินโผล่ของหมวดหินไคหลี่ในเหมืองหินอู่หลิว ตัวเลือกแรกสำหรับจุดเริ่มต้นของช่วงอายุอูลิวอัน คือ ไทรโลไบต์สปีชีส์ออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส (Oryctocephalus indicus) ตัวเลือกที่สอง คือ ไทรโลไบต์สปีชีส์โอวาโตรีคโตคารา กรานูลาตา (Ovatoryctocara granulata)[10]

ส่วนอู่หลิว-เจิ้งเจียหยานได้รับการเลือกให้เป็นฐานที่เป็นทางการในปี 2561 โดยมีการปรากฏตัวครั้งแรกของออรีคโตเซฟาลัส อินดิคัส (Oryctocephalus indicus) เป็นหมุดหมายสำหรับ GSSP[2]

เหตุการณ์สำคัญ

ฐานของหินช่วงอายุอูลิวอัน (และโดยอนุโลมเป็นทั้งหินสมัยเมียวลิงเจียน) ถูกกำหนดโดยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกของไทรโลไบต์ ซึ่งรู้จักกันในนามของขอบเขตโอลเลเนลลิดไบโอเมียร์ (Olenellid Biomere boundary) เหตุการณ์นี้เชื่อมโยงกับการลดลงอย่างฉับพลันของคาร์บอเนตคาร์บอนเชิงลบ[11]

บรรพชีวินวิทยา

แกรพโตไลต์ชนิดอยู่ก้นท้องน้ำได้กระจายตัวอย่างกว้างขวางในช่วงอายุอูลิวอัน สกุลแกรพโตไลต์ที่พบมากที่สุดในยุคนี้คือสฟีโนเซียม (Sphenoecium) ซึ่งมีอาณานิคมที่แข็งแรงและพบได้ทั่วโลก[12] สิ่งมีชีวิตในกลุ่มพานาร์โทรพอดจำนวนมาก รวมถึงไทรโลไบต์ แอกนอสตอยด์ เฮอร์ดิอิด และแบราดอริอิด ได้รับการบันทึกในแหล่งสะสมอูลิวอัน[13]

อ้างอิง

  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. 2.0 2.1 2.2 Yuanlong Zhao; Jinliang Yuan; Loren E. Babcock; Qingjun Guo; Jin Peng; Leiming Yin; Xinglian Yang; Shanchi Peng; Chunjiang Wang; Robert R. Gaines; Jorge Esteve; Tongsu Tai; Ruidong Yang; Yue Wang; Haijing Sun; Yuning Yang (June 2019). "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) for the conterminous base of the Miaolingian Series and Wuliuan Stage (Cambrian) at Balang, Jianhe, Guizhou, China" (PDF). Episodes. 42 (2): 165–184. doi:10.18814/epiiugs/2019/019013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 March 2024.
  3. Yuanlong, Zhao; Jinliang, Yuan; Babcock, Loren; Qingjun, Guo; Jin, Peng; Leiming, Yin; Xinglian, Yang; Chunjiang, Wang; Gaines, Robert; Esteve, Jorge; Ruidong, Yang; Yuning, Yang; Haijing, Sun; Tongsu, Tai. "Global Standard Stratotype-Section and Point (GSSP) for the conterminous base of the Miaolingian Series and Wuliuan Stage (Cambrian) at Balang, Jianhe, Guizhou, China" (PDF). Epizodes. 42 (2): 1–20. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-04.
  4. Babcock, Loren; Robison, Richard; Rees, Margaret; Peng, Shanchi; Saltzman, Matthew (June 2007). "The Global boundary Stratotype Section and Point (GSSP) of the Drumian Stage (Cambrian) in the Drum Mountains, Utah, USA" (PDF). Episodes. 30 (2): 84–94. doi:10.18814/epiiugs/2007/v30i2/003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  5. "ChronostratChart2018-08" (PDF). International Commission on Stratigraphy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 July 2018.
  6. "GSSP Table - Paleozoic Era". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  7. Ahlberg, Per; Babcock, Loren E. "Subcommission on Cambrian Stratigraphy Annual Report 2017" (PDF). International Commission on Stratigraphy. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-16. สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  8. F. M. Gradstein, J. G. Ogg, M. D. Schmitz, G. M. Ogg. "The Geologic Time Scale 2012". The Geologic Time Scale. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2024-08-02.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. "The 13th International Field Conference of the Cambrian Stage Subdivision Working Group" (PDF). Episodes. 31 (4): 440–441. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  10. Sundberg, F.A.; Zhao, Y.L.; Yuan, J.L.; Lin, J.P. (22 September 2011). "Detailed trilobite biostratigraphy across the proposed GSSP for Stage 5 ("Middle Cambrian" boundary) at the Wuliu-Zengjiayan section, Guizhou, China" (PDF). Bulletin of Geosciences. 86 (3): 423–464. doi:10.3140/bull.geosci.1211. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-07.
  11. Jih-Pai Lin, Frederick A. Sundberg, Ganqing Jiang, Isabel P. Montañez, Thomas Wotte (22 November 2019). "Chemostratigraphic correlations across the first major trilobite extinction and faunal turnovers between Laurentia and South China". Scientific Reports. 9 (1): 17392. doi:10.1038/s41598-019-53685-2. PMC 6874646.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Jörg Maletz (8 December 2023). "Benthic graptolites (Graptolithina, Pterobranchia) in the Miaolingian (Cambrian Series 3)". Palaeobiodiversity and Palaeoenvironments. doi:10.1007/s12549-023-00595-x.
  13. Julien Kimmig, Stephen Pates, Rhiannon J. LaVine, L. J. Krumenacker, Anna F. Whitaker, Luke C. Strotz, Paul G. Jamison, Val G. Gunther, Glade Gunther, Matt Witte, Allison C. Daley, Bruce S. Lieberman (2023). "New soft-bodied panarthropods from diverse Spence Shale (Cambrian; Miaolingian; Wuliuan) depositional environments". Journal of Paleontology. 97 (5): 1025–1048. doi:10.1017/jpa.2023.24.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya