Share to:

 

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2541 (1998)
รายละเอียด
ผู้ใช้ตรารัฐบาล
เริ่มใช้3 กรกฎาคม, พ.ศ. 2489
โล่ช่องที่ 1 ดาวห้าแฉกสามดวง 3 ที่ตรงกลางตราแผ่นดิน มีรูปพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉก
ช่องที่ 2 ช่องมุมซ้ายพื้นสีน้ำเงิน เป็นนกอินทรี
ช่องที่ 3 ช่องมุมขวาพื้นสีแดง เป็นสิงโต
คำขวัญสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Republika ng Pilipinas
ตราย่อ / ตรารุ่นก่อนหน้า"Isang Bansa, Isang Diwa"
(หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต)
การใช้ประทับที่หน้าปกหนังสือเดินทาง เอกสารทางราชการ และใช้ในวัตถุประสงค์อื่นของทางราชการ

ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483

คำที่อยู่ในผ้าแถบมีการเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราช จากการได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2489 – 2515 จนถึงเฟอร์ดินานร์ มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึก ผ้าแถบมีคำว่า "REPUBLIC OF THE PHILIPPINES." จาก พ.ศ. 2522 จนถึงการสิ้นสุดอำนาจของมาร์กอสเมื่อ พ.ศ. 2529 ในผ้าแถบมีคำว่า "ISANG BANSA ISANG DIWA" (หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต) เมื่อมาร์กอสสิ้นสุดอำนาจลง ในผ้าแถบเปลี่ยนไปใช้คำว่า "REPUBLIKA NG PILIPINAS" ใน พ.ศ. 2541 รูปนกอินทรีและสิงโตถูกตัดออกไป แต่ตราที่ถูกดัดแปลงนี้ไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย

ประวัติ

วิวัฒนาการ

อาณานิคมสเปน

ตราแผ่นดินของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของสเปน, ใช้ตราอาร์มน้อยเป็นตราสำหรับราชสำนัก ตราประจำเมืองมะนิลาประกาศใช้ตามพระบรมราชโองการของ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 (ภายหลังจากการเปลี่ยนชื่อหมู่เกาะ) เมื่อ ค.ศ. 1596 หลักฐานดังกล่าวปรากฏรูปเสาแห่งเฮอร์คิวลีส หรือ Golden Fleece อยู่บนตราแผ่นดิน ในบางโอกาสอาจมีการใช้ตราแผ่นดินรูปแบบดังกล่าว

หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของสเปน (ค.ศ. 1565–1898)
ค.ศ. 1565–1580 ค.ศ. 1580–1668 ค.ศ. 1668–1700 ค.ศ. 1700–1868; 1874–1898 ค.ศ. 1868–1870; 1873–1874 ค.ศ. 1871–1873
ตราประจำอาณานิคมมะนิลา, ตามพระบรมราชโองการ ตราแผ่นดินของสเปนอินเดียตะวันออก ในรัชสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก. ตราราชวงศ์ฮับส์บูร์ก, with half-arches added to the crown. แต่ลักษณะมงกุฎมีความแตกต่างจากแบบเดิม. ราชวงศ์บูร์บง. สาธารณรัฐสเปนครั้งที่ 1; . ราชวงศ์ซาวอย รัชสมัย พระเจ้าอามาเดโอที่ 1.

ศตวรรษที่ 20

ภาพ รายละเอียด ประกาศใช้
Malolos Republic (Revolutionary government)
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 เรียกว่า Tatlong Bituin at Isang Araw (ดาวสามดวงในดวงอาทิตย์) ประกาศใช้โดย นายพล เอมิลิโอ อากินัลโด. ค.ศ. 1899 - 1901
รัฐอารักขาของสหรัฐอเมริกา และ เครือรัฐ (ค.ศ. 1899–1946)
ตราแผ่นดินของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ (รัฐอารักขา) ค.ศ. 1905 - 1935
ตราแผ่นดินของเครือรัฐฟิลิปปินส์ ในสมัยของประธานาธิบดี มานูเอล เกซอน. และ รัฐบาลพลัดถิ่นในระหว่างการยึดครองโดยญี่ปุ่น ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2. 1935–1940, 1941–1946
ตราแผ่นดินรัฐอายุสั้นของเครือรัฐฟิลิปปินส์, ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ภายใต้รัฐบัญญัติเครือรัฐ เลขที่. 602. แต่ไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย และ นำกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ภายใต้รัฐบัญญัติเครือรัฐ เลขที่. 614 ค.ศ. 19401941
การยึดครองโดยญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942–1945)
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2, ค.ศ. 1943
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 เปลี่ยนไปใช้คำว่า "Pilipinas" ในฐานะ รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น. ค.ศ. 1943 - 1945

ร่วมสมัย

ตราแผ่นดินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ออกแบบโดย พันตรี กาโล โอแคมโป ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1946.

ภาพ รายละเอียด ประกาศใช้
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1946)
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ช่วงระหว่าง สาธารณรัฐที่ 3 และ สาธารณรัฐที่ 4. ค.ศ. 1946 - 1978, ค.ศ. 1986–1998
ตราแผ่นดินในสมัยของประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส เปลี่ยนไปใช้คำว่า "ISANG BANSA ISANG DIWA" (หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต). ค.ศ. 1978 - 1985
ตราแผ่นดินของ ระหว่างการปฏิวัติเอ็ดซา. ช่องมุมซ้ายสีน้ำเงินในตราเปลี่ยนระดับลงมาเป็นสีฟ้า. ค.ศ. 1985 - 1986
ตราแผ่นดินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เปลี่ยนไปใช้คำว่า Republika ng Pilipinas (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์). ตั้งแต่ ค.ศ. 1998
ตราแผ่นดินอย่างย่อ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดย รัฐสภา ตั้งแต่ ค.ศ. 1998

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya