Share to:

 

ช่วงอายุดรูเมียน

ช่วงอายุดรูเมียน
~504.5 – ~500.5 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
อนุมัติชื่อ2549[2]
ชื่อเดิมหินช่วงอายุแคมเบรียน 6
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีการของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
เสนอครั้งแรกโดยแบ็บค็อกและคณะ 2549[3]
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์ไทคาโนสตุส อาตาวุส
ขอบล่าง GSSPแหล่งดรูเมียน หินดินดานวีลเลอร์ รัฐยูทาห์ สหรัฐ
39°30′42″N 112°59′29″W / 39.5117°N 112.9915°W / 39.5117; -112.9915
การอนุมัติ GSSP2549[4]
คำนิยามขอบบนระดับอ้างอิงปรากฏแรกของไทรโลไบต์เลโจปเก เลวิกาตา
ขอบบน GSSPแหล่งหลัวอีซี เมืองหลัวอีซี จังหวัดกู่จ้าง มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
28°43′12″N 109°57′53″E / 28.7200°N 109.9647°E / 28.7200; 109.9647
การอนุมัติ GSSP2551[5]

39°30′42″N 112°59′29″W / 39.5117°N 112.9915°W / 39.5117; -112.9915

หินช่วงอายุดรูเมียน (อังกฤษ: Drumian) ของหินสมัยเมียวลิงเจียนของยุคแคมเบรียน อยู่ต่อจากช่วงอายุอูลิวอันและก่อนช่วงอายุกูจางเจียน จุดเริ่มต้นของช่วงเวลานี้ถูกกำหนดด้วยการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์สปีชีส์ไทคาโนสตุส อาตาวุส (Ptychagnostus atavus) เมื่อประมาณ 504.5 ล้านปีก่อน จุดสิ้นสุดของช่วงเวลานี้ถูกกำหนดด้วยการปรากฏตัวครั้งแรกของไทรโลไบต์อีกชนิดหนึ่งคือ เลโจปเก เลวิกาตา (Lejopyge laevigata) เมื่อประมาณ 500.5 ล้านปีก่อน

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลก

จุดและส่วนชั้นหินแบบฉบับขอบเขตทั่วโลกถูกกำหนดไว้ที่แหล่งดรูเมียน (39°30′42″N 112°59′29″W / 39.5117°N 112.9915°W / 39.5117; -112.9915) ในเทือกเขาดรัม มิลลาร์ดเคาน์ตี รัฐยูทาห์ สหรัฐ[2] หินช่วงอายุนี้ยังได้รับการตั้งชื่อตามเทือกเขาดรัม ตัวแหล่งนี้เป็นหินโผล่ของหมวดหินวีลเลอร์ ซึ่งเป็นชั้นหินดินดานปูนเนื้อปูน ฐานที่แน่นอนของหินช่วงอายุดรูเมียนคือหินปูนเป็นชั้น 62 เมตร (203 ฟุต) เหนือฐานของชั้นวีลเลอร์[6]

เหตุการณ์สำคัญ

เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของไอโซโทปคาร์บอนในช่วงอายุดรูเมียนของยุคแคมเบรียน (DICE) นั้นสัมพันธ์กับจุดเริ่มต้นของช่วงอายุนี้[7] สาเหตุของเหตุการณ์นี้คือการตื้นขึ้นของน้ำลึกที่ปราศจากออกซิเจนพร้อมกับการเคลื่อนตัวขึ้นบนบกของน้ำลึกเหล่านี้ เหตุการณ์ DICE ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของระบบนิเวศน์แนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงต้น-กลางยุคแคมเบรียน[8] ในช่วงกลาง-ปลายช่วงอายุดรูเมียน มีช่วงเวลาการแผ่ขยายของสิ่งมีชีวิตก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์ครั้งต่อไป[9]

บรรพชีวินวิทยา

มีฟองน้ำหลายชนิด, สัตว์จำพวกพาลีโอสโคเลซิด และสัตว์ขาปล้อง (รวมถึงสัตว์จำพวกเรดิโอดอนต์) ถูกค้นพบจากแหล่งสะสมในช่วงอายุดรูเมียน[10][11][12]

อ้างอิง

  1. "Chart/Time Scale". www.stratigraphy.org. International Commission on Stratigraphy.
  2. 2.0 2.1 Babcock, Loren; Robison, Richard; Rees, Margaret; Peng, Shanchi; Saltzman, Matthew (June 2007). "The Global boundary Stratotype Section and Point (GSSP) of the Drumian Stage (Cambrian) in the Drum Mountains, Utah, USA" (PDF). Episodes (ภาษาอังกฤษ). 30 (2): 85–89. doi:10.18814/epiiugs/2007/v30i2/003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-28. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  3. Babcock, Loren; Robinson, Richard; Rees, Margaret; Shanchi, Peng; Saltzman, Matthew. "PROPOSED GLOBAL STANDARD STRATOTYPE-SECTION AND POINT FOR THE DRUMIAN STAGE (CAMBRIAN)" (PDF). International Subcommission on Cambrian Stratigraphy (ภาษาอังกฤษ). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  4. Babcock, Loren; Robison, Richard; Rees, Margaret; Peng, Shanchi; Saltzman, Matthew (June 2007). "The Global boundary Stratotype Section and Point (GSSP) of the Drumian Stage (Cambrian) in the Drum Mountains, Utah, USA" (PDF). Episodes. 30 (2): 84–94. doi:10.18814/epiiugs/2007/v30i2/003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2024-03-28.
  5. Peng, Shanchi; Babcock, Loren; Zuo, Jingxun; Lin, Huanling; Zhu, Xuejian; Yang, Xianfeng; Robison, Richard; Qi, Yuping; Bagnoli, Gabriella; Chen, Yong’an (March 2009). "The Global Boundary Stratotype Section and Point (GSSP) of the Guzhangian Stage (Cambrian) in the Wuling Mountains, Northwestern Hunan, China". Episodes. 32 (1): 41–55. doi:10.18814/epiiugs/2009/v32i1/006. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  6. "GSSP for Drumian Stage" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-05. สืบค้นเมื่อ 2024-04-03.
  7. Anaïs Pagès, Susanne Schmid (2016). "Euxinia linked to the Cambrian Drumian carbon isotope excursion (DICE) in Australia: Geochemical and chemostratigraphic evidence". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology (ภาษาอังกฤษ). 461: 65-76. Bibcode:2016PPP...461...65P. doi:10.1016/j.palaeo.2016.08.008.
  8. Dandan Li, Xu Zhang, Shan-Chi Peng, Yanan Shen, Xiaolin Zhang, Hao Zhu, Lilin Sun (2019). "A paired carbonate–organic δ13C approach to understanding the Cambrian Drumian carbon isotope excursion (DICE)". Precambrian Research (ภาษาอังกฤษ). 349: 105503. doi:10.1016/j.precamres.2019.105503.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Yiying Deng, Junxuan Fan, Shengchao Yang, Yukun Shi, Zhengbo Lu, Huiqing Xu, Zongyuan Sun, Fangqi Zhao, Zhangshuai Hou (2023). "No Furongian Biodiversity Gap: Evidence from South China". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology (ภาษาอังกฤษ). 618 (1): 111492. Bibcode:2023PPP...61811492D. doi:10.1016/j.palaeo.2023.111492.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Lucas Del Mouro, Joseph Botting, Jacob Skabelund, Rudy Lerosey-Aubril, Robert R. Gaines, Javier Ortega-Hernández (2022). "Revision of the middle Cambrian (Drumian) sponges from the Marjum Formation of Utah, USA". Conference: 6th International Palaeontological Congress, Khon Kaen, Thailand (ภาษาอังกฤษ).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Stephen Pates, Samuel Zamora (2023). "Large euarthropod carapaces from a high latitude Cambrian (Drumian) deposit in Spain". Royal Society Open Science (ภาษาอังกฤษ). 10 (10): 230935. Bibcode:2023RSOS...1030935P. doi:10.1098/rsos.230935. PMC 10598445. PMID 37885986.
  12. Stephen Pates, Carlo Kier, Rudy Lerosey-Aubril, Allison C. Daley, Enrico Bonino (2019). "New radiodonts from the Drumian (Miaolingian) Marjum Formation of Utah, USA". Paleobios (ภาษาอังกฤษ). 36 (1): 116.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya