ช่วงอายุฟอร์จูเนียน
47°04′34″N 55°49′52″W / 47.0762°N 55.8310°W ช่วงอายุฟอร์จูเนียน (อังกฤษ: Fortunian) เป็นการเริ่มต้นของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก มหายุคพาลีโอโซอิก และยุคแคมเบรียน ซึ่งเป็นหินช่วงอายุแรกจากสองหินช่วงอายุของหินสมัยแตร์นูเวียน ฐานของยุคนี้ถูกกำหนดเป็นการปรากฏครั้งแรกของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยเทรปติคนุส เปดุม (Treptichnus pedum) เมื่อ 541 ล้านปีก่อน ส่วนขอบบนของช่วงอายุฟอร์ทูเนียนซึ่งเป็นฐานของช่วงอายุ 2 ของยุคแคมเบรียนนั้นยังไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการ แต่จะสอดคล้องกับการปรากฏของสปีชีส์อาร์คีโอไซทา (Archeocyatha) หรือ "ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีเปลือกขนาดเล็ก" เมื่อประมาณ 529 ล้านปีก่อน[5] ชื่อฟอร์ทูเนียนมาจากชื่อเมืองฟอร์จูนบนคาบสมุทรเบอร์ริน ใกล้กับ GSSP และอ่าวฟอร์จูน[6] จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลกท้องที่ซึ่งหินแบบฉบับ (GSSP) ของช่วงอายุฟอร์จูเนียนอยู่ที่ฟอร์จูนเฮด ซึ่งตั้งอยู่ที่ขอบเหนือของคาบสมุทรเบอร์ริน รัฐนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา[6] (47°04′34″N 55°49′52″W / 47.0762°N 55.8310°W) จุด GSSP นี้ตรงกับจุดเริ่มต้นของหินสมัยแตร์นูเวียน ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนและยุคแคมเบรียน และเป็นจุดเริ่มต้นของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก เนินหินโผล่ที่นี่แสดงให้เห็นลำดับการสะสมตัวของคาร์บอเนต-ซิลิซีคลาสติก (carbonate-siliciclastic) ซึ่งถูกระบุว่าเป็นหมวดหินเกาะชาเปล หมวดหินนี้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อยที่ประกอบด้วยหินทรายปริทิดัลและหินดินดาน (ชั้นที่ 1) หินทรายและหินโคลนแบบเดลต้าระดับตื้นและหินโคลน (ชั้นที่ 2A) หินทรายแป้งแบบลามิเนต (ชั้นที่ 2B และ 3) และหินโคลนและหินปูนของชั้นวางตะกอนภายใน (ชั้นที่ 4) ขอบเขตระหว่างอภิมหาบรมยุคยุคพรีแคมเบรียนและยุคแคมเบรียนอยู่ที่ 2.4 เมตรเหนือฐานของชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นการพบเทรปติคนุส เปดุม (Treptichnus pedum) เป็นครั้งแรก ร่องรอยเหล่านี้สามารถเห็นได้บนพื้นผิวล่างของชั้นหินทราย ซากดึกดำบรรพ์ของเปลือกซึ่งเป็นเหมือนโครงกระดูกแคลเซียมชนิดแรก (ลาดาเทกา ไชลินดริกา, Ladatheca cylindrica) พบอยู่ 400 เมตรเหนือขอบเขตดังกล่าว ซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์แรกพบอยู่ที่ 1,400 เมตรเหนือขอบเขต ซึ่งสอดคล้องกับการเริ่มต้นของหินสมัยแบรนเคียน[7] ดูเพิ่มการอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|